ประวัติ

ข้อมูลเบื้องต้นของโรงเรียน

โรงเรียนมุสลิมศึกษาเดิมตั้งอยู่ที่มัสยิดมาตอรูซอ (บ้านตาสา) เลขที่ 60 หมู่ที่ 4
ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จัดตั้งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 โดยมี
1.นายหะยียะโก๊ะ สาแม เป็นผู้รับใบอนุญาต
2.นายดอเลาะ ดอมิ เป็นผู้จัดการ
3.นายมาหะมุด หะซั้น เป็นครูใหญ่

2509รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ตามใบอนุญาตที่ 1/2509 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2509
2511เงินอุดหนุนและเงินสมทบทุนจากชาวบ้านเพื่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง ทางราชการได้ส่งครูมาช่วยสอน 1 ท่าน คือ นายสุรินทร์ ยีดิน
2512ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนวิชาศาสนาตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ “การปรับปรุงส่งเสริมปอเนาะเขตการศึกษา 2 ตั้งแต่ศาสนาชั้นปีที่ 1 – 4 และในปีนี้ทางราชการได้ย้ายครูสอนวิชาสามัญไปช่วยที่โรงเรียนพัฒนาวิทยา จึงเป็นเหตุให้การสอนวิชาสามัญต้องยุบไป2523ทางโรงเรียนได้ปรับปรุงและดำเนินการเปิดสอนวิชาสามัญ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521
2524ทางโรงเรียนได้ดำเนินการเปิดสอนวิชาศาสนาและวิชาสามัญ มีนักเรียนทั้งหมด 22 คน เรียนวิชาสามัญ 18 คน ทางราชการได้ส่งครูมาช่วยสอน 1 ท่าน คือ นายสุรินทร์ ยีดิน
2525ทางราชการได้ส่งข้าราชการครูมาช่วยสอนอีก 1 ท่าน คือ นายมารูดิง ยูโซะ และในปีนี้ทางโรงเรียนได้จัดซื้อที่ดินแปลงใหม่ในเนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา อยู่ห่างจากที่เดิมประมาณ 500 เมตร ปีนี้ มีนักเรียน 104 คน เรียนวิชาสามัญ 94 คน
2526ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง และทางราชการได้ส่งข้าราชการครูมาช่วยสอนอีก 1 ท่าน คือ นายอ้วน เจียนบุตร
2528ทางราชการได้สับเปลี่ยนข้าราชการครูโดยได้ย้าย นายสุรินทร์ ยีดิน ไปช่วยสอนที่โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ลำใหม่ และนายอ้วน เจียนบุตร ไปช่วยสอนที่โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ และได้ส่งข้าราชการครูมาแทน 2 ท่าน คือ นายสมาน มูซอ และนายแวแม
แวดือเร๊ะ และได้แต่งตั้งให้ นายมารูดิง ยูโซะ ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าครู
2530โรงเรียนได้รับรางวัลในการประเมินมาตรฐานโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จากสำนักงานศึกษาธิการ เขตการศึกษา 2 และทางราชการได้ส่งข้าราชการครูมาช่วยสอนอีก
1 ท่าน คือ นางอารีรัตน์ อูมา
2531ทางราชการได้ส่งข้าราชการบรรจุใหม่มาสอน 1 ท่าน คือ นางสาวสมจิต แก้วฉิมพลี และทางโรงเรียนได้รับการช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ส่งชมรมนักศึกษาไทยมุสลิมมาออกค่ายอาสาพัฒนาชนบท ได้ช่วยสร้างอาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง ขนาด 7 x 14 เมตร (60,000 บาท) และได้ส่งมอบโรงเรียน วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2531
2532สร้างอาคารร้านสหกรณ์โรงเรียนมุสลิมศึกษา 1 หลัง ขนาด 6 X 7 เพื่อบริการนักเรียน และชุมชน (งบ 53,000 บาท)
2534ทางราชการได้บรรจุข้าราชการครูมาช่วยสอน 1 ท่าน คือ นางจุฑามาศ จันทร์มณี
2535สภาตำบลพร่อนได้รับงบจาก ส.ส. สร้างอาคารเรียน ขนาด 8 X 14 เมตร จำนวน 1 หลัง สร้าง ณ สถานที่แห่งใหม่ ห่างจากอาคารเดิม 500 เมตร (งบ 40,000 บาท)
2538ได้ย้ายมาเรียนที่อาคารใหม่ ที่ทางสภาตำบลมอบให้
2539ฯพณฯ วันมูหัมหมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา มาเป็นประธานเปิดอาคารเรียน และมอบให้ทางโรงเรียนเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540
2540ได้แต่งตั้งผู้จัดการคนใหม่ คือ นายมะรอบี ดือเร๊ะ และทาง อบต. ได้สนับสนุนสร้างอาคารอเนกประสงค์ขนาดกว้าง 5 X 12 เมตร (งบ 252,278 บาท)
2543โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน และนายมารูดิง ยูโซะ หัวหน้าครูได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ณ ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส
2544โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทานเป็นปีที่ 2 และในปีนี้ อบจ. ยะลา ได้มอบอาคารอเนกประสงค์ ขนาด 8 X 12 เมตร จำนวน 1 หลัง (งบ 350,000 บาท)
2545โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทานเป็นปีที่ 3
2546โรงเรียนได้เปลี่ยนสภาพเป็นโรงเรียนมาตรา 15(1) และทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนได้อนุมัติเครื่องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนจำนวน 3 เครื่อง และได้แต่งตั้งผู้รับใบอนุญาตคนใหม่ คือ นายมะปูซี สาแม
2547มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ได้มอบชุดอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จำนวน 6 ชุด อบต.พร่อน สร้างอาคารศาลาบุหลัน 6 X 8 เมตร 1 หลัง งบประมาณ
219, 000 บาท


วิสัยทัศน์

ภายในปี 2553 โรงเรียนมุสลิมศึกษามีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ บุคลากรมีคุณภาพ ร่วมกับชุมชนจัดการศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้ได้มาตรฐาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

คำขวัญ

ศรัทธา ขยัน ร่าเร่ง

พันธกิจ

พันธกิจ

1.ส่งเสริมดูแลนักเรียนให้เป็นคนดี เก่ง มีสุข รู้จักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
2.ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา
3.ส่งเสริมการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมของโรงเรียนทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียนให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
4.พัฒนาระบบการบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สร้างความเข้มแข็ง และทันสมัย เน้นกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และสร้างเครือข่ายให้ฝ่ายกลุ่มสาระการเรียนรู้ และงานต่าง ๆ
5.ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ๆ ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

เป้าหมาย

เป้าหมาย

1.ผู้เรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสถานศึกษาร้อยละ 80
2.ครูได้รับการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
3.โรงเรียนมีแหล่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ
4.โรงเรียนมีระบบการบริหารการจัดการเน้นการมีส่วนร่วมของฝ่ายงาน และกลุ่มสาระการเรียนรู้
5.ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน

อักษรย่อ

อักษรย่อของโรงเรียน
ม.ศ.

ปรัชญา

ปรัชญาโรงเรียน

เทิดทูนศาสนา ใฝ่ศึกษา เน้นการประหยัด

เทิดทูนศาสนา หมายถึง ต้องดำเนินชีวิตอยู่ในกรอบของศาสนาอิสลามเพื่อความเจริญรุ่งเรืองทั้ง ในทางโลกและทางธรรม
ใฝ่ศึกษา หมายถึง ต้องศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาทั้งในระบบและนอกระบบตั้งแต่เกิดจ