ประวัติ

โรงเรียนวัดโคกพิกุล ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลทรายขาว อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดโคกพิกุล เป็นสถานที่เล่าเรียน
พ.ศ. 2460 นายดำ หยู่ทอง ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. 2470 นายเพิ่ม ภูมิเรศ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. 2475 นายยกฮิ่น เตละกุล ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. 2476 นายเอี่ยม เสนทองแก้ว ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. 2484 ท่านพระครูนิโครธจรรยานุยุติ เจ้าอาวาสวัดโคกพิกุล เจ้าคณะอำเภอหัวไทรร่วมกับคณะครู ผู้ปกครอง บริจาคเงินสบทบกับงบประมาณทางราชการ สร้างอาคารเรียนถาวร 1 หลัง 5 ห้องเรียน เป็นเงิน 7,000 บาทเศษ ตั้งชื่อโรงเรียนหลังใหม่ว่า “โรงเรียนประชาบาล ตำบลทรายขาว 1 (นิโครธอุปถัมป์)” เปิดทำการสอน ในวันที่ 16 สิงหาคม 2484
พ.ศ. 2496 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนวัดโคกพิกุล (นิโครธอุปถัมป์)”
พ.ศ. 2501 นายช่วง ศรีรินทร์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. 2507 นายคงแก้ว เสนทองแก้ว ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. 2521 นายพิเชษฐ์ แสงอุไร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และได้รับจัดสรรงบประมาณก่อสร้างส้วม แบบ 401 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง
พ.ศ. 2522 นายศิริศักดิ์ ศักดิ์ศุภกาญน์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และได้รับจัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ข จำนวน 1 หลัง 6 ห้องเรียน เป็นเงิน 450,000 บาท
พ.ศ. 2524 ได้รับจัดสรรงบประมาณ ก่อสร้างโรงฝึกงาน แบบ 312 จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 34,300 บาท และมีผู้บริจาคสร้างโรงอาหาร 1 หลัง
พ.ศ. 2526 ได้รับจัดสรรงบประมาณ ก่อสร้างส้วม แบบ 601/26 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง ก่อสร้างอาคารเรียน แบบ 105/26 จำนวน 1 หลัง 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 870,000 บาท
พ.ศ. 2527 คณะครูและผู้ปกครองนักเรียน ได้ร่วมกันพัฒนาโรงเรียน ตัดถนนทางเข้าโรงเรียน และถนนหน้าอาคารเรียน
พ.ศ. 2528 ได้รับจัดสรรงบประมาณ ก่อสร้างส้วม แบบ 601/26 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง เป็นเงิน 40,000 บาท และได้รับงบประมาณจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 3 ปรับปรุงสนามโรงเรียน เป็นเงิน 40,000 บาท
พ.ศ. 2529 นายเลื่อน คุระวรรณ ได้บริจาคเงินสร้างอาคารคุระวรรณ 1 หลัง เป็นเงิน 309,854 บาท
นายสาคร นางสดศรี ได้บริจาคเงินสร้างเสาธงโรงเรียน เป็นเงิน 13,000 บาท
พ.ศ. 2530 นายประดับ แก้วพลับ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2531 นายชำนาญ ชื่นช่วย ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2532 ได้รับจัดสรรงบประมาณ ต่อเติมอาคารเรียน แบบ 105/26 ชั้นล่าง 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 240,000 บาท ขุดบ่อปลาโรงเรียน เป็นเงิน 50,000 บาท และได้รับงบประมาณจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 3 ปรับปรุงสนามวอลเลย์บอล เป็นเงิน 43,000 บาท
พ.ศ. 2533 ได้รับงบประมาณค่าติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคารเรียน อาคารประกอบ เป็นเงิน 38,200 บาท
นายเลื่อน คุระวรรณ ร่วมกับคณะครูอาจารย์และผู้ปกครองนักเรียน จัดตั้งกองทุนการศึกษา มูลนิธิคุระวรรณ เป็นเงิน 200,000 บาท ทุนพ่อยี่ แม่อิ่ม เป็นเงิน 10,000 บาท
พ.ศ. 2534 ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักภารโรง แบบ 304/28 จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 95,000 บาท
พ.ศ. 2535 นายวันชัย แก้วเนิน ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียน แบบ ป.1 ข เป็นเงิน 121,000 บาท
ได้จัดการศึกษาตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา รับนักเรียนเข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียน 52 คน
ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ่อเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.33 จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 45,000 บาท
พ.ศ. 2537 เปิดขยายชั้นอนุบาล 1 จำนวน 2 ห้อง ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 2 ห้องเรียน
ได้ปรับปรุงถนนหน้าอาคารเรียน สร้างที่จอดรถ 1 หลัง 4 ช่อง ชื่ออาคารโคกวาดอนุสรณ์ และได้รื้อถอนโรงอาหาร นำมาสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 64,000 บาท โดยไม่ใช้งบประมาณทางราชการ
