ประวัติ

ภาพรวมของโรงเรียน (School Profile)
ส่วนที่ ๑ ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านท่าน้ำเค็มใต้ ตั้งอยู่หมู่ที่๑๐ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ได้ริเริ่มก่อสร้างครั้งแรก เป็นอาคารชั่วคราวเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ มีนายเจ๊ะหลี ใจสมุทร กำนันตำบลท่าแพได้ร่วมกับราษฎร จัดหาวัสดุและแรงงานช่วยกันสร้างในที่ดินสาธารณะของหมู่บ้าน มีเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๓ งาน ๔๘ ตารางวา ตามทะเบียนที่ราชพัสดุที่ ๓๑๔ มีนายอำเภอเมืองสตูลทำพิธีปิดทำการเรียนการสอน โดยมีนายโพยม ใจสมุทร ดำรงตำแหน่งเป็นครูใหญ่ เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๐๒
ต่อมาเมื่อปี พ..ศ. ๒๕๒๒ นายบ่าวอาดตันตรา ได้มอบที่ดินให้กับทางราชการเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน มีเนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๒๘ ตารางวา ตามทะเบียนที่ราชพัสดุ ๓๑๓
พ.ศ. ๒๕๐๕ โรงเรียนครูใหญ่ กำนัน กรรมการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนร่วมสร้างอาคารชั่วคราว มีขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร และทางราชการได้ให้งบประมาณสมทบมา ๖,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๑๐ จำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ห้องเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน จึงได้ร่วมจัดสร้างต่อเติมอีก ๑ ห้องเรียน
พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๓ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ได้จัดสรร โต๊ะ ม้านั่งนักเรียนจำนวน ๑๕ ชุด โต๊ะครู ๑
ชุด งบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ ก จำนวน ๑ หลัง ๒ ห้องเรียน พร้อมครุภัณฑ์ เป็นเงิน ๙๐,๐๐๐ บาท
พ..ศ. ๒๕๑๔ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ได้จัดสรรงบประมาณบ้านพักครู แบบกรมสามัญศึกษา จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๒๖,๖๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๒๐ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลได้จัดสรรสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ก จำนวน ๑ หลัง ๓ ห้องเรียน เป็นเงิน ๒๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมส้วม ๑ หลัง ๒ ที่นั่ง เป็นเงิน ๘,๐๐๐ บาทที่ ๑ เลขที่ ๑๙๑
พ.ศ. ๒๕๒๒ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ ก จำนวน ๑ หลัง ๒ ห้องเรียน เป็นเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท และส้วม ๑ หลัง ๒ ที่นั่ง เป็นเงิน ๑๒,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๒๓ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ได้จัดสรรงบประมาณสร้างส้วมต่อเติม ๒ ที่นั่ง และได้บรรจุนายกมล อาดตันตรา เป็นนักการภารโรงของโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๒๖ หน่วยเจาะบาดาลของ กรป.กลาง ได้ทำการเจาะบ่อน้ำให้กับโรงเรียนจำนวน ๑ บ่อพร้อมอุปกรณ์เครื่องโยก และนายโพยม ใจสมุทร ได้เกษียณอายุราชการ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูลจึงแต่งตั้งให้ ส.ต.ต.ผดุง ชนะภัย รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูลได้จัดสรรงบประมาณจัดทำสนามฟุตบอล เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๒๗ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูล ได้จัดสรรงบประมาณสร้างเรือนเพาะชำจำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท และได้แต่งตั้ง ส.ต.ต.ผดุง ชนะภัย ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ของโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๒๘ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูล ได้จัดสรรงบประมาณต่อเติมอาคารเรียน แบบ ป.๑ ก จำนวน ๒ ห้องเรียน เป็นเงิน ๒๘๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๒๙ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูล ได้จัดสรรงบประมาณซิอมแซมอาคารเรียนแบบ ป.๑ ก จำนวน ๒ ห้องเรียน เป็นเงิน ๙๔,๐๓๐ บาท สร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช.๒๐๒/๒๕๒๖ จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท และได้ย้าย ส.ต.ต.ผดุง ชนะภัย ไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านท่าน้ำเค็ม และแต่งตั้งนางอารยา พรหมสุนทร รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านท่าน้ำเค็มใต้
พ.ศ. ๒๕๓๐ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูล ได้แต่งตั้ง นายสิทธิศักดิ์ แกสมาน เข้ามาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๓๓ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูล ได้แต่งตั้งย้ายนายสิทธิศักดิ์ แกสมาน ไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านดุสน สปอ.ควนโดน และแต่งตั้งนายนิพร หวันตาหลา อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านวังปริง มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน
พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้เปิดรับนักเรียนก่อนประถมศึกษา ชั้นเด็กเล็ก ๑ ห้องเรียน ชั้นอนุบาล ๒ จำนวน ๒ ห้องเรียน
พ.ศ. ๒๕๓๕ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูล ได้จัดสรรงบประมาณเป็นเงิน ๑๒๙,๔๗๐ บาท ให้สร้างรั้วโรงเรียนแบบเสาคอนกรีต ลวดหนาม ๐ ชั้น ใช้กั้นโยรอบโรงเรียนบนเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๓ งาน ๔๘ ตารางวา บนที่ราชพัสดุที่ ๓๑๔
