ประวัติ

โรงเรียนนี้ นายกิมลี้ ทรัพย์ทวี นายอำเภอวังน้อยได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๘๒
โดยใช้นามว่า โรงเรียนบ่อตาโล่ ๕ อาศัยยุ้งข้าวของ นายเปลี่ยน นางแดง ทับช้าง เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ดำรงการศึกษาอยู่ด้วยกองการประถมศึกษา
โดยมีนายบุญชู คุ้มภัย เป็นครูสอนประจำจนถึงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ จึงได้ย้ายไปประจำโรงเรียนวังน้อยวิทยาภูมิ และในวันเดียวกันนี้ ทางราชการได้ส่งนาย ศิริ กลิ่นพิบูลย์ มาทำการสอนแทนและทำการสอนตลอดมาจนถึงวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ จึงย้ายไปทำการสอนที่โรงเรียนบ่อตาโล่ ๖ และในวันเดียวกันนี้ ได้มีคำสั่งย้าย นายจำรัส อายินดี มาทำการสอนแทน ต่อมาทางราชการเห็นว่า มีจำนวนนักเรียนมากขึ้น จึงได้มีคำสั่งให้ นายเชื้อ ฤทธิญาณ มาทำการสอนอีก ๑ คน ครั้นถึงวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้าย นายเชื้อ ฤทธิญาณ ไปทำการสอนที่โรงเรียนบ่อตาโล่ ๔ (โรงเรียนบ้านสร้าง) ทางราชการจึงได้มีคำสั่งให้นายดวง เสลา มาทำการสอนแทนตั้งแต่วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ทางโรงเรียนจึงดำเนินการสอนด้วยดีตลอดมา ครั้นถึง กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๖ ทางราชการจึงให้งบประมาณมาเพื่อทำการก่อสร้างโรงเรียน ในวงเงิน ๑๐,๐๐๐บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) แต่ในวงเงินเท่านี้ไม่สามารถสร้างโรงเรียนได้ นายจำรัส อายินดี ในฐานะครูใหญ่จึงได้ทำการติดต่อยุ้งข้าวของ นายเชื้อ นางเป้า ฤทธิญาณ มานร่วมสมทบในการก่อสร้าง เจ้าของยินดี ยกให้ และได้ติดต่อกับ นายแผ้ว นางมณี รื่นจิตร ยินดียกให้ เนื้อที่ดินจำนวน ๑ ไร่ ๒งาน ซึ่งที่ดินแปลงนี้ตั้งอยู่ตรงกลางของท้องถิ่น หมู่บ้านนี้จึงได้จัดสร้างโรงเรียนขึ้นจำนวน ๑ ห้องเรียน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ จึงใช้เป็นสถานที่เรียนต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๗ ได้ติดต่อขอเงินสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาอีก จำนวน ๖,๔๐๐บาท ได้ทำการต่อเติมอีกครึ่งห้องเรียน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๗ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ทางราชการได้ให้งบประมาณมาเพื่อทำการก่อสร้างโรงเรียนที่ค้างการก่อสร้างให้แล้วเสร็จในวงเงิน ๕๐,๐๐๐บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ทางโรงเรียนได้ดำเนินการแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๘โดยมีขนาด ๓ ห้องเรียน ตามแบบ ป. ๓ ทางโรงเรียนจึงได้เปิดใช้เป็นสถานที่เรียนตลอดมา ครั้นถึง วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๙ ทางราชการจึงได้มีคำสั่งย้าย นายจำรัส อายินดี ไปทำการสอนที่โรงเรียนวังน้อยวิทยาภูมิ และในวันเดียวกันนี้ ทางราชการได้แต่งตั้ง นายดวง เสลา ทำการสอนและเป็นครูใหญ่ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ต่อมาทางราชการได้สั่งให้นายสังเวียน อิ่มฤทธา มาเป็นครูช่วยสอนเมื่อ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ และเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ ทางราชการได้ส่ง นายจงกล ไม้ประดิษฐ์ มาทำการสอนอีก ๑ คน ต่อมาถึงวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ทางราชการได้ทำการสั่งย้าย นายจงกล ไม้ประดิษฐ์ ไปทำการสอนที่โรงเรียนวัดภาชี ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ทางราชการได้มีคำสั่งให้ นางสาว ทัศนีย์ เพชร




