ประวัติ

กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติให้ตั้ง โรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา เลขที่ 21 หมู่ 1 ถ.เพชรเกษม ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา สังกัดกรมวิสามัญศึกษา โดยแบ่งเนื้อที่มาจากโรงเรียนวัดประชาธิการาม จำนวน 25 ไร่
เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2513 ในระดับชั้น ม.ศ.1 มีนักเรียน 32 คน นายจินดา ทองด้วง ปฏิบัติหน้าที่ครูใหญ่
พ.ศ. 2519 ได้ยุบโรงเรียนท้ายเหมือง(ระดับประถมศึกษา) เลขที่ 145 หมู่ 9 ถ.เพชรเกษม ต.ท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา เนื้อที่ 12 ไร่ มารวมกับ โรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา
พ.ศ. 2521 องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา ซื้อที่ดิน 13 ไร่ 2 งาน 10 ตารางวา มอบให้โรงเรียน รวมกับพื้นที่ซึ่งมีอยู่เดิม 25 ไร่
พ.ศ. 2530 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนดีเด่นรับรางวัลพระราชทาน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2530 มีนายสถิต อุทัย เป็นอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2531 ได้รับคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ให้รับโล่รางวัลการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ดีเด่น
พ.ศ. 2532 โรงเรียนเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น และกระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมอำเภอท้ายเหมือง เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2536
พ.ศ. 2537 โรงเรียนได้รับมอบหมายจากกลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษา จังหวัดพังงา ให้บริการศูนย์ พัฒนาวิชาการ รวม 2 ศูนย์ คือ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และศูนย์ศิลปศึกษา
พ.ศ. 2541 โรงเรียนได้รับมอบหมายให้เป็นศูนย์ประสานงานตามนโยบาย การจัดตั้งโรงเรียน แบบสหวิทยาเขต ฯ โดยมีโรงเรียนในสหวิทยาเขต รวม 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา โรงเรียนทุ่งโพธิ์วิทยา โรงเรียนทุ่งมะพร้าววิทยา และโรงเรียนคลองเคียนรัฐราษฎร์รังสรรค์
พ.ศ. 2543 โรงเรียนได้รับมอบ "สระว่ายน้ำจังหวัดพังงา อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา" ซึ่งเป็นสระว่ายน้ำมาตรฐานจากการกีฬาแห่งประเทศไทย มีการจัดพิธีเปิดสระว่ายน้ำ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี

วิสัยทัศน์

สุขภาพดี วิชาการเด่น
เน้นศิลปวัฒนธรรมไทย รักษ์ในสิ่งแวดล้อม
เพียบพร้อมคุณธรรม เลิศล้ำเทคโนโลยี
มีการประสานชุมชน สัมฤทธิ์ผลคือนักเรียน

พันธกิจ

1. พัฒนาผู้เรียนให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
2. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้
3. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย สิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. ส่งเสริมบุคลากรให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
5. มุ่งเน้นระบบการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานให้เกิดผลสัมฤทธิ์มีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย

1. นักเรียนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
2. ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้เรียนรัก ภูมิใจศิลปวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมกันอนุรักษ์
4. พัฒนาครูสู่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
5. โรงเรียนได้รับความเชื่อถือ ศรัทธาจากชุมชน ร่วมบริหาร ร่วมพัฒนา

อักษรย่อ

ท.ว.

เพลง

คำร้องและทำนอง โดย อ.วาณิช วัฒนกิจ , อ.วัฒนา พลับจีน
เรียบเรียงดนตรี โดย อ.วัฒนา พลับจีน , อ.สมชาย สิงหนันท์


ี นามท้ายเหมืองวิทยาจ้าจรัส
จบจังหวัดทั่วพังงาใต้ฟ้าสยาม
ฟูเฟื่องท้ายเหมืองวิทยางาม
ทั่วเขตคามงามดังเพชรเกล็ดมณี

ี ม่วงเหลืองสีเรืองรองแทนผองข้า
ขึ้นชื่อลือชาด้วยค่านิยมสมศักดิ์ศรี
อนุรักษ์วัฒนธรรมให้คงมี
รักสามัคคีลูกท้ายเหมืองวิทยา

ี แม้ศิษย์ผิดพลาดขาดสำนึก
ครูคอยฝึกให้เล่าเรียนเพียรศึกษา
ไม่โง่เขลาให้เรานี้มีปัญญา
เราต่างบูชาเทิดพระคุณไม่ขุ่นเคือง

ี ศาสตร์และศิลป์หรือกีฬาใครท้าแข่ง
ไม่อาจแซงวัดดวงม่วงเหลือง
เกียรติยศปรากฏทั้งในนอกเมือง
ชื่อลือเลื่องฟูเฟื่องไกล

ปรัชญา

ปญญา โลกสมิ ปชโชโต
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก