ประวัติ

การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
รัฐบาลมีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็นกลยุทธ์หนึ่ง ในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
โดยมีโรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และศูนย์กลางของการพัฒนาสุขภาพอนามัย ภายใต้ความตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการพัฒนาที่อาศัยความสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ ระหว่างนักเรียนกับครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆในพื้นที่
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ให้โรงเรียนได้ดำเนินงานในการพัฒนาสุขภาพนักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ทุกคนในโรงเรียนรวมทั้งสมาชิกในชุมชนได้รับความรู้ ปลูกฝังทัศนคติและสร้างเสริมทักษะที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและยั่งยืน

แนวคิดในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
1โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพคืออะไร
องค์การอนามัยโลก(WHO )ได้ให้คำจำกัดความของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดังนี้
“ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพคือโรงเรียนที่มีขีดความสามารถแข็งแกร่ง มั่นคง ที่จะเป็นสถานที่ที่มี
สุขภาพอนามัยที่ดี เพื่อการอาศัย ศึกษาและทำงาน(A healt promoting school is a school constanly strengthening its capacity as a healty setting for living learning and woring)
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ให้คำจำกัดความของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดังนี้ “โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพคือ โรงเรียนที่มีความร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาพฤติกรรม และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการมีสุขภาพดีของทุกคนในโรงเรียน”
2 การพัฒนาคนในยุคโลกาภิวัฒน์
การพัฒนานาคนซึ่งหมายถึง การพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะของคนให้มีพื้นฐานในการคิด เรียนรู้ และทักษะในการจัดการและการดำรงชีวิต สามารถเผชิญกับปัญหาสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยส่งเสริมให้คนได้รับการพัฒนาทั้งด้านสติปัญญา กระบวนการเรียนรู้ และทักษะความรับผิดชอบต่อตนเอง รวมทั้งเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติได้
3 กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาคน
เด็กวัยเรียนและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาที่สำคัญยิ่งกลุ่มหนึ่ง ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในปีเด็กสากล พุทธศักราช 2522 ดังนี้ “เด็กเป็นผู้ที่รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างจากผู้ใหญ่ รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในการธำรงรักษาความสงบสุขของประชากรโลก”
4 สิทธิเด็กที่จะได้รับการคุ้มครอง
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การสหประชาชาติ(UNConventiont on the right of the child)
ซึ่งประเทศไทยลงนามและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2535 มีสาระสำคัญที่มุ่งคุ้มครองสิทธิเด็ก4 ประการ ได้แก่
1 สิทธิในการอยู่รอด(Serval right)
2 สิทธิในการปกป้องคุ้มครอง (Protection right)
3 สิทธิในการพัฒนา (Delvelopment right)
4 สิทธิในการมีส่วนร่วม( Participation right)
ซึ่งการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพจะนำไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

