ประวัติ

โรงเรียนประชารัฐวิทยา เดิมชื่อ โรงเรียนบ้านอีทาก (สามัคคีประชาราษฎร์) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2518
ต่อมาได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประชารัฐวิทยาเมื่อ วันที่ 16 ตุลาคม 2545 ตั้งอยู่ที่บ้านวังกะโล่ หมู่ที่ 9
ตำบลวังกะทะ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 กระทรวงศึกษาธิการ
ตั้งอยู่ในท้องที่กันดารตามประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อปี พ.ศ.2541 มีเขตบริการทางการศึกษา 8 หมู่บ้าน
คือหมู่ที่ 1,6,7,8,9,14,17 และหมู่ที่ 20 โดยมีนักเรียนไปเรียนนอกเขตบริการจำนวน 4 หมู่บ้านคือหมู่ที่ 6,14,17
และหมู่ที่ 20 เนื่องจากมีพื้นที่ติดเขตแดนอำเภอวังน้ำเขียว และมีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 ที่ตั้งอยู่ใกล้บ้าน มีพื้นที่ 11 ไร่ 3 งาน 11 ตารางวา ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ราบ
เชิงเขา มีเนื้อดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย มีความลาดชัน 5 - 12 % (กรมพัฒนาที่ดิน กองสำรวจและจำแนก
ดิน ม.ป.ท.) ระยะทางจากโรงเรียนถึงที่ว่าการอำเภอปากช่อง ถนนลูกรัง 1 กม. ถนนลาดยาง 53 กม. รวม
ระยะทาง 54 กิโลเมตร การคมนาคมไม่มีรถประจำทางผ่านไป/ กลับ การเดินทางมาเรียนใช้ยานพาหนะส่วน
ตัวเท่าที่มีและจ้างเหมารถรับส่ง มีระบบประปาในโรงเรียน (สร้างโดยงบประมาณจากการบริจาค) และภาชนะ
กักเก็บน้ำชนิดถังซีเมนต์ และถังน้ำไฟเบอร์กลาส มีปริมาณน้ำใช้เพียงพอตลอดปีแต่จะขาดแคลนน้ำดื่มระยะ
เวลาประมาณ 1 - 2 เดือน
สภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนในเขตบริการเป็นชุมชนเกษตรกรรม อาชีพหลักคือการทำไร่ทำสวนและรับจ้างมีรายได้ไม่แน่นอนผู้ปกครองและประชาชนในเขตบริการส่วนใหญ่ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ในเขต สปก. พื้นฐานด้านการศึกษาของประชาชนจบการศึกษาภาคบังคับมีสภาพอ่านออกเขียนได้เป็นส่วน
ใหญ่ และที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มีเพียงเล็กน้อย อยู่ห่างไกลจากสถานที่บริการสุขภาพ (สถานีอนามัยวังกะทะ) ระยะทาง 8-15 กิโลเมตร โดยประมาณ
เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียน 161 คน
อัตรากำลังบุคลากรเป็นข้าราชการครู 12 คน ช่างครุภัณฑ์ชั้น 3 1 คน พนักงานราชการ 3 คน รวมทั้งหมด 16 คน

คำขวัญ

น่ารัก น่าอยู่ น่าเรียน

พันธกิจ

1. จัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. จัดกระบวนการนิเทศภายในอย่างมีระบบ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
3. จัดระบบบริหารจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542
4. ปรับปรุง พัฒนาบริเวณอาคารสถานที่ ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน มีสภาพแวดล้อมร่มรื่น
สวยงาม น่าดู น่าอยู่ และน่าเรียน

เป้าหมาย

1. นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
2. บุคลากรมีขวัญกำลังใจที่ดีในการทำงาน และได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพ
3. การบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับของชุมชน และสังคม
4. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดีเหมาะสมในการเป็นแหล่งเรียนรู้และบริการทางการศึกษาแก่นักเรียน
และชุมชน

อักษรย่อ

ป.ร.ว.

ปรัชญา

คุณธรรมนำความรู้