พ.ศ. ๒๕๓๖ มีนักเรียนทั้งสิ้น ๓๐๗ คน แบ่งชั้นเรียนได้ ๑๓ ชั้นเรียน จึงมีห้องเรียนไม่เพียงพอแก่ชั้นเรียน คณะครูและผู้ใจบุญได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างอาคารเรียนชั่วคราว มีขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๘ เมตร จำนวน ๑ หลัง โดยใช้เงินค่าก่อสร้าง ทั้งสิ้น ๗๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับอนุญาตให้รื้อถอนบ้านพักครูที่มีอยู่ จำนวน ๑ หลัง และได้ดัดแปลงเสาคอนกรีตที่มีเหลืออยู่เดิมก่ออิฐถือปูนโดยรอบ ติดตั้งวงกบประตู หน้าต่าง มุงหลังคากระเบื้อง ใช้เป็นสำนักงานห้องพักครู โดยใช้งบประมาณจากการบริจาคของครูในโรงเรียนเป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท และได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูล เป็นเงิน ๖๔๙,๐๐๐ บาท ให้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๒/๒๖ ขนาด ๓ ห้องเรียน พร้อมครุภัณฑ์ประจำห้องเรียนพ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับจัดสรรงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช.๖๐๑/๒๖ จำนวน ๑ หลัง ๒ ที่นั่ง เป็นเงิน ๔๕,๐๐๐ บาท พร้อมถังเก็บน้ำฝนแบบ ฝ.๓๐ พิเศษ เป็นเงินงบประมาณ ๗๐,๐๐๐ บาท โดยสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๓๘
พ.ศ. ๒๕๓๙ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา ได้รับงบประมาณปรับปรุง ๓ ห้องเรียน คือห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เป็นเงิน ๔๔,๙๓๙ บาทได้รับงบประมาณซ่อมแซมโรงเรียน เป็นเงิน ๗๘,๒๙๐ บาท ฝ่ายปกครองอำเภอท่าแพ จัดสรรถังน้ำไฟเบอร์กลาสให้จำนวน ๔ ถัง สามารถบรรจุน้ำได้ ๒๐,๐๐๐ ลิตร และวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูล มีคำสั่งย้ายนายนิพร หวันตาหลา ไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านแป-ระใต้ และแต่งตั้ง นายเก็ม หมีดหรน อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านวังปริง มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน
พ.ศ. ๒๕๔๐ ปรับปรุงโรงเรียนให้เป็นปัจจุบันแล้วเสร็จ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสตูลรับตรวจและอนุญาตให้โรงเรียนใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้
พ.ศ. ๒๕๔๓ โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างลานกีฬาอเนกประสงค์ เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะครูในโรงเรียนได้ร่วมบริจาคเงิน ปรับปรุงห้องพักครูและห้องสมุด เป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับงบประมาณปรับปรุงประปาในโรงเรียนเป็นเงิน ๑๒,๙๐๐ บาท และงบจัดสรรตู้ห้องสมุดเป็นเงิน ๘,๔๒๐ บาท ทำการปรับปรุงปูพื้นกระเบื้องห้องเรียนอนุบาล ๒ งบบริจาคเป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท จัดทำสนามเด็กเล่นงบ อบต.ท่าแพ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท ปรับปรุงอาคารอเนกประสงค์งบประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาทงบบริจาค ๔๐,๐๐๐ บาท ปรับปรุงต่อเติมโรงอาหารงบบริจาค ๑๕๐,๐๐๐ บาท ปรับปรุงปูกระเบื้องฐานเสาธง งบบริจาค ๔,๐๐๐ บาท เรือนเพาะชำ งบประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท และจัดทำที่นั่งใต้ร่มไม้และแหล่งเรียนรู้ งบบริจาค ๑๑,๐๐๐ บาท ต่อเติมอาคารชั่วคราว งบประมาณ ๕,๐๐๐ บาท งบบริจาค ๑๐,๐๐๐ บาท ปรับปรุงห้องพยาบาล งบบริจาค ๑๒,๐๐๐ บาท ครุภัณฑ์ห้องสมุด งบประมาณ ๓๘,๐๐๐ บาท จัดทำป้ายจราจร งบบริจาค ๒,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๗ มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น ๒๔๐ คน มีห้องเรียน ๘ ห้องเรียน ครู จำนวน ๖ คน โรงเรียนต้องจ้างนายชินวัชร ท่าเทศ เป็นครูจ้างสอนก่อนประถมศึกษาด้วยการรับบริจาคเงินจากครูในโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาได้จัดหางบประมาณสร้างสื่อ IT ในห้องสมุดของโรงเรียนเป็นเครื่องโปรเจคเตอร์ เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนศูนย์เครือข่ายท่าแพ และมีผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าน้ำเค็มใต้เป็นประธานศูนย์เครือข่ายท่าแพ
พ.ศ. ๒๕๔๘ มีนักเรียนทั้งสิ้น ๒๑๙ คน มีห้องเรียนทั้งหมด ๘ ห้องเรียน ครูจำนวน ๙ คน โรงเรียนเป็นที่ตั้งศูนย์เครือข่ายท่าแพ โดยมีนายเก็ม หมีดหรน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าน้ำเค็มใต้เป็นประธานศูนย์เครือข่าย และแต่งตั้งนางสปีน๊ะ หมีนพราน ตำแหน่งครู โรงเรียนบ้านท่าน้ำเค็มใต้ รักษาราชการแทนในกรณีที่ผู้อำนวยการสถานศึกษาไปราชการ โรงเรียนได้ดำเนินการปรับปรุงห้องส้วมนักเรียนโดยใช้งบประมาณ ๑๔,๐๐๐ บาท และได้รับจัดสรรดาวเทียมจำนวน ๑๒ เครื่อง จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
พ.ศ. ๒๕๔๙ มีนักเรียนจำนวน ๒๓๓ คน คน มีห้องเรียนทั้งหมด ๘ ห้องเรียน ครูจำนวน ๙ คน โรงเรียนเป็นที่ตั้งศูนย์เครือข่ายท่าแพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูลมีคำสั่งย้ายและแต่งตั้งนายเก็ม หมีดหรน ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังปริง และมีคำสั่งย้ายและแต่งตั้งนางจุรีรัตน์ แคยิหวา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าน้ำเค็มใต้แทน เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๙ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเข้าประกวดโรงเรียนพระราชทาน และโรงเรียนในฝันของโครงการ “หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล
พ.ศ. ๒๕๕๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูลมีคำสั่งย้ายและแต่งตั้ง นางจุรีรัตน์ แคยิหวา ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหน้าเมือง
พ.ศ. ๒๕๕๓ มีคำสั่งแต่งตั้งนายอาหลี ลิมานัน มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าน้ำเค็มใต้แทน เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓

