ข้อมูลบ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง

มู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทบ้านโคกโก่ง(Pu Thai Cultural Village,Ban Khok Kong)




\"โคกโก่งถิ่นผู้ไท ใสสดน้ำตกตาดสูง ท้องทุ่งทิวเขางาม
นามระบือผานกนางแอ่น ดินแดนแห่งผู้สาวซับ\"

ตั้งอยู่ที่บ้านโคกโก่ง ตำบลกุดหว้า เชิงเขาภูพานที่ทอดยาวจากอีสานเหนือลงมาทางใต้ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 78 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอกุฉินารายณ์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 19 กิโลเมตร แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2042 สายกุฉินารายณ์- มุกดาหาร (เส้นทางประตูอินโดจีน) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 52 ที่บ้านนาสคร้า เลี้ยวซ้ายไปตามถนนลาดยางเข้าหมู่บ้านระยะทาง 3 กิโลเมตร เป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากเมืองน้ำน้อยอ้อยหนู ในแคว้นสิบสองจุไท เคลื่อนย้ายผ่านเวียดนามและลาว ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ทางอีสานของไทยที่ยังดำรงชีวิตใน แบบดั้งเดิมรักษาวัฒนธรรมของบรรพบุรุษไว้อย่างเต็มรูปแบบ เป็นหมู่บ้านชาวภูไทที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานเป็นเวลานานร่วมร้อยปี หมู่บ้านอยู่ท่ามกลางภูเขาล้อมรอบสามด้าน ชาวบ้านดำรงชีพด้วยการพึ่งพาธรรมชาติ ยึดมั่นในประเพณีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

ใน ปี พ.ศ.2541 จังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ จัดตั้งโครงการวัฒนธรรมไทยสู้ภัยเศรษฐกิจ และในปีเดียวกันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งบ้านโคกโก่งเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมภูไท มีการนำรูปแบบ Home Stay เข้าไปในชุมชน และมีการประชาสัมพันธ์ออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปพักแรมเป็นจำนวนมาก ชาวผู้ไทยบ้านโคกโก่งนี้ เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กจำนวน 130 หลังคา มีประชากรประมาณ 600 คน พร้อมใจกันเปิดเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ในปี 2543 หมู่บ้านวัฒนธรรมภูไทยบ้านโคกโก่งได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเมืองและชุมชนในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ครั้งที่ 3 ประจำปี 2543 (Thailand Tourism Awords2000)ได้รับรางวัลชนะเลิศหมู่บ้านวัฒนธรรมดีเด่นแบบ ‘โฮมสเตย์ ‘ (HomeStay) คือ การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นแหล่งถ่ายทอดศิลปะวัฒนธรรมภูไทและสัมผัสวิถีชีวิตของชาวภูไทยรวมไปถึง การพักผ่อนในบรรยากาศป่าเขาลำเนาไพร อากาศที่บริสุทธิ์ ร่มรื่น ชนบทที่มีแต่ความยิ้มแย้ม แจ่มใส

กิจกรรม ที่จะได้สัมผัส ได้แก่ การต้อนรับอย่างอบอุ่นตามประเพณีชาวภูไท ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ การรับประทานอาหาร พื้นบ้านแบบพาแลง มีแกงอ่อมหวาย หมกเห็ด ซุปหน่อไม้ ไข่มดแดง แกงผักหวาน แมลงต่างๆหมุนเวียนไปตามฤดูกาล พร้อมทั้งชมศิลปะ การแสดงดนตรีพื้นบ้าน ฟังเสียงปี่ผู้ไท ซอไม้ ไผ่ พิณ แคน กลองตุ้ม ชวนเพลิดเพลินกับลีลาฟ้อนรำที่แปลกตา ท่วงทำนองและภาษาที่แปลก หู ชมการผลิตสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน การทอผ้า จักสานไม้ไผ่ นอก จากนี้ยังมีกิจกรรมการเดินชมป่าเขาลำเนาไพร ถ้ำ น้ำตก ศึกษาพันธุ์ไม้ หายากและพืชสมุนไพรท้องถิ่นที่ยังคงมีอยู่มากมายในวนอุทยานภูผาวัว ด้านเหนือของหมู่บ้านอีกด้วย



18/10/2558