ประวัติ

ประวัติโรงเรียนวัดสองพี่น้อง สำนักงานเขตพื้นที่สุราษฎร์ธานี เขต ๒
โรงเรียนวัดสองพี่น้อง ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ ๑ บ้านสองพี่น้อง ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ติดกับทางหลวงแผ่นดินสายสุราษฎร์-ตะกั่วป่า กิโลเมตรที่ ๘๒
จัดตั้งขึ้น เมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๗๙ เป็นโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนประชาบาลตำบลคลองศก ๑ (วัดสองพี่น้อง)” ราษฎรสมัยนั้นร่วมกันบริจาคทรัพย์และแรงงาน สร้างอาคารชั่วคราวหลังคามุงจาก กั้นฝาขัดแตะ พื้นดินถม โครงสร้างเป็นไม้กำมะลอ ขนาด ๑ ห้องเรียน เปิดบริการให้การศึกษาในชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๑ มีนักเรียน ๕๐ คน ในวันเปิดเรียนครั้งแรกได้มีบุคคลสำคัญมาร่วมในพิธี อาทิ ขุนพนมชนารักษ์ (พรัด เพชรพริ้ม) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอพนม เป็นประธาน นายยิ่น ถิ่นคีรี สารวัตรศึกษากิ่งอำเภอพนม นายเชิ้ม คงเจริญ, นายแคล้ว จุนดำ กำนันตำบลคลองศก นายดำ ชุ่มอักษร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลคลองศก และชาวบ้านในหมู่บ้านหลายคน มาร่วมในพิธี
ปีการศึกษา ๒๔๗๙ นายม่าน ณ ถลาง เป็นครูใหญ่คนแรก และมีนาย เคลื่อน ทีปะปาลเป็นครูสายการสอน อาคารเรียนใช้งานมาถึง ๓ ปี ชำรุดทางราชการได้จัดสรรงบประมาณเป็นค่าวัสดุและอุปกรณ์ สบทบกับเงินบริจาคของชาวบ้านได้อาคาร ๑ หลัง๑ ห้องเรียน
๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ นายทัศน์ สาริพัฒน์ ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นสายผู้สอน แทนนายเคลื่อม ทีปะปาล ที่ย้ายไปโรงเรียนบ้านป่ากวด ตำบลต้นยวน และรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ จนถึงปีการศึกษา ๒๔๘๗ ได้รับการแต่งตั้งเป็น ครูใหญ่ และนายเคลื่อม ทิพย์เดช ครูสายผู้สอนโรงเรียนบ้านปากแหก(บ้านเบญจา) ย้ายมาเป็นสายผู้สอนอีกตำแหน่งหนึ่ง
ปีการศึกษา ๒๔๙๙ ท่านพระครูวิริยาธิการ (อั้น ฐานะทินโน) เจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง ได้ร่วมมือกับราษฎร ขอรับบริจาคเงิน สมทบกับเงินงบประมาณ ของทางราชการ ๓,๐๐๐ บาท รวมเงินสองประเภท ๘,๐๐๐ บาท สร้างอาคารลักษณะกึ่งถาวร ๑ หลัง กว้าง ๙ เมตร ยาว ๙ เมตร ๑ ห้องเรียน ปีการศึกษา ๒๕๐๙ อาคารชำรุด ท่านเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง ร่วมกับราษฎรในพื้นที่บริจาคเงินและสร้างอาคารขึ้น ๑ หลัง ๑ ห้องเรียน พร้อมกับจัดหาวัสดุมาซ่อมแซมอาคารหลังเดิม
ปีการศึกษา ๒๕๐๙ โรงเรียนถูกโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา ๒๕๑๐ ได้รับจัดสรรงบประมาณ ๗๐,๐๐๐ บาท ก่อสร้างอาคารเรียนถาวร แบบ ป.๑ก ขนาด ๓ ห้องเรียน และ ย้ายนักเรียนทั้งหมดมาเรียนอาคารหลังใหม่ เมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๕๑๑ และ ปีการศึกษา ๒๕๑๘ ได้รับงบประมาณ จำนวน ๗๕,๐๐๐ บาท จากสภาตำบลคลองศกให้ต่อเติมอาคารเรียน ๑ ห้องเรียน ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๙ เมตร และโรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕และ ปีการศึกษา ๒๕๒๐ ขยายชั้นเรียนจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗
๑ ตุลาคม ๒๕๒๓ โรงเรียนวัดสองพี่น้องโอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา ๒๕๒๕ ได้รับจัดสรรงบประมาณ ๓๗๕,๐๐๐ บาทก่อสร้างอาคารถาวร แบบ ป.๑ ก ขาด ๓ ห้องเรียน
๓๐ มิถุนายน ๒๕๒๕ นายทัศน์ สาริพัฒน์ ครูใหญ่ลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพสวนตัว นายอมร หนูเนตร รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่
๒๑ ธันวาคม ๒๕๒๕ นายสมพร คงไล่ ครูใหญ่โรงเรียนวัดพนม ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ จนถึงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๒๗ ขอลดตำแหน่งเป็นสายผู้สอน และย้ายไปโรงเรียนบ้านพนม
ปีการศึกษา ๒๕๒๘ นายนอบ ทิพย์เดช ครูใหญ่โรงเรียนบ้านใหญ่ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ จนถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๒๘ นายวิไล ศรีจันทร์ อาจารย์ ๒ ระดับ ๔ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่
๙ สิงหาคม ๒๕๒๙ นายสุเนตร ขจร ครูใหญ่โรงเรียนบ้านจำปาทองได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ อาจารย์ และ ผู้อำนวยการโรงเรียนตามลำดับ และได้ขยายชั้นเรียนระดับก่อนประถมศึกษา มีนักเรียน ๑๙ คน โดยจ้างพี่เลี้ยงจากเงินบริจาคของผู้ปกครอง ปีการศึกษา ๒๕๓๐ ได้รับงบประมาณ ๒๕,๐๐๐ บาท เพื่อต่อเติมบ้านพักครูหลังที่ ๒ โยต่อเติม ด้านล่างและส้วม ปีการศึกษา ๒๕๓๕ ได้รับจัดสรรงบประมาณ ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท สร้างอาคาร แบบ สปช. ๑๐๕/๒๙ ๔ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง ปีการศึกษา ๒๕๓๖ ได้จัดหางบประมาณ ๑๐,๐๐๐ มาต่อเติม อาคารเรียน แบบ สปช ๑๐๕/๒๙ ชั้นล่างได้ ๑ห้องเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๘ ได้รับจัดสรรงบประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อต่อเติมอาคาร แบบ สปช ๑๐๕/๒๙ ชั้นล่างได้ ๒ ห้องเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๕ โรงเรียนได้จัดหาวัสดุโดยการบริจาคจากคณะครู และภารโรง จัดทำป้ายชื่อโรงเรียน สูง ๓.๐๐ เมตร ยาว ๕.๕๐ เมตร
๓๐ กันยายน ๒๕๔๖ นางดาราวรรณ อยู่ไชยา รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ แทนนายสุเนตร ขจร ที่เกษียณอายุราชการ โดยการแต่งตั้งจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗ นายสำราญ วราชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแสนสุข ตำบลคลองชะอุ่น ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสองพี่น้อง
๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ นายปณิธาน เรืองไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลูกเดือน ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสองพี่น้อง แทนนายสำราญ วราชัย ที่ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านช่องไม้งาม อำเภอบ้านตาขุน จนถึง ปัจจุบัน ปัจจุบันโรงเรียนมีสวนยางพาราสาธิต อายุ ๑ ปี จำนวน ๑,๒๐๐ ต้น อาคารเรียน ๒ หลัง อาคารอเนกประสงค์ ๑ หลัง ส้วม ๑ หลัง มีข้าราชการครู ๖ คน ผู้บริหาร ๑ คน ครูพี่เลี้ยงอนุบาล จ้างโดยผู้ปกครอง ๒ คน เปิดเรียน ๘ ห้องเรียน ตั้งแต่ อนุบาลปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ไม่มีภารโรง มีนักเรียนทั้งสิ้น ๑๘๐ คน และมีอนุบาล ๓ ขวบ ของ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองศกมาฝากจัดการศึกษาอยู่ ๑ ห้องเรียน

