ประวัติ

ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนบ้านขะยูง(โนนเจริญศึกษา ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบล ละลม อำดภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2521 โดยมีนายสงวน วัฒนานันท์ นายอำเภอขุขันธ์เป็นประธานในพิธีเปิด มีนักเรียน ทั้งสิ้น 86 คน แยกมาจากโรงเรียนบ้านละลม 9 คน มาจากโรงเรียนบ้านโกแดง 28 คน สำรวจเข้าใหม่ 49 คน เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีข้าราชการครูทำการสอน 2 คน คือ นายนพสิทธิ์ กาเมือง และนายสังวาล นันทวงษ์
ในปีการศึกษา 2522 คณะกรรมกาการศึกษา ได้มีมติเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนบ้านขะยูง(โนนเจริญศึกษา)และได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน ( VISION )
โรงเรียนบ้านขะยูง(โนนเจริญศึกษา) เน้นการจัดการศึกษาให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิดคำนวณ มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน กล้าแสดงออก เลื่อมใสในการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย มีสุขภาพการสมบูรณ์ อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย อยู่ในสังคมอย่างมีความสุ

คำขวัญ

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

พันธกิจ

1.จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิดคำนวณ
2.จัดกิจกรรมปลูกนิสัยรักการอ่าน
3.จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้แสดงออกและมีพฤติกรรมประชาธิปไตย
4.ปลูกฝังจิตสำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติ และมีพฤติกรรมประชาธิปไตย
5.ส่งเสริมสุนทรียภาพด้านกีฬาและการออกกำลังกาย

เป้าหมาย

1.ด้านนักเรียน
1.สถานศึกษาจัดการศึกษา ส่งเสริมผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
2.มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง มีจิตสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
3.มีจิตสำนึกในวิถีไทย และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
4.มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์
5.มีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
6.มีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี

2.กระบวนการจัดการศึกษาภายในโรงเรียน
1.โรงเรียนมีการบริหารจัดการที่ดี โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
2.โรงเรียนจัดการศึกษา ดูแล ช่วยเหลือส่งเสริมนักเรียนตามศักยภาพอย่างทั่วถึง
3.รงเรียนปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนแบบบูรณาการ
4.โรงเรียนจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

3.การเรียนรู้และพัฒนา
1.ผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความสามารถ ในการจัดการศึกษา จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และใช้กระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนา
2.นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

4.งบประมาณและทรัพยากร
1.โรงเรียนมีระบบภาคีเครือข่าย ชมรม ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2.โรงเรียนมีงบประมาณและทรัพยากรเพียงพอในการใช้พัฒนาการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

อักษรย่อ

ข.ย