สภาพปัจจุบันปัญหาของเด็กและเยาวชน
สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้วิถีชิวิตของเด็กนักเรียนและเยาวชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งอิทธิพลที่ไม่เหมาะสม จากการที่มีค่านิยมและวัฒนธรรมตามกระแสสังคมตะวันตก ที่นำไปสู่ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตัวเด็กและเยาวชน ครอบครัว สังคม ภายในและภายนอกโรงเรียน เช่นปัญหายาเสพติด ปัญหาเอดส์ ปัญหาสุขภาพ เด็กขาดคุณธรรมจริยธรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ฯลฯจากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาในด้านเศรษฐกิจ และสังคม
การพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านการศึกษาและสุขภาพ ให้บรรลุตามความมุ่งหมายและหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตร 6 กล่าวว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาเด็กไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ ภูมิปัญญาความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
สุขภาพกับการศึกษา
สุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไปให้เกิดการประสานเอื้ออำนวยประโยชน์และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่เด็กนักเรียน โดยมีแนวทางในการพัฒนาเด็กวัยเรียนและเยาวชนมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้นในเชิงยุทธศาสตร์และเชิงเป้าหมาย โดยเฉพาะ 2 มิติสำคัญของนโยบายชาติ
1การปฏิรูปการศึกษา “การประกันคุณภาพการศึกษา”ในด้านกระบวนการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานกระบวนการจัดการศึกษาในปรัชญาหลัก 3 ประการคือ
1.1การศึกษาเพื่อปวงชน(Education for All)
1.2 การศึกษาตลอดชีวิต(All of Education)
1.3 การศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งมวล (Education for Problems)
2 การปฏิรูประบบสุขภาพ “การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน โดยกระบวนการจัดการด้านสุขภาพในปรัชญาหลัก 3 ประการคือ
2.1สุขภาพเพื่อปวงชน (Health for All)
2.2 สุขภาพเพื่อชีวิต(All of Health )
2.3 สุขภาพเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งมวล (Health for Problems)
การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่การจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ นั้นให้โรงเรียนเป็น
แกนนำหรือศูนย์กลางการสร้างสุขภาพพร้อมๆกับการพัฒนาศึกษา โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน องค์กรในท้องถิ่น ซึ่งเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่มีความสำคัญของการพัฒนา เด็ก
ประโยชน์ที่ได้จากการเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
1นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
2โรงเรียนได้รับประโยชน์จากผู้ปกครองและองค์กรต่างๆที่มีส่วนร่วมในการระดมความคิด ระดมทรัพยากร และปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในการพัฒนาโรงเรียน อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3ผู้ปกครองและสมาชิกของชุมชนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย เพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดทักษะการดูแลสุขภาพที่ทันสมัย
4ชุมชน สังคม และประเทศชาติจะพัฒนาก้าวไกลโดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งเมื่อประชากรมีการศึกษาและสุขภาพที่ดี
เป้าหมายสูงสุดคือภาพลักษณ์ของเด็กนักเรียนและเยาวชนไทย เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข อันเป็นความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุถึงปรัชญาการพัฒนาคน อย่างแท้จริง
ขั้นตอนในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน โดยคณะครูและนักเรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี และความจำเป็นในการสร้างสุขภาพที่ถูกต้องตั้งแต่เด็ก รวมทั้งให้
โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาความเป็นอยู่อย่างมีสุขภาพที่ดีของทุกคนในโรงเรียน ชุมชน
โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้
1ประชุมคณะครู
เพื่อชี้แจงในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยชี้ให้คณะครูได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการดำเนินงานสร้างสุขภาพให้กับบุคลากรในโรงเรียน
2จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
โรงเรียนได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ขึ้นมาชุดหนึ่ง ที่มีความสนใจงานส่งเสริมสุขภาพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนและชุมชน ซึ่งประกอบไปด้วย ครู นักเรียน
ผู้ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้คณะกรรมการดังกล่าวหาแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
3 มอบหมายงานการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
เพื่อให้การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ให้บรรลุเจตนารมย์ของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จึงได้มอบหมายงานให้คณะครูรับผิดชอบในการดำเนินงาน ตามองค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
จำนวน 10 องค์ประกอบ คือ
3.1ด้านนโยบายของโรงเรียน
3.2 ด้านการบริหารจัดการในโรงเรียน
3.3 ด้านโครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน
3.4 ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ
3.5 ด้านบริการอนามัย
3.6 ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน
3.7 ด้านการโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย
3.8 ด้านการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ
3.9 ด้านการให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม
3.10 ด้านการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน
4การวิเคราะห์สถานการณ์
คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน ดำเนินการสำรวจสถานการณ์ด้านสุขภาพของโรงเรียนและชุมชน เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเกี่ยวกับโรค ปัญหาสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพ สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ กฎหมายและทรัพยากรในชุมชนที่เอื้อต่อสุขภาพ
5 กำหนดแผนในการดำเนินงาน
คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน นำผลการวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพของโรงเรียนและชุมชน มาร่วมระดมความคิดในการกำหนดประเด็นในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในโรงเรียน ชุมชน
6จัดทำแผนปฏิบัติการ
คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน ได้กำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้สอดคล้องกับปัญหา เป้าหมายในการดำเนินงาน กิจกรรม ตัวชี้วัดในการติดตามประเมินผล การประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
7กำกับ ติดตามและประเมินผล
คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน มีการกำกับ ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน โดยการประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการประเมินผลการดำเนินงาน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ปรับแผนงานในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
นโยบายของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
1 สนับสนุนและสนองต่อนโยบายการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนของ
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จังหวัด และกระทรวงสาธารณสุข
2 สนับสนุนและส่งเสริมให้ครูที่รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน เข้ารับการ ประชุม อบรม สัมมนา ของหน่วยงานสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนางานอนามัยในโรงเรียน
3 จัดให้มีห้องพยาบาลและเวชภัณฑ์ สำหรับการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ให้แก่บุคลากรใน
โรงเรียนอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
4ในห้องพยาบาลจัดให้มีเตียงนอนสำหรับผู้ป่วย มีตู้เก็บยา และเวชภัณฑ์ ตลอดจนเครื่องชั่ง
น้ำหนัก วัดส่วนสูง และเอกสาร แผ่นพับ เพื่อเผยแพร่ข่าวสารการดูแลรักษาสุขภาพให้บุคลากรได้ศึกษา
5 ส่งเสริมและสนับสนุน ให้ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศิษย์เก่า เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านารส่งเสริมสุขภาพอนามัยของโรงเรียน
6 ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเข้ารับการอบรม ประชุม สัมมนา ตามที่หน่วยงาน องค์กรต่างๆจัดขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการดูแลรักษาสุขภาพด้วยตนเองได้
7 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ มีการดำเนินงานจัดกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัยของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เช่นการตรวจสุขภาพนักเรียน การให้ภูมิคุ้มกันโรค การจัดนิทรรศการให้ความรู้แก่นักเรียนฯลฯ
8 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีคณะกรรมการดำเนินงานด้านสุขภาพอนามัยในโรงเรียนและให้มีการประชุม ปรึกษาหารือ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของโรงเรียนอย่างมี
ประสิทธิภาพ
9 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในโรงเรียนได้ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ให้ถูกหลักสุขาภิบาล เอื้อต่อการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ เช่นน้ำดื่ม น้ำใช้ การใช้ห้องน้ำห้องส้วมฯลฯ
10 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้ให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพและการ
ป้องกัน โดยการชี้แจงหน้าเสาธงชาติของครูเวรประจำวัน ครูประจำชั้น และสอดแทรกเนื้อหาในการเรียนการสอนในห้องเรียนในบทเรียนเช่นการป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษ ฯลฯ
11 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในโรงเรียน ได้ร่วมกันป้องกันสารเสพติดในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
12 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูเป็นตัวอย่างที่ดีในการประพฤติปฏิบัติในด้านการรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
13 จัดให้มีการบริการด้านอนามัยเบื้องตนแก่นักเรียน ได้แก่การบันทึกในบัตรสุขภาพประจำตัวนักเรียน การเฝ้าระวังด้านโภชนาการ และการส่งต่อนักเรียนที่มีปัญาหาด้านสุขภาพไปยังสถานีอนามัยตำบลป่าแดง เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
14 ให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันฟรีทุกคน ทุกวัน อย่างถูกหลักโภชนาการโดยมีครูอาหารกลางวันคอยดูแลเอาใจใส่อย่างสม่เสมอ
15ให้ครูอนามัย ครูประจำชั้นได้ติดตามผลการรักษา และเยี่ยมบ้านในกรณีที่เด็กป่วย

