ประวัติ

ประวัติโรงเรียนบ้านเชียงเคี่ยน (คณาราษฎร์บำรุง)

โรงเรียนบ้านเชียงเคี่ยน(คณาราษฎร์บำรุง) ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเชียงเคี่ยน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จัดตั้งครั้งแรกไม่มีหลักฐานปรากฎ โดยใช้สถานที่วัดไชยผาบ ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนประถมศึกษาพิเศษ”
พ.ศ. 2464 ได้ย้ายสถานที่มายังที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบัน มีนายเพิ่ม สวามิภักดิ์ ซึ่งเป็นศึกษาอำเภอเทิงในขณะนั้นเป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์มาสร้างอาคารเรียน และขอแรงราษฎรในตำบลเชียงเคี่ยนและใกล้เคียงมาช่วยและตั้งชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนประชาบาลตำบลเชียงเคี่ยน”
พ.ศ.2465 ทางการแต่งตั้งนายธรรมสิทธิ์ ทะลือชัย ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลตำบลเชียงเคี่ยนและได้ขอความร่วมมือจากราษฎรในตำบลเชียงเคี่ยนพัฒนาโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้าตลอดมา
และทางการได้แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ดังนี้
พ.ศ. 2468 – 2470 นายผาด สุเดชมารค
พ.ศ. 2470 – 2479 นายผาย สายศักดิ์
พ.ศ. 2479 – 2479 นายผล สังญนันท์
พ.ศ. 2479 – 2482 นายชื่น อำมาตย์มณี
พ.ศ. 2482 – 2484 นายจรูญ มหาภาส
พ.ศ. 2484 – 2486 นายทองหล่อ มณีรัตน์
พ.ศ. 2486 – 2491 นายทองอยู่ ธนะสมบัติ
พ.ศ. 2491 – 2497 นายเรือง ชัยเพ็ญ
พ.ศ. 2497 – 2502 นายอิ่นคำ อินทร์ชน
พ.ศ. 2502 นายพรวน แกล้วกล้า มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลตำบลเชียงเคี่ยนและได้มีการเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนประชาบาลเป็น “ โรงเรียนบ้านเชียงเคี่ยน(คณาราษฎร์บำรุง)”จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2508 ทางการได้แต่งตั้งนายสวน ผาบไชย เป็นครูใหญ่ ได้ขอแรงงานจากราษฎรในหมุ่บ้านซ่อมแซมอาคารเดิมซึ่งชำรุดจนใช้ได้ดี ต่อมา
พ.ศ. 2517 นายพรวน แกล้วกล้า ซึ่งดำรงตำแหน่งในขณะนั้นได้ของบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก จำนวน 4 ห้องเรียน เปิดทำการสอนเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2517
พ.ศ. 2540 โรงเรียนและชุมชนร่วมกันจัดหา,จัดสร้างอาคารเรียนเพื่อเป็นห้องเรียนอนุบาล 2ห้องเรียนโดยงบประมาณนอกราชการ
พ.ศ. 2543 นายสมสด ฉายา มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2544 คณะครู –คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองได้ร่วมกันจัดหาทุนสร้างห้องน้ำห้องส้วม จำนวน 4 ห้อง งบประมาณ 31,000 บาท
พ.ศ. 2546 ผู้ปกครองและชุมชนสนับสนุนงบประมาณในการเทถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ หน้าอาคารเรียน เป็นเงิน 27,000 บาท
วันที่ 29 กันยายน 2547 นางศรันยา ประใจ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2547 ได้รับงบประมาณตามโครงการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กเป็นค่าปรับปรุงซ่อมแซมจำนวน 5,000 บาท ได้ปรับปรุงโดยติดลูกกรงเหล็กดัด และทาสีห้องพักครู จำนวน 1 ห้อง
พ.ศ. 2548 ได้มีการปรับปรุงด้านอาคารดังนี้
- ต่อเติมหลังคาอาคารอเนกประสงค์พื้นที่ 54 ตารางเมตร โดยชุมชนร่วมสนับสนุนงบประมาณทั้งสิ้น 28,645 บาท
- ติดฝ้าเพดานห้องอนุบาล ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 20,000 บาท โดยผู้ปกครองระดับอนุบาลและชุมชนสนับสนุนผ้าป่าศิษย์เก่า 13 เมษายน 2548
- สร้างโรงเก็บรถ จำนวน 4 ห้อง คณะครูบริจาค
- ได้รับจัดสรรโทรทัศน์สี จำนวน 6 เครื่อง จานดาวเทียมจำนวน 1 อัน และเครื่องรับสัญญาน
ดาวเทียม จำนวน 6 เครื่อง จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและมูลนิธิการศึกษา
ทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนจากโรงเรียนวังไกลกังวล เมื่อ ตุลาคม 2548
- ชุมชนร่วมบริจาควัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำอัฒจันทร์และชั้นวางทีวี คิดเป็นมูลค่า 18,000 บาท
พ.ศ. 2549 ผู้ปกครองระดับปฐมวัยและคุณครูสมศรี ภู่เจริญ สนับสนุนวัสดุสร้างส้วมสำหรับเด็ก
ปฐมวัยคิดเป็นมูลค่า 14,000 บาท
- ชุมชนร่วมบริจาคปรับปรุงห้องครัว คิดเป็นมูลค่า 8,000 บาท
พ.ศ. 2550 ได้มีการพัฒนาดังนี้
- ปรับปรุงโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน โดยการทาสีอาคารเรียน จำนวน 6 ห้องเรียน และทาสีรั้ว
โรงเรียนงบประมาณจากผ้าป่ากีฬาศูนย์เครือข่าย 15,000 บาท ชุมชนสนับสนุนแรงงาน
- สร้างป้ายชื่อโรงเรียน ใช้งบประมาณ 47,000 บาท จากการจัดผ้าป่าศิษย์เก่า เมษายน 50
- จัดทำโต๊ะรับประทานอาหาร โดยชุมชนสนับสนุนไม้จามจุรี คิดเป็นมูลค่า 6,500 บาท
พ.ศ. 2551 คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน สนับสนุนงบประมาณ และแรงงานในการต่อเติมห้องเรียน ขนาด 6 x 6 เมตร คิดเป็นมูลค่า 85,000 บาท

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านเชียงเคี่ยน(คณาราษฎร์บำรุง) มุ่งจัดการศึกษา เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใต้การบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย

คำขวัญ

รักการเรียน เพียรทำดี มีวินัย ใจซื่อสัตย์

พันธกิจ

1. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นการเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. พัฒนาการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. จัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม
4. บริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
5. จัดกิจกรรมเสริมศักยภาพ ตามความถนัด และความสนใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ

เป้าหมาย

โรงเรียนบ้านเชียงเคี่ยน (คณาราษฎร์บำรุง) ได้จัดการศึกษา ให้เหมาะสมกับสภาพของชุมชน โดยเน้นให้ผู้เรียน
1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม มีความรับผิดชอบ
2.. มีสุขอนามัยที่ดี รักการออกกำลังกาย
3. มีความรู้และทักษะทางวิชาการตามความเหมาะสม

อักษรย่อ

ช.ค.

ปรัชญา


ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