วุฒิ ม.กศ. มาทำการสอนที่โรงเรียนนี้อีก แต่ทางราชการอำเภอได้ขอตัวไปสอนที่โรงเรียนวัดมณฑลประสิทธิ์ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางราชการได้สั่งให้ นางสาวฟาติมะห์ เลาะวิถี มาทำการสอนที่โรงเรียนอีก ๑คน และในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ นายสังเวียน อิ่มฤทธา ได้ลาออกจากครูช่วยสอนอีก ๑ คน ต่อมาทางราชการได้สั่งให้ นางทิพวัลย์ นิลเขต มาเป็นครูช่วยสอนแทน เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๗ และในวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘ นายดวง เสลา ครูใหญ่ได้ลาออกจากราชการอีก ๑ คน ต่อมาทางราชการได้สั่งให้ นาง แน่งน้อย สุขประเสริฐ มาทำการสอน เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ และ ในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ทางราชการได้มีคำสั่งย้าย นาย สังเวียน อิ่มฤทธา จากจังหวัดสระบุรีมาทำการสอนโรงเรียนนี้อีก ๑ คน ต่อมาในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ นายไพฑูรย์ สุขสุภักดิ์ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ที่โรงเรียนนี้อีก ๑ คน และได้ติดต่อขอที่ดิน จำนวน ๗ ไร่ ๓ งาน ๔๘ ตารางวา จากที่ดินของ คุณแม่สุรินทร์ เกตุอร่าม และ เมื่อ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นข้าราชการครูวิสามัญ ในปีงบประมาณ ๒๕๑๙ ทางราชการได้ให้ งบประมาณจำนวนเงิน ๓๑๐,๐๐๐บาท (สามแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน) สร้างอาคารเรียนแบบ ป๑ข. จำนวน ๔ ห้องเรียน ในที่ดินแปลงใหม่แล้วเสร็จ ในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ และในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้งบประมาณจากสภาตำบลรื้ออาคารเรียนหลังเก่ามาสร้างเป็นอาคารหอประชุม เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ทางราชการ ได้สั่งให้ นางสาวสมใจนึก ใบโพธิ์ มาดำรงตำแหน่งอีก ๑ คน และ ต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนวัดแก้วตา เมื่อ วันที่ ๒๗ กันยายนพ.ศ. ๒๕๒๒ และได้มีคำสั่งให้ นายนิทัศน์ เกตุบุตร มาดำรงตำแหน่งครู ๒ อีก ๑ คน เมื่อ วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ และ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ นางสาวศุภลักษณ์ ศุภศิริ ได้ย้ายไปทำการสอน ที่โรงเรียนวัดศรีประชา และ ได้มีคำสั่งให้ นางสาว จิราพร ผลพานิชเจริญ มาทำการสอนอีก ๑ คน เ มื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ทางราชการได้มีคำสั่งย้าย นายไพฑูรย์ สุขสุภักดิ์ ครูใหญ่ไปดำรงตำแหน่ง อาจารย์ ๑ ระดับ ๔ ที่โรงเรียนบ้านหนองขาว อำเภอฝาง จังหวัด เชียงใหม่ และแต่งตั้งให้นายสังเวียน เอี่ยมฤทธา ปฏิบัติหน้าที่ผู้รักษาการแทนในตำแหน่งครูใหญ่ตลอดมาจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๖ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มีคำสั่ง แต่งตั้งให้ นายสังเวียน อิ่มฤทธา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนนี้ ต่อมาเมื่อ วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ นายนิทัศน์ เกตุบุตร ได้ขอย้ายโอนไปเป็นข้าราชการช่างโยธา ๒ เทศบาลเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ สปจ. พระนครศรีอยุธยา ได้รับย้าย นายประทีป เอี่ยมสะอาด อาจารย์ ๑ ระดับ ๕ โรงเรียนชุมชนนิคมทับกวางสงเคราะห์ สปอ. แก่งคอย มาทำการสอนอีก ๑ คน เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ สปจ. พระนครศรีอยุธยา ได้รับนายนรินทร์ นรกิจ กลับเข้ารับข้าราชการครูในตำแหน่งอาจารย์ ๑ ระดับ ๔ ขั้น ๔,๑๖๕ บาท ในตำแหน่ง โรงเรียนนี้อีก ๑ คน วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙ นายประทีป เอี่ยมสะอาด ย้ายไปทำการสอนโรงเรียนวัดกอไผ่ สปอ.บางบาล และ




เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๙ สปจ. พระนครศรีอยุธยา ได้รับย้าย นางพรรณี ค้าสุวรรณ์ ตำแหน่ง อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ ขั้น ๓,๑๑๕ บาท จาก สปจ. สระบุรี มาดำรงตำแหน่งอีก ๑ ท่าน เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ อนุญาตให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน จ ากเดิมชื่อ โรงเรียนวัดห้วยจระเข้ ( เกตุอร่ามวิทยา) เป็นชื่อใหม่ว่า โรงเรียนวัดห้วยจระเข้ (เกตุอร่ามอุปถัมภ์) ตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการการประถมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ ๗ / ๒๕๒๙ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ และ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจำนวน ๓๖,๐๐๐บาท ดำเนินการก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ. ๓๓ จำนวน ๓ ถัง พร้อมรางรับน้ำฝน และเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจำนวน๒๓๑,๑๐๐บาท มาดำเนินการรื้อซ่อมอาคารเรียน หลังที่ ๒ แบบหอประชุม สร้างลักษณะ แบบ ป๑ข. จำนวน ๓ ห้องเรียน เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณเป็นเงิน ๘๐,๐๐๐บาท ดำเนินการสร้างส้วมแบบ สปช. ๖๐๓ / ๒๙ จำนวน ๔ ที่นั่ง เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. พ.ศ. ๒๕๓๖ สปจ. พระนครศรีอยุธยา ได้มีคำสั่งที่ ๑๒๐/ ๒๕๒๖ลว. ๒๔ มี.ค. ๒๕๓๖ใ ห้นางสาวพนิดา พงษ์อารี ย้ายจากโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ มาดำรงตำแหน่ง ครูผู้สอนโรงเรียนนี้อีก ๑ คน และ เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับงบประมาณ ๒๔,๐๐๐ บาท ก่อสร้างเรือนเพาะชำตามแบบ สปช. พ. / ขนาด ๔× ๖ เมตร และ เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ทางโรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน ๑,๖๔๐,๐๐๐ บาท สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. ๑๐๕/๒๙ จำนวน๔ ห้องเรียนจำนวน ๑ หลัง วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ นางพนิดา ไพรสันต์ ได้ขอย้ายสับเปลี่ยนกับนายสันติ ขุมทิพย์ ตำแหน่งอาจารย์ ๒ โรงเรียนบ้านสร้าง เมื่อวันที่๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๐ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจำนวนเงิน ๑๔๕,๙๙๘ บาท มาดำเนินการก่อสร้างต่อเติมอาคารเรียน แบบสปช. ๑๐๕ / ๒๙ จำนวน ๒ ห้องเรียน เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๐ นายสังเวียน อิ่มฤทธา ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ระดับ ๗ โรงเรียนนี้ตามคำสั่งสปจ.อย.ที่๔๒๘/๒๕๔๐ลว.๘กันยายน ๒๕๔๐ และวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๐ นางทิพวัลย์ นิลเขต ตำแหน่งอาจารย์ ๒ ปลดเกษียณอายุราชการอีก ๑ คน และเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ทางโรงเรียนได้ร่วมกับคณะกรรมการโรงเรียนจัดทอดผ้าป่าสามัคคีหารายได้จำนวนเงิน๑๓๐,๐๐๐บาท จ้างรถถมดินจัดทำสนามกีฬาฟุตบอลของโรงเรียนเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ นายสังเวียน อิ่มฤทธาได้รับแต่งตั้งจาก สปช.ในการประชุมครั้งที่๑๗/๒๕๔๑ ลว. ๒๙ กันยายน ๒๕๔๑ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ ๘ โรงเรียนนี้ตามคำสั่ง สปช. ที่ ๒๖๘๕/๒๕๔๑ ลว. ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ได้รับงบประมาณ ๙๐,๙๐๐ บาท ก่อสร้างลานกีฬาเอนกประสงค์กรมพลศึกษา (สนามวอลเลย์บอลเซปัคตะกร้อ ) เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ นายประภาส เพ็ชรักษ์ อาจารย์ ๑ ระดับ ๔ ย้ายสับเปลี่ยนกับนายศรีโพธิ์ เพ็ชรักษ์ ตำแหน่ง อาจารย์ ๒ระดับ๗ มาดำรงตำแหน่งโรงเรียนนี้และได้ลาออกจากราชการก่อนกำหนดเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ครั้นถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ นางแน่งน้อย สุขประเสริฐ เกษียณอายุราชการอีก ๑ คน






วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๘ โรงเรียนได้ออกคำสั่งที่ ๓๑ /๒๕๔๘ แต่งตั้งนางสาวศิริมนัส ขันทนิตย์ ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย โรงเรียนนี้อีก ๑ คน ปัจจุบันโรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนระดับก่อนประถมศึกษา (๔-๕ ขวบ) ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง๖ จำนวน ๒ ช่วงชั้น
วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ นางชฎาพร เธียรศิริพิพัฒน์ ได้รับการแต่งตั้ง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดห้วยจระเข้ (เกตุอร่ามอุปถัมภ์)
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ นางสาวปวัลลดา เนียมนิยม ได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนวัดห้วยจระเข้ (เกตุอร่ามอุปถัมภ์)
วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒ นางสาวสาวิตรี อุปนิ ได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนวัดห้วยจระเข้ (เกตุอร่ามอุปถัมภ์)
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ นางพรรณี ค้าสุวรรณ์ และ นางจิราพร พึ่งความสุข ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่สถานศึกษาแห่งใหม่
วันที่ 10 สิงหาคม ๒๕๕๒ นางสาวศิริมนัส ขันทนิตย์ ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่สถานศึกษาแห่งใหม่

วิสัยทัศน์

เป็นโรงเรียนในการปฏิรูปการจัดการศึกษา โดยชุมชน มีส่วนร่วม เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน เน้นคุณธรรมนำความรู้ มีความรัก ความภาคภูมิใจในความเป็นอยุธยา และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

คำขวัญ

จรรยาดี มีวินัย ใฝ่การเรียน เพียรทำดี มีคุณธรรม

พันธกิจ

1.พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ
2.ปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณธรรมนำความรู้และอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข
3.ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาด้วยการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
4.ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกตามความถนัดและความสามารถพิเศษ
5.ส่งเสริมให้มีอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีทางการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
6.ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างเต็มศักยภาพ
7.ระดมทรัพยากรจากชุมชนเพื่อนำมาจัดและพัฒนาการศึกษา
8.ส่งเสริมให้มีการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอน
9.สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
10.ส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าหมาย

นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพตามมาตรฐานการศึกษา สามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
มีคุณธรรม จริยธรรม สุขภาพสมบูรณ์ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

อักษรย่อ

ว.ข.

ปรัชญา

การศึกษา คือ การพัฒนาตนตลอดชีวิต