ประวัติ

โรงเรียนบ้านสวงษ์ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ 2482 โดยคณะกรรมการอำเภอขุขันธ์ ให้ชื่อ
โรงเรียนประชาบาลตำบลหัวเสือ (วัดบ้านสวงษ์) อาศัยศาลากุฏิวัดบ้านสวงษ์ เป็นสถานที่เล่าเรียน เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมประถมถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 รวม 3 ชั้นแล้วขยายเพิ่มเป็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 4 ในปีต่อมาตามลำดับ แรกตั้งมีนักเรียนชายหญิง รวมทั้งสิ้น 120 คน ครู 3 คนคือ
1. นายพรหม ดวงแก้ว ครูใหญ่
2. นายเลียบ ถึงแสง ครู
3. นายโข บุญเพ็ง ครู
โรงเรียนบ้านสวงษ์นี้ได้เปิดทำการสอนเรื่อยมาจนกระทั้งถึงวันที่ 28 เมษายน 2502 เป็นเวลา 20 ปี จึงได้ย้ายสถานที่เรียน จากโรงกฐินวัดบ้านสวงษ์ ไปเรียนอาคารเรียนเอกเทศชั่วคราว สร้างด้วยความร่วมมือและความเสียสละของครู ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 1 หลัง ขนาด 5 ห้อง สิ้นค่าก่อสร้างจำนวนประมาณ 8,000 บาท ในที่ดินของราษฎรที่บริจาคให้ทางราชการเป็นพื้นที่ 30 ไร่ ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน ขณะนั้นมีนายภูมมา จันครา เป็นครูใหญ่
วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2482 นายพรหม ดวงแก้ว ครูใหญ่ ออกจากราชการทางราชการได้แต่งตั้ง นายเตี๊ยบ (จำนรรจ์ พันธ์แก่น) ครูโรงเรียนบ้านหัวเสือ 1 (วัดบ้านหัวเสือ) รับราชการในตำแหน่งครูใหญ่
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 นายเตี๊ยบ พันธ์แก่น ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านห้วยเหนือ (ศรีประชานุกูล) นายสวัสดิ์ สังข์สะนา ครูโรงเรียนบ้านหัวเสือได้รับแต่งตั้งครูรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่และในปีนี้ นายเลียบ ถึงแสง นายโข บุญเพ็ง ได้ลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพอื่น นายภูมมา จันครา และนางสาว สวัสดิ์ พันทะเสน ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูใหญ่และครูในโรงเรียนนี้
วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2485 นายสวัสดิ์ สังข์สะนา ได้ลาออกจากราชการไปศึกษาต่อ นายชู ดวงศรี ได้รับตำแหน่งมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2486 นายภูมมา จันครา ย้ายไปเป็นครูโรงเรียนตำบลหัวเสือ 2 (วัดบ้านสำโรงตาเจ็น) นางสาวสวัสดิ์ พันธะเสน ย้ายไปดำรงตำแหน่งโรงเรียนตำบลใจดี 8 (วัดบ้านระกา) นายจันทร์ คำแสน ครูโรงเรียนบ้านหัวเสือ 2 และนางสาวซิม ไชยมาศ มาเป็นครูโรงเรียนนี้
วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 นายชู ดวงศรี ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านสะเดาใหญ่ 1 นายเขียว ศรีมงคล ย้ายไปโรงเรียนตำบลบ้านห้วยเหนือ 1 นายสิน ถาวร ครูใหญ่โรงเรียนตำบลหัวเสือ 7 (บ้านห่องกำม๊อด) มาเป็นครูใหญ่โรงเรียนนี้
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2497 นายสิน ถาวร ย้ายไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านป่าใต้ และนายวัน ใจมนต์ ย้ายมาเป็นครูใหญ่โรงเรียนนี้

วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2499 นายวัน ใจมนต์ ได้ย้ายไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านกระโพธิ์ช่างหม้อและนายภูมมา จันครา ครูใหญ่โรงเรียนบ้านเริงรมย์ ย้ายมาเป็นครูใหญ่โรงเรียนนี้
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 นายภูมมา จันครา ครูใหญ่ได้ถึงแก่กรรม นายสุข พงษ์วิเศษ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านห้วย ย้ายมารักษาการโรงเรียนนี้
วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2505 นายสมจิต คำแสน ครูใหญ่โรงเรียนบ้านเริงรมย์ ย้ายมาเป็นครูใหญ่โรงเรียนนี้
ทางราชการได้จัดสรรเงินงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียน ป.1 ก. (พื้นเตี้ย) ขนาด 4 ห้องเรียน ราคา 140,000.00 บาท รับมอบเมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2518 และในปี พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ตามลำดับ
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ 2520 รับมอบอาคารหอประชุมที่สร้างด้วยวัสดุที่รื้อถอนอาคารเรียนชั่วคราวและเงินสมทบจากกรรมการ พช.ลต. ตำบลหัวเสือเป็นเงิน 3,000 บาท
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ศก. 04 ขนาด 3 ห้องเรียน และต่อเติมด้านล่าง 3 ห้องเรียน ค่าก่อสร้าง 400,000 บาท (สีแสนบาทถ้วน)
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วม แบบ ศก. 32 ขนาด 5 ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์แบบ ศก. 23 จำนวน 1 หลัง ขนาด 122.5 ตารางเมตร ราคา 104,400 บาท
วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2529 นายบุญศักดิ์ สมพงษ์ นายบุญธรรม บุดดาห์ ส.ต.ท.สุบรรณ สถานพงษ์ และศิษย์เก่าจากกรุงเทพมหานคร ได้นำอุปกรณ์ไฟฟ้าครบชุดมาติดตั้งในอาคารเรียนอาคารประกอบเสร็จเรียบร้อยมอบให้เป็นสมบัติของโรงเรียนโดยไม่คิดค่าวัสดุและค่าแรงแต่อย่างใด
วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2532 อาจารย์ใหญ่และผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ได้ผ่านการประเมินเลื่อนระดับสูงขึ้น 1 ระดับ คือระดับ 7 และระดับ 6 ตามลำดับ ตามคำสั่ง สปช. ที่ 1753/2532
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2535 โรงเรียนได้รับมอบซุ้มประตูหลวงพ่อจากท่านพระครูปลัดบัวลอย ฐาน.ก.โร รองเจ้าอาวาสวัดกุนนฑีรุทธาราม (ห้วยขวาง) กรุงเทพมหานคร สิ้นค่าก่อสร้าง 20,000 บาท และคณะครู ภารโรงร่วมบริจาค สร้างประตูเหล็กเป็นเงิน 10,000 บาท
วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2535 โรงเรียนได้ก่อสร้างถังเก็บน้ำประปา และวางท่อส่งน้ำประปาภายในโรงเรียนเสร็จเรียบร้อย สิ้นค่าก่อสร้าง 17,696 บาท เป็นเงินบริจาคจากศิษย์เก่าทุกรุ่น
วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2536 โรงเรียนได้รับมอบกลองพาเหรด 1 ชุด ราคา 1,500 บาท จากหลวงพ่อพระครูปิยเขมคุณ เจ้าอาวาสวัดบ้านบิ่ง
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2536 วันนี้โรงเรียนได้รับมอบซุ้มประตูที่ 2 ด้านตะวันตก พร้อมกับประตูเหล็กสิ้นค่าก่อสร้าง 45,000 บาท จากคณะศิษย์เก่า
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2537 นายสมจิต คำแสน อาจารย์ใหญ่ เกษียณอายุราชการ มอบให้นายเมธา จันครา ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนนี้
วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2537 นายกิตติศักดิ์ สมบัติกำไร อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านตรอย ได้รับคำสั่งย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนนี้ตามคำสั่ง สปจ. ศรีสะเกษ 770/2537 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2538 นางกันทิมา และ Mr.Rudi ชาวเยอรมัน พร้อมครอบครัวชาวเยอรมัน ได้นำวัสดุสิ่งของต่างๆคิดเป็นเงิน 5,000 บาท และมอบเงินสดให้โรงเรียนก่อสร้างอ่างที่ที่ดื่มน้ำและแปรงฟัน เป็นเงิน 9,000 บาท โรงเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 โรงเรียนได้รับมอบฐานเสาธง พร้อมเสาธงชาติใหม่ ราคา 10,000 บาท สร้างด้วยเงินบริจาคของนางสุรัตน์ สิงห์น้อยและครอบครัว
วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2539 นายกิตติศักดิ์ สมบัติกำไร อาจารย์ใหญ่ ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านกันจาน และนายศักดิ์ชัย ศรีบุญเรือง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านคลองสุด ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่มาจนถึงปัจจุบัน
วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 โรงเรียนได้จัดงานกตัญญูกตเวที 60 ปี โรงเรียนบ้านสวงษ์ เพื่อหาทุนสร้างอาคาร 60 ปี (ห้องสมุด) โดยได้เชิญนายประสิทธิ์ จันดา มาเป็นประธานในการยกเสาเอก ดำเนินการสร้างจนแล้วเสร็จ สิ้นงบประมาณ 380,000 บาท รับมอบเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
ปีงบประมาณ 2542 โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณ สร้างอาคารเรียน สปช. 105/29 จำนวน 4 ห้อง เรียน ได้ดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2542 ในวงเงินงบประมาณ 1,557,000.00 บาท รับมอบเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2543
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543 คณะศิษย์เก่า โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดงานคืนสู่เหย้า กลับบ้านเรา โรงเรียนเรา เพื่อหาทุนในการปรับปรุงสนามกีฬาและจัดสร้างอาคารกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ มูลค่ารวม 100,000 บาท ทำการมอบให้โรงเรียนเมื่อ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2544
ศิษย์เก่ารุ่นปีการศึกษา 2523 ได้ร่วมพลังของรุ่นจัดสร้างรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กและเหล็กดัดด้านหน้าโรงเรียน ความยาวประมาณ 30 เมตร และได้มอบให้โรงเรียนเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
ปี 2546 โรงเรียนได้จัดทำโครงการผ้าป่าเพื่อการศึกษาได้รับมอบเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 9 เครื่องมูลค่า 180,000.00 บาท ฐานเชื่อมเสาธง มูลค่า 50,000.00 บาท ศาลาอเนกประสงค์บ้านบก บ้านตาทึง
มูลค่า 2.0,000.00 บาท ผอ.ศักดิ์ชัย ครูทิพย์วัลย์ ศรีบุญเรือง สร้างศาลาบ้านสวงษ์ มูลค่า 10,000.00 บาท ศิษย์เก่ารุ่น 2523 สร้างศาลาบ้านภูมิสวงษ์มูลค่า 10,000.00 บาท คุณแม่พิมพา บุดดาห์สร้างศาลารวมสุทธิ 280,000.00 บาท (สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) และบ้านอรุณพัฒนา มูลค่า 10,000 บาท
ปี 2547 บุคลากรร่วมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 และ 6 บริจาคแรงงานและทุนทรัพย์มูลค่า20,000.00 บาท เพื่อสร้างลานบัณฑิตน้อยศรีสวงษ์