วิสัยทัศน์

เน้นคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานวัฒนธรรมไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมพลานามัย ใช้เทคโนโลยี

คำขวัญ

“ชูคูณธรรม นำสิ่งแวดล้อม พร้อมพลานามัย
ก้าวไกลวิชาการ สืบสานวัฒนธรรมไทย”

พันธกิจ

พันธกิจ
1.จัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร
2.พัฒนาระบบบริหารจัดการ ให้สนองต่อภาวะงาน
3.พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง
4.จัดหา สื่อ เครื่องมือ วัสดุ สื่อการสอนให้เพียงพอ
5.พัฒนาการเรียนรู้
6.พัฒนาอาคารสถานที่ให้เอื่อต่อการเรียนการสอน
7.พัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.จัดสวัสดิการ สร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากร

เป้าหมาย

เป้าประสงค์
1.โรงเรียนมีระบบบริหารและจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
2.โรงเรียนมีมาตรฐานด้านผู้เรียน ปัจจัย กระบวนการตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่สมบูรณ์ มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

อักษรย่อ

ป.ด.

ปรัชญา

โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
องค์การอนามัยโลก(WHO )ได้ให้คำจำกัดความของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดังนี้
“ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพคือโรงเรียนที่มีขีดความสามารถแข็งแกร่ง มั่นคง ที่จะเป็นสถานที่ที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี เพื่อการอาศัย ศึกษาและทำงาน