ที่ตั้ง
โรงเรียนบ้านท่าน้ำเค็มใต้ ตั้งอยู่เลขที่ - ถนน ฉลุง-ละงู หมู่ที่ ๑๐ บ้านท่าน้ำเค็ม ตำบล ท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล รหัสไปรษณีย์ ๙๑๑๕๐ โทรศัพท์ ๐๗๔-๗๘๗๐๘๕ โทรสาร ๐๗๔-๗๘๗๐๘๕Website : www.thai-school.net/kemtai สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาสตูล เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีเขตพื้นที่บริการ ๒ หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ ๑ บ้านควนบิหลายสา
หมูที่ ๑๐ บ้านท่าน้ำเค็มใต้
สภาพทั่วไปของชุมชน
สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนพื้นที่ชนบท สวนยางพารา มีถนนสายฉลุง-ละงู ผ่านหน้าโรงเรียนเป็นถนนลาดยาง การคมนาคมติดต่อกับชุมชนอื่น ๆสะดวกหากมียานพาหนะเป็นของตนเอง มีประชากรประมาณ .......... คน มีหมู่บ้านในเขตบริการ ๒ หมู่บ้าน อาชีพหลักของชุมชน คือ ทำสวนยางพาราและรับจ้างกรีดยาง เนื่องจากสภาพพื้นที่เหมาะสมในการทำสวนยางพารา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประเพณีและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ การสมรส การเข้าสุนัต (ขลิบอวัยวะเพศชาย) การทำบุญตามโอกาสต่างๆ การขับบุหงาตันหยง การแต่งกายตามแบบอิสลาม
สภาพเศรษฐกิจ ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ มีฐานะค่อนข้างยากจน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำนา ทำสวน การให้ความร่วมมือในการสนับสนุนโรงเรียน ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี

อาชีพของผู้ปกครอง
ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ได้แก่การทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ ค้าขายและประกอบอาชีพรับจ้างในภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ( มาเลเซีย ) เศรษฐกิจชุมชน ไม่เข้มแข็ง ผู้ปกครองในชุมชนและหน่วยงานอื่น ให้ความร่วมมือดีมากกับโรงเรียน

สังกัด
โรงเรียนบ้านท่าน้ำเค็มใต้เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล กระทรวงศึกษาธิการ ( สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน )

วิสัยทัศน์

: โรงเรียนบ้านท่าน้ำเค็มใต้มุ่งการจัดการศึกษา โดยเน้นคุณธรรมนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน พัฒนาสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ท้องถิ่น

คำขวัญ

ปลูกฝังคุณธรรม กิจกรรมกีฬา พัฒนาผลสัมฤทธิ ใช้ชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าหมาย

อ่านออก เขียนได้ เป็นคนเก่ง เป็นคนดี สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

อักษรย่อ

ท.ต.

ปรัชญา

ใฝ่เรียน เพียรทำดี กีฬาเด่น เน้นสิ่งแวดล้อม