ประวัติ

โรงเรียนบ้านอีนอ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ได้ทำการเปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2501
โรงเรียนตั้งอยู่บนที่ดินของเอกชนของผู้ใหญ่บ้าน ท่ามกลางสวนยาง และบ้านพักของลูกกุลี อาคารเรียนดัดแปลงมาจากบ้านพักลูกกุลี เป็นอาคาร 2 ห้องเรียน โดยมีนายชัย คงแสง เป็นครูคนแรก ต่อมานายเจ๊ะเต๊ะ สาและ ผู้ใหญ่บ้านได้มอบที่ดินประมาณ 2 ไร่ เศษให้โรงเรียน
พ.ศ. 2512 นายชัย คงแสง ลาออกไปประกอบอาชีพอื่น ทางอำเภอได้ให้นายปลื้ม คันธชาติ ครูตรีโรงเรียนบ้านบือแรง มาดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ พ.ศ. 2513 นายสอเฮาะ สาและ ได้อุทิศที่ดินที่มีมีอาณาเขตติดกับโรงเรียน จำนวน 1 ไร่ เพื่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป. 1ก. จำนวน 3 ห้องเรียน โดยใช้งบประมาณ120,000 บาท พ.ศ. 2516 นายปลื้ม คันธชาติ ได้โอนไปสงขลา นายประภาส หนูเรือง ทำหน้าที่แทน 23 มิถุนายน 2519 นายประภาส หนูเรือง ย้ายไปสอนที่สงขลา นายถวิล จันทร์ชู ครูโรงเรียนนี้ทำหน้าที่แทน 30 มีนาคม 2525 นายสมเกียรติ เสาวคนธ์ ย้ายไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านบริจ๊ะ ทาง สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอรือเสาะจึงได้แต่งตั้ง น.ส.วรรณา องค์พลานุพัฒน์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
9 พฤศจิกายน 2549 น.ส.วรรณา องค์พลานุพัฒน์ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบริจ๊ะ นายนพดล อดุลภักดี มารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านอีนอ จนถึง ปัจจุบัน

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านอีนอจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการอ่านออก-เขียนได้ ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยชุมชนมีส่วนร่วม

คำขวัญ

สะอาด มีวินัย ใฝ่ศึกษา พัฒนาตนเอง

พันธกิจ

1. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการอ่านออก-เขียนได้ตามศักยภาพ โดยเน้นการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ มีคุณภาพตามนโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. สนับสนุนให้บุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองเข้าสู่มาตรฐานวิชาชีพ
4. จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
5. ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา

เป้าหมาย

1. ประชากรวัยเรียนในเขตบริการ ได้รับการศึกษาภาคบังคับอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
2. นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
3. นักเรียนในระดับก่อนประถมศึกษา ได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานระดับก่อนประถมได้อย่างมีคุณภาพ
4. นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและแสวงหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่ยอมรับของชุมชน
6. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
7. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน
8. ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายด้านการจัดการศึกษา

อักษรย่อ

อน

ปรัชญา

การศึกษา สร้างปัญญา คู่คุณธรรม