ประวัติ

ประวัติโรงเรียนบ้านดอนแก้ว
โรงเรียนบ้านดอนแก้ว ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2485 ให้ชื่อว่า โรงเรียนบ้านดอนแก้ว ตำบลกุมภวาปี(ตูมใต้)อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ดำรงอยู่ได้ด้วยงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ
ความเป็นมาเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กนักเรียนในหมู่บ้านนี้ เดิมเด็กนักเรียนในหมู่บ้านนี้ ไปเรียน ที่โรงเรียนวัดศรีนคราราม บ้านดงเมือง ตำบลตูมใต้ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
ผู้ปกครองได้มองเห็นความลำบากของลูกหลาน ที่ต้องเดินทางข้ามลำน้ำปาวทางเรือ ไปเรียนหนังสือ เพราะไม่มีถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านดงเมือง กับหมู่บ้านดอนแก้ว หมู่บ้านจึงได้ขอแยกโรงเรียน จากโรงเรียนวัดศรีนคราราม บ้านดงเมือง มาเรียนที่โรงเรียนบ้านดอนแก้ว โดยอาศัยศาลาวัดมหาธาตุเจดีย์บ้านดอนแก้ว เป็นสถานที่เรียน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2485 เปิดสอนตั้งแต่ ชั้น ป. 1 - 4 มี นายใส ใสสะอาด เป็นครูใหญ่ และนายจันทร์ บุตตะโยธี เป็นครูสายผู้สอน
สำหรับที่ดินก่อสร้างอาคารเรียนปัจจุบัน คุณนายฉิม สีหอำไพ เป็นผู้บริจาคให้เมื่อปี พ.ศ. 2507 เนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ 3 งานเศษ คิดเป็นเงินประมาณ 11,300 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสามร้อยบาท ) นำขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุแปลงหมายเลข อด. 1815
ต่อมาทางราชการได้จัดสร้างอาคารเรียนเป็นเอกเทศให้ 1 หลัง แบบ ป. 1 ซ พิเศษ ขนาด 3 ห้องเรียน กว้าง 8 เมตร ยาว 24 เมตร เนื้อที่ 276 ตารางเมตร งบประมาณ 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) และได้ย้ายจากศาลาการเปรียญวัดมหาธาตุเจดีย์ มาเรียนที่อาคารเรียนหลังใหม่ เมื่อ วันที่ 28 สิงหาคม 2508 จนถึงปัจจุบัน

วิสัยทัศน์

ภายในปี 2553
โรงเรียนบ้านดอนแก้ว
เป็นโรงเรียนระบบดี
มีคุณภาพตามมาตรฐาน

พันธกิจ

1.ส่งเสริมสนับสนุนและจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ประชากรวัยเรียนในเขตบริการอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
2.ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีคุณธรรมนำความรู้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและมีคุณภาพตามมาตรฐาน
3.จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
4.จัดระบบกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
5.พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ
6.ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาครูและบุคลากรในโรงเรียนให้มีสมรรถนะและมีคุณภาพตามมาตรฐาน
7.พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้สะอาด ร่มรื่น สวยสวย และเอื้อต่อการเรียนรู้
8.ประสานความร่วมมือกับชุมชน องค์กรและหน่วยงานอื่น ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
9.จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและการเรียนรู้
10.จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

เป้าหมาย

1.ประชากรวัยเรียนทุกคนในเขตบริการของโรงเรียน ได้รับรับการศึกษาระดับปฐมวัยและการศึกษาภาคบังคับ
2.นักเรียนทุกคนอ่านออก อ่านได้และอ่านคล่อง ได้อย่างเหมาะสมกับระดับชั้น
3.พัฒนานักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ด้านการอ่าน เขียน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ด้วยรูปแบบ วิธีการที่เหมาะสม
4.นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานการศึกษาเพื่อรองรับการประเมินภายนอก
5.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาโดยเฉลี่ย ร้อยละ 60 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือระดับชาติ โดยเฉลี่ย ร้อยละ 50
6.พัฒนาครูทุกคนให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดแบบต่างๆ และพัฒนานวัตกรรมในการแก้ปัญหาคุณภาพนักเรียน
7.โรงเรียนบริหารจัดการโดยยึดโรงเรียนเป็นฐาน ใช้หลักธรรมาภิบาล ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารและการเรียนรู้ และนำระบบ ToPSTAR มาใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา
8.ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่นที่บูรณาการ หลักคุณธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
9.มีการระดมทรัพยากรจากชุมชน องค์กร หน่วยงานต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
10.ประชาชน ผู้นำชุมชน ท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโรงเรียน
11.โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมสะอาด ร่มรื่น สวยสวย และเอื้อต่อการเรียนรู้
12.โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่กการบริหารและการจัดการเรียนรู้

อักษรย่อ

ด.ก.

ปรัชญา

ประพฤติดี มีวินัย ใฝ่ศึกษา พัฒนาประชาธิปไตย