ประวัติ

โรงเรียนอนุกูลวิทยา (วัดดอนแก้ว)โรงเรียนโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่เลขที่ 766 ถนนอินทรคีรี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งอยู่บริเวณในวัดดอนแก้ว มีเนื้อที่ 8 ไร่ 1 งาน 18 ตารางวา
ในปีการศึกษา 2550 ได้เปิดสอนโรงเรียนสายสามัญในช่วงชั้นที่ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี 1-3 โดยแยกเปิดสอนโรงเรียนปริยัติธรรม-แผนกธรรมบาลี มีอาคารเรียน