วิสัยทัศน์

“ภายในปี ๒๕๕๕ โรงเรียนวัดสองพี่น้อง บริหารการจัดการแบบมีส่วนร่วม และใช้โรงเรียนเป็นฐาน จัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ปรัชญา ผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนใฝ่ดี มีปัญญา รักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทย ก้าวทันสากล มีสุนทรียภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา นันทนาการ มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ

พันธกิจ

๑ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
๒ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
๓ พัฒนาทักษะกระบวนการทำงาน
๔ พัฒนาทักษะการคิด
๕ พัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
๖ พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้และเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
๗ ส่งเสริมสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิต
๘ ส่งเสริมสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
๙ พัฒนาประสิทธิภาพการเรียน การสอน
๑๐ พัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
๑๑ พัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๑๒ พัฒนาสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้
๑๓ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ จาก บ ว ร อ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป้าหมาย

๑. ผู้เรียนมีวินัย มีความรับผิดชอบและปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
๒. ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๓. ผู้เรียนที่ทักษะการทำงาน รักการทำงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
๔. ผู้เรียนมีทักษะการคิด เรียนรู้กระบวนการคิด
๕. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้มาตรฐาน
๖. ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
๗. ผู้เรียนมีสุขภาพจิต สุขภาพกาย และสุขนิสัยที่ดี
๘. ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
๙. ผู้เรียนได้รับการประกันประสิทธิภาพและได้รับการประกันคุณภาพ
๑๐. ผู้เรียนได้รับการประกัน โอกาสทางการศึกษา ประกันประสิทธิภาพการบริการ ประกันคุณภาพ
การศึกษา และประกันความปลอดภัย
๑๑. ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามหลักสูตรที่เหมาะสม
๑๒. ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ดี เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม และได้รับบริการที่ดี
๑๓. ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์จากท้องถิ่น

อักษรย่อ

ส.น.

ปรัชญา

“ ใฝ่ดี มีปัญญา รักษาความเป็นไทย ใจเป็นสุข ”