ประวัติ

โรงเรียนบ้านดงเสลา สาชาบ้านไผ่สีทอง เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2530 มีนักเรียน 44 คน โดยมีนายเสกสันต์ วังก่ม เป็นครูคนแรก และ โรงเรียนบ้านดงเสลา สาขาบ้านไผ่สีทอง ได้รับการอนุมัติให้เป้นโรงเรียนเอกเทศ เป็นโรงเรียนบ้านไผ่สีทอง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2537 โดยแต่งตั้งให้นายเสกสันต์ วังกุ่ม ดำรงตำแหน่ง รักษาการในตำแหน่ง ครูใหญ่ โรงเรียนบ้านไผ่สีทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น ป.๑ – ป.๔ มีนักเรียนทั้งหมด ๔๔ คน ได้ความอนุเคราะห์จากผู้ใหญ่เล็ก ไผ่แสงทอง ได้บริจาคที่ดิน จำนวน ๒๐ ไร่ ให้เป็นสถานที่ราชการ พร้อมทั้งได้นำประชาชนในหมู่บ้านช่วยกันสร้างอาคารเรียน ชั่วคราวให้ ๑ หลัง โดยเป็นสาขาของโรงเรียนบ้านดงเสลา และต่อมาเมื่อ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ทางคณะนิสิต นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ได้มาออกค่ายอาสาพัฒนา ปรับปรุงอาคารเรียนชั่วคราวโดยการเทพื้นคอนกรีตให้และ
พ.ศ. ๒๕๓๒ ทางชมรมเลือดสุพรรณจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ออกค่ายอาสาพัฒนาโดยจัดทอดผ้าป่าการศึกษา สร้างอาคารเรียนให้ ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ๑๐๑/๒๖ ของ สปช. ๑ หลัง ในปีงบประมาณ ๒๕๓๔ ได้งบสร้างแทงค์น้ำ แบบ ฝ.๓๐ (พิเศษ)
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้งบสร้างห้องสุขา แบบ สปช. ๑๐๑/๒๖ ๔ ที่นั่ง
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้งบประมาณสร้างห้องเอนกประสงค์จากคณะนิสิตลาดกระบังมหิดล
วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ โรงเรียนบ้านไผ่สีทองได้รับการแต่งตั้งเป็นโรงเรียนเอกเทศ

วิสัยทัศน์

จัดการศึกษาได้มาตรฐาน พัฒนาวิชาการด้วยเทคโนโลยี มุ่งสร้างศรัทธาที่ดีต่อชุมชน

คำขวัญ

ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย

พันธกิจ

1) จัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบูรณาการคุณธรรม เศรษฐกิจพอเพียง วิจัยในชั้นเรียน และเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ (กลยุทธ์ 1)
2) จัดการเรียนรู้ให้ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาอย่างทั่งถึงโดยประสานความร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่น (กลยุทธ์ 2)
3) ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการเป็นไปตามวัยได้มาตรฐานการศึกษา (กลยุทธ์ 3)
4) จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ตามมาตรฐานของการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กลยุทธ์ 3)

5) ส่งเสริมการบริหาร มีการวางระบบ และกลไกที่ดีในจัดการศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (กลยุทธ์ 4)
6) ส่งเสริมให้มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ (กลยุทธ์ 5)
7) พัฒนาผู้เรียนโดยใช้นวัตกรรมด้านกระบวนการอ่าน เขียนและคิดวิเคราะห์ (กลยุทธ์ 6)

เป้าหมาย

5.1 จัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบูรณาการคุณธรรม เศรษฐกิจพอเพียง วิจัยในชั้นเรียน และเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ
- ครูจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 100 %
- ครูจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการคุณธรรม เศรษฐกิจพอเพียง และเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ 100 % อย่างน้อยปีละ 1 แผนการจัดการเรียนรู้
- ครูจัดการเรียนรู้ และพัฒนาการเรียนการสอนโดยทำวิจัยทางการศึกษา อย่างน้อยปีละ 1 รายวิชา
5.2 จัดการเรียนรู้ให้ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาอย่างทั่งถึงโดยประสานความร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่น
- ประชากรวัยเรียน ร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาอย่างทั่งถึง
5.3 ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการเป็นไปตามวัยได้มาตรฐานการศึกษา
- ผู้เรียน ร้อยละ 95 มีพัฒนาการเป็นไปตามวัยได้มาตรฐานการศึกษา
5.4 จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ตามมาตรฐานของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ผู้เรียนช่วงขั้นที่ 1 (ป. 1-3) ร้อยละ 70 มีความรู้ตามมาตรฐานของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ผู้เรียนช่วงขั้นที่ 2 (ป. 4-6) ร้อยละ 68 มีความรู้ตามมาตรฐานของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.5 ส่งเสริมการบริหาร มีการวางระบบ และกลไกที่ดีในจัดการศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
- โรงเรียนมีเอกสาร คู่การดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ร้อยละ 76
5.6 ส่งเสริมให้มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ
- โรงเรียนมีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ และเผยแพร่ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100
5.7 พัฒนาผู้เรียนโดยใช้นวัตกรรมด้านกระบวนการอ่าน เขียนและคิดวิเคราะห์
- ผู้เรียนร้อยละ 65 มีความสามารถในด้านการอ่าน
- ผู้เรียนร้อยละ 60 มีความสามารถในด้านการเขียน
- ผู้เรียนร้อยละ 53 มีความสามารถในด้านคิดวิเคราะห์

อักษรย่อ

บสท.