ประวัติ

โรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่ 166 ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2511 โดยนิสิตอาสาสมัครจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเจ้าหน้าที่ที่ให้ความร่วมมือคือ กอ.ปค.จ.น่าน คณะครูในโรงเรียนศิลาแลง เจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์ นายอำเภอปัว ส.ช.ศค.32 ได้ร่วมกันปลูกสร้างอาคารเรียนชั่วคราว เพื่อใช้เป็นที่อบรมสั่งสอนเด็กชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่อพยพมาอยู่หมู่บ้านป่ากลาง มีชาวเขาเผ่าม้ง เผ่าอิ้วเมี่ยน (เย้า) ได้ทำการเปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 มีนายสมบัติ สุทธิแสน ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และได้ทำการเปิดป้ายโรงเรียนโดยเรียกชื่อว่า “โรงเรียนประชาสงเคราะห์ 1 บ้านป่ากลาง ”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้โอนเข้าสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดและได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนบ้านป่ากลาง ” และในปี พ.ศ. 2517 นายสุกิจ จุลละนันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านพร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษามิตรภาพ นำโดย พันเอกกาญจนะ จันทรางกุล (เลขาธิการมูลนิธิฝ่ายไทย ) และพันตรีเอ็ดวารต์ พีบริงแมน (เลขาธิการมูลนิธิฝ่ายอเมริกัน) นายวัชรินทร์ นันทชัย หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดน่าน นายอำเภอปัว หัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอปัว ผู้แทนฐานบินน่าน ได้ร่วมกันจัดหาทุนก่อสร้างอาคารเรียนโดยการกระโดดร่มดิ่งพสุธา เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2517 แล้วจึงสร้างอาคารเรียนแบบกรมสามัญ 017 ขนาด 4 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง มูลค่า 302,480 บาท และได้เปลี่ยนชื่อของโรงเรียนเป็น “โรงเรียนบ้านป่ากลางมิตรภาพที่ 166” จากนั้นเมื่อปีพุทธศักราช 2550 นายเชิด กะรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่ 166” ในปัจจุบันมี นายสมพร อ่อนสุวรรณ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน ( VISION )

มีสิ่งแวดล้อมสวยงาม สืบสานประเพณี นักเรียนเก่ง ดี มีสุข โรงเรียนมุ่งสู่มาตรฐาน ประสานงานกับชุมชน ครูทุกคนมืออาชีพ

พันธกิจ

พันธกิจของโรงเรียน ( MISSIONS)
1.การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ให้กับประชากรวัยเรียนในเขตบริการอย่างทั่วถึงเสมอภาค และมีคุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน
2.ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
3.จัดการเรียนการสอนที่หลากหลายทั้งในโรงเรียน / ท้องถิ่น / ชุมชน
4.ส่งเสริมบุคลิกภาพของนักเรียนตามศักยภาพ
5.ส่งเสริมพัฒนา นักเรียนทั้งทางร่างกายและจิตใจ
6.ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมมาในการจัดการศึกษา

เป้าหมาย

เป้าประสงค์ของโรงเรียน (GOLES)
1. โรงเรียนได้ตามเกณฑ์มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่สมบูรณ์
3. โรงเรียนมีสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม ร่มรื่น เอื้อต่อการเรียน
4. นักเรียนมีวินัยในตนเองและสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
5. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
6. ครูทุกคนเป็นครูมืออาชีพ

อักษรย่อ

ปก.