ปี 2548 บุคลากรได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้างที่แปรงฟันจำนวน 3 จุด มูลค่า 30,000.00 บาท นายเกรียงศักดิ์ จันครา ประธานศิษย์เก่าบริจาคเงินสร้าง 1 จุด มูลค่า 10,000.00 บาท พร้อมนี้มูลนิธิอมิคัส
โดย MR.MATTHEW B.KELLY และ MISS MARY C:WEBB KELLY โดยการประสานงานของคุณชัดติยาพร คำแสน ศิษย์เก่า ได้บริจาคเงินเพื่อสร้างอาคาร AMICAS BANSAWONG COMMUNITY CENTER มูลค่า 740,000.00 บาท (เจ็ดแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) และมอบให้โรงเรียนใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาสืบไป
ปี 2549 เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่งยาวนานที่สุดในโลก โรงเรียนร่วมกับชุมชนได้ร่วมจัดทำโครงการกระทำความดีเพื่อตอบแทนคุณของแผนดินเกิด โดยศิษย์เก่ารุ่น พ.ศ. 2528, 2529 ได้บริจาคเงินเพื่อสร้างป้ายชื่อโรงเรียนพร้อมป้ายสปริงบอร์ด บุคลากรและชุมชนได้ร่วมสร้างรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กรวมจำนวน 76 ช่อง มูลค่ารวม 343,490.00 บาท (สามแสนสี่หมื่นสามพันสี่ร้อยเก้าสิบบาทถ้วน) พร้อมนี้โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสวงษ์พัฒนศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เพื่อให้สอดคล้องกับชุมชนและโรงเรียนที่มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด โรงเรียนได้จัดงานทำบุญตักบาตร รับมอบ และเปิดป้ายชื่อโรงเรียนใหม่
โดยมีนายศักดิ์ชัย ศรีบุญเรือง ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นประธานจัดงาน นายอุดม เหลืองสด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2549

วิสัยทัศน์

“ โรงเรียน น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน ครูนักเรียน หมั่นเพียรการเรียนการสอน”

คำขวัญ

“ศึกษาดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำสามัคคี”

พันธกิจ

1. สนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรได้ศึกษาหาความรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอเป็นแบบอย่างที่ดี
2. สนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. มีวัสดุสื่อที่สอดคล้องและเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4. นักเรียนได้เรียนรู้ตามความถนัดตามความต้องการการอย่างมีความสุข
5. สนับสนุนนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
6. นำภูมิปัญญาท้องถิ่นและชุมชนมามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

เป้าหมาย

1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร้อยละ 76
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ร้อยละ 73
3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 76
4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม ร้อยละ 76
5. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ร้อยละ 77
6. กลุ่มสาระกรเรียนรู้ศิลปะ ร้อยละ 80
7. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ร้อยละ 80
8. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ร้อยละ 65
9. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ร้อยละ 80

อักษรย่อ

ศ.ว.พ.

ปรัชญา

“นตถิ ปญญา สมาอาภา”
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี มีความหมายว่าปัญญาความรู้เสมือนหนึ่งดวงประทีปที่จะส่องทางให้ชีวิตก้าวสู่ความสำเร็จ โรงเรียนสวงษ์พัฒนาจึงได้ม่งมั่นสร้างสรรค์เยาวชนของชาติ ให้เป็นผู้ถึงความพร้อมด้วยปัญญา ความรู้ พร้อมที่จะเผชิญกับชีวิต