พ.ศ. 2538 ได้รับจัดสรรงบประมาณ ก่อสร้างอาคารเรียน แบบ 105/29 จำนวน 1 หลัง 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 1,682,000 บาท และได้ต่อเติมห้องน้ำใต้บันได ติดตั้งไฟฟ้าชั้นล่างอาคารเรียน รวมเป็นเงิน 14,000 บาท โดยไม่ใช้งบประมาณทางราชการ และได้ขยายชั้นเรียนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3
ได้ปรับปรุงอาคารคุระวรรณ ถมพื้นยกระดับโดยรอบอาคาร และปรับปรุงภายในอาคาร รวมเป็นเงิน 33,000 บาท โดยไม่ใช้งบประมาณทางราชการ เพื่อใช้เป็นสำนักงานโรงเรียน สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้รื้ออาคารเรียน แบบ ป. 1 ข นำวัสดุไปใช้ตามโครงการถมพื้นที่บริเวณที่รื้อถอน ตัดถนนเชื่องติดต่ออาคารเรียน 105/29 เป็นเงินทั้งสิ้น 72,000 บาท โดยไม่ใช้งบประมาณทางราชการ
สร้างป้ายโรงเรียน ทางเข้าโรงเรียนแบบทรงไทย เป็นเงิน 17,000 บาท โดยไม่ใช้งบประมาณทางราชการ
ได้จัดตั้งกองทุนการศึกษาพัฒนาเยาวชน เป็นเงิน 17,571 บาท ทุนสงบ ทองปานดี เป็นเงิน 7,000 บาท ทุนการศึกษาหุ้ย เลิศไพบูลณ์ เป็นเงิน 20,000 บาท ทุนอาภรณ์ เกื้อมา เป็นเงิน 10,000 บาท และกองทุนการศึกษาแก้วเนิน เป็นเงิน 100,000 บาท
พ.ศ. 2539 คณะครู อาจารย์ นักการภารโรง ผู้ปกครอง และผู้อนุเคราะห์โรงเรียนได้ร่วมบริจาค สร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 พรรษา จำนวน 9 หลัง เป็นเงินทั้งสิ้น 135,000 บาท
ได้รื้อถอนโรงฝึกงานแบบ 312 นำวัสดุไปสร้างโรงอาหารชั่วคราวเป็นเงิน 40,000 บาท โดยไม่ใช้งบประมาณทางราชการ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 3 ได้จัดสรรงบประมาณสร้างห้องปฏิบัติการทางภาษา 1 ห้อง เป็นเงิน 640,000 บาท
พ.ศ. 2540 ได้จัดการศึกษาตามโครงการปฏิรูปการศึกษา ได้งบประมาณปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษา 1 ห้อง เป็นเงิน 44,890 บาท ปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ 1 ห้อง เป็นเงิน 99,500 บาท ปรับปรุงอาคารเรียนชั่วคราวเป็นอาคารอเนกประสงค์ แบบ 103 เป็นเงิน 87,529 บาท ตั้งชื่ออาคารเขมวงศ์อนุสรณ์ ต่อเติมอาคารเรียน 105/29 ชั้นล่าง 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 308,000 บาท
คณะครูอาจารย์ นักการภารโรง กรรมการโรงเรียน และผู้ปกครอง ได้บริจาคเงิน สร้างป้ายประชาสัมพันธ์โรงเรียน 1 หลัง เป็นเงิน 13,000 บาท ปรับปรุงถนนทางเข้าโรงเรียน ปรับปรุงบ้านพักภารโรง และปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 75,000 บาท ได้ก่อสร้างศูนย์วิทยาการชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนและชุมชน เป็นเงิน 25,000 บาท ตั้งชื่อว่า “อาคารนิโครธอนุสรณ์”
โรงเรียนได้รับการคัดเลือก และประกวดประเมินผลให้เป็นโรงเรียนดีเด่นระดับอำเภอ ผู้บริหารดีเด่นระดับอำเภอ เนื่องในวันประถมศึกษาแห่งชาติ และได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบวิชาการของสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอหัวไทร
พ.ศ. 2541 ได้รับการคัดเลือกและประเมินผลให้เป็น โรงเรียนดีเด่นระดับอำเภอ โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมและอนุรักษ์เอกลักษณ์ไทยดีเด่น ระดับจังหวัด เนื่องในวันประถมศึกษาแห่งชาติ และเป็นโรงเรียนเครือข่ายสหวิทยาการกีฬา ศิลปะ และดนตรี
นายวันชัย แก้วเนิน อาจารย์ใหญ่ ได้รับการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโคกพิกุล
พ.ศ. 2542 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนแกนนำโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ โรงเรียนจัดการศึกษาพิเศษ โรงเรียนสีขาว
โรงเรียนและชุมชนได้ร่วมกันจัดสร้างหอสมุดเฉลิมพระเกียรติฯ 72 พรรษา ตามโครงการโรงเรียนห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ เป็นเงิน 84,000 บาทเศษ และได้ร่วมกันปรับปรุงศูนย์วิทยาการชุมชน ขยายศูนย์ย่อยเพิ่มขึ้นเป็น 6 ศูนย์ คือศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น ศูนย์บริการวิชาการ ศูนย์ฝึกอาชีพและส่งเสริมรายได้ ศูนย์กีฬาและส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์บริการข่าวสาร และศูนย์สมุนไพร
นายสาคร พรมทอง และญาติ ๆ ได้ก่อสร้างเสาธงมอบให้โรงเรียนทดแทนเสาธงเก่าที่รื้อถอน เป็นเงิน 50,000 บาทเศษ
พ.ศ. 2543 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนทดลองนำร่องการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี และเป็นโรงเรียนโครงการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ
ได้ดำเนินงานตามโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามรูปแบบที่ 3 คือชุมชนและภูมิปัญญาชาวบ้าน มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน สร้างผลผลิต มีการติดตามผลและเยี่ยมชมโดยนายปริญญา กรวยทอง รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2544 ได้ปรับปรุงพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนตามโครงการโรงเรียนในฝัน
นักศึกษาจากสถาบันราชมงคลนครศรีธรรมราช ได้ออกค่ายอาสาพัฒนา ปรับปรุงโรงเรียน สร้างห้องน้ำอนุบาล บ่อเก็บน้ำฝน ป้ายประชาสัมพันธ์ อ่างล้างภาชนะ ที่แปรงฟัน และจัดภูมิทัศน์ในโรงเรียน เป็นเงิน 58,819 บาท โดยได้ใช้งบประมาณประมาณของทางราชการ
นักศึกษาจากวิทยาลัยการอาชีพหัวไทร ได้ฝึกปฏิบัติงานร่วมปรับปรุงไฟฟ้า ปรับปรุงประปา เป็นเงิน 15,384 บาท โดยไม่ใช้งบประมาณทางราชการ
พ.ศ. 2545 ได้พัฒนาบุคลากรในด้านวิชาชีพ อบรมครูตามโครงการครูมืออาชีพการปฏิรูปครูสู่กระบวนการเรียนรู้การจัดทำวิจัยในชั้นเรียน การอบรมการนำผลงานการกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้น การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรใหม่ การวัดผลประเมินผล
พัฒนาโรงเรียนตามโครงการโรงเรียนคุณภาพ 5 ดาว โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดีเด่นเหรียญทองแดง ระดับกลุ่ม เหรียญเงิน ระดับอำเภอและรางวัลเหรียญเงินระดับจังหวัด
พ.ศ. 2546 ได้ปรับปรุงศูนย์วิทยาการชุมชน พัฒนาเป็นเครือข่ายวิทยาการชุมชนโดยขยายศูนย์แหล่งการเรียนรู้จาก 6 ศูนย์ เป็น 8 ศูนย์ คือ ศูนย์ฝึกอาชีพและส่งเสริมรายได้ ศูนย์บริการทางวิชาการ ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น ศูนย์บริการข่าวสาร ศูนย์กีฬาและส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ศูนย์สมุนไพร และศูนย์ส่งเสริมการเกษตร
โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จากสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับเกียรติบัตรโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับเหรียญทอง
ได้พัฒนาคุณภาพการศึกษา ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก และได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
พ.ศ. 2547 ได้ปรับปรุงอาคารคุระวรรณ เป็นอาคารอเนกประสงค์ ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน บริการให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์
ปรับปรุงหอสมุดเฉลิมพระเกียรติฯ ให้เป็นสถานที่สำนักงานโรงเรียนและชุมชน เป็นห้องสำนักงานโรงเรียน ห้องประชุมบุคลากรของโรงเรียนและชุมชน โดยปรับปรุงห้องเรียน 105/26 ชั้นล่าง 1 ห้องเรียน เป็นห้องสมุดประถมศึกษา ปรับปรุงห้องวิทยบริการเป็นห้องสมุดมัธยมศึกษาตอนต้น
จัดสร้างศาลากลางน้ำ ให้เป็นสถานที่พักผ่อนของนักเรียน ใช้จัดกิจกรรมนอกห้องเรียนและการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
ได้ดำเนินงานตามโครงการน้ำใสทั่วไทย ดุจน้ำพระทัยพระราชินี เป็นการเทิดพระเกียรติพระนางสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกสิกรไทย
พ.ศ. 2548 ได้พัฒนาโรงเรียนเป็นโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาเชิงระบบการปฏิรูปการเรียนรู้ และคุณภาพโรงเรียน ( Top Star )
ดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้รับเกียรติบัตรระดับทอง ของกระทรวงสาธารณสุข
ได้รับการสนับสนุนจากวิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยี วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ได้อบรมนักเรียนเกี่ยวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ จัดสรรงบประมาณรายการวัสดุ ครุภัณฑ์ส่งเสริมการเลี้ยงปลาตามโครงการชีววิถี
พ.ศ. 2549 ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ 3 ปี คือ ปี 2549 – 2551 เป็นแผนแม่บทในการพัฒนาสถานศึกษาทุกด้าน
ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และรับการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้รับรองคุณภาพการศึกษาโรงเรียน
ระดมทรัพยากรจัดสร้างอาคารอเนกประสงค์ ขนาด 270 ตารางเมตร สำหรับโครงการอาหารกลางวัน ห้องปฏิบัติการ 3 ห้อง ห้องน้ำ ห้องส้วม 2 ห้อง เป็นเงิน 800,000 บาทเศษ
รื้ออาคารเรียน ป.1 ข. นำวัสดุจัดสร้างและปรับปรุงเป็นอาคารเรียน ป.1 ข. จำนวน 3 ห้องเรียน ใช้เป็นอาคารเรียนระดับก่อนประถมศึกษา โดยงบประมาณทางราชการและสนับสนุนจากชุมชนเพิ่มเติมเป็นเงิน 500,000 บาทเศษ
พ.ศ.2550 ได้ดำเนินงานตามโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ปรับปรุงแปลงสาธิตการเกษตร บ่อปลาโรงเรียนด้วยเงินนอกงบประมาณ 25,000 บาทเศษ ปรับปรุงอาคารอเนกประสงค์ ติดตั้งเครื่องเสียง ไฟฟ้า พัดลม และครุภัณฑ์ห้องโภชนาการ เป็นเงิน 35,000 บาทเศษ ดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพรักษาระดับทอง ส่งเสริมสนับสนุนการแข่งขันทักษะทางวิชาการ ทักษะด้านกีฬา – กรีฑา และกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียน ทั้งในโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่นได้รับเกียรติบัตรมากมาย
พ.ศ. 2551 ได้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการปีการศึกษา 2551 ได้ดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ในแผนดังกล่าว โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งหมด 17 คน นักเรียน 217 คน


วิสัยทัศน์

โรงเรียนวัดโคกพิกุล ร่วมกันจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้ได้ตามเกณท์มาตรฐาน และมีคุณภาพตามที่สังคมคาดหวัง

คำขวัญ

ครูดี นักเรียนเด่น เน้นคุณธรรม นำสังคม

พันธกิจ

1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน โดยเน้นคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีความรู้ ความสามารถในด้านทักษะต่างๆ มีคุณภาพในการดำรงชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
2.พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพครู มีคุณธรรม จริยธรรมที่พึงประสงค์ จัดกระบวนการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้
3. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อเทคโนโลยีให้ทันมัยการใช้นวัตกรรมที่เป็นระบบและมีคุณภาพ
4. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ โดยเน้นการนิเทศ ติดตามผลและรายงานผลทุกระยะ จัดระบบสารสนเทศให้เอื้อต่อการจัดการศึกษา
5. ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ระดมทรัพยากรสนับสนุนและส่งเสริมให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา
6. ดำเนินการให้มีการประกันคุณภาพการศึกษา จัดระบบประเมินคุณภาพภายในและภายนอกตามเกณท์มาตรฐาน

เป้าหมาย

1. นักเรียนทุกคนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขในการดำรงชีวิต
2. บุคลากรสถานศึกษาทุกคนได้พัฒนาด้านวิชาชีพ มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรมตามจรรยาบรรณของครู จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
3.นักเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีคุณภาพ
4. ดำเนินการบริหารจัดการอย่างมีระบบ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม
5. โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานต่างๆมีความสัมพันธ์อันดี ร่วมกันพัฒนาการศึกษาโดยใช้โรงเรียนป็นฐาน
6. ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกปี มีการประเมินคุณภาพภายในและภายนอก และได้รับการรับประกันคุณภาพการศึกษาตลอดไป

อักษรย่อ

ค.ก.

ปรัชญา

จัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคน