ประวัติ

โรงเรียนหนองทุ่มสงเคราะห์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2481 ตรงกับวันพุธ
ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 7 ปีขาล โดยใช้ศาลาวัดบ้านหนองทุ่มเป็นสถานที่เรียน โดยมีนายอำเภอเป็นประธานเปิด ต่อมาได้สร้างอาคารเป็นเอกเทศในที่ดินที่ซื้อจากราษฎรในราคา 34 บาท จำนวน 22 ไร่ 1 งาน 46 ตารางวา เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 ต่อมาในปีการศึกษา 2521 ได้เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 เมื่อมีการศึกษา 2530 ได้เปิดสอนชั้นอนุบาล (เด็กเล็ก) เพิ่มขึ้นอีก 1 ชั้น
และปีการศึกษา 2537 ได้ขยายชั้นอนุบาลปีที่ 1 – ชั้นอนุบาลปีที่ 2
การเปลี่ยนแปลงด้านอาคารเรียนและอาคารประกอบ
ปี พ.ศ. 2481 สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ข ขนาด 3 ห้องเรียน หลังคามุงด้วยไม้
โดยการนำของนายใหม่ ภูธาตุงาม ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกับราษฎร จำนวน 60 คน บริจาคไม้และสมทบเงินงบประมาณ เป็นค่าประตู หน้าต่าง
ปี พ.ศ. 2522 ได้รับเงินงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ ขนาด 3 ห้องเรียน จำนวน 270,000 บาท
แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2532
ปี พ.ศ.2531 ได้รับงบประมาณจากสปช. กระทรวงศึกษาธิการ สร้างอาคารเรียน แบบสปช.105/29 ขนาด 6 ห้องเรียน เงินงบประมาณ 867,500 บาท
ปี พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณจากทางราชการ จัดทำห้องปฏิบัติการทางภาษา และห้องวิทยาศาสตร์ และปรับปรุงโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน โดยทาสีอาคารเรียน เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ใต้ถุนอาคารเรียนแบบ ป.1 ข โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านช่วยบริจาคเงิน
และแรงงาน เพื่อทำการตัดต่อต้นเสา จากเสาไม้เป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก



วิสัยทัศน์

“โรงเรียนหนองทุ่มสงเคราะห์เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สามารถจัดการศึกษาได้อย่างทั่วถึง มุ่งพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถตามเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เน้นปลูกฝังคุณธรรมนำความรู้ ก้าวสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัย รู้จักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความรับผิดชอบ สู่การเป็นคนดี คนเก่งและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข”

คำขวัญ

รู้หน้าที่ มีวินัย ใช้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม

พันธกิจ

1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถและทักษะตาม มวลประสบการณ์ของหลักสูตร มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ รวมทั้งสติปัญญา มีความรู้ คู่คุณธรรม มีจริยธรรม ในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
2. จัดให้เด็กในวัยการศึกษาภาคบังคับทุกคน ได้เข้าเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ และเรียนจบหลักสูตร ตลอดจนส่งเสริมให้เด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส ได้รับการศึกษา เรียนร่วมกับเด็กปกติ
3. ปรับปรุง พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการของโรงเรียน โดยใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นแนวทางในการดำเนินงาน
4. สนับสนุนและร่วมมือกับชุมชน ครอบครัว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ หน่วยงานอื่น ในพื้นที่จัดการศึกษาในระดับปฐมวัยให้เป็นไปอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ

อักษรย่อ

น.ท.ส.

เพลง

“สุวิชาโณ ภวังโหตุ” (ผู้มีความรู้ดี เป็นผู้เจริญ)

ปรัชญา

“มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาความเป็นมนุษย์ เข้าใจตนเองและ เข้าใจโลก “