เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ นางปรนินทร์ ทรช่วย

รายงานผลการใช้ชุดการสอนคำ ที่มีตัวสะกดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และเขียนทำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุกูล) อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการใช้ชุดการสอนคำที่มีตัวสะกด เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และเขียนคำ ที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดการสอนคำที่มีตัวสะกดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่าน และเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 ก่อน และหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนคำที่มีตัวสะกด และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดการสอนคำที่มีตัวสะกด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุกูล) อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา สังกัดเทศบาลเมืองพะเยา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 26 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ชุดการสอนคำที่มีตัวสะกด เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา จำนวน 8 ชุด แผนการใช้ชุดการสอนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 24 แผน รวมเวลา 24 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดทักษะการอ่าน และเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนคำที่มีตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ เก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการหาประสิทธิภาพของชุดการสอนคำที่มีตัวสะกด ด้วยการหาค่าประสิทธิภาพด้วยสูตร E1/E2 ศึกษาทักษะการอ่าน และเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราของนักเรียนด้วยการเปรียบเทียบค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าดัชนีประสิทธิผล และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนด้วยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดการสอนคำที่มีตัวสะกด เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และเขียนคำที่มีตัวสะกด ตรงตามมาตรากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 มีประสิทธิภาพโดยรวมทั้ง 8 ชุด คือ 81.59/92.69 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

2. ทักษะการอ่าน และเขียนคำที่มีตัวสะกดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้ชุดการสอนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 คือ หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 18.54 คิดเป็นร้อยละ 92.69 ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 12.27 คิดเป็นร้อยละ 61.35 มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย 6.27 คิดเป็นร้อยละ 31.34 แสดงว่า การเรียนด้วยชุดการสอนคำที่มีตัวสะกดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 ส่งผลให้นักเรียนมีทักษะการอ่าน และเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราสูงขึ้น

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนคำที่มีตัวสะกด เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.80, =0.16 )



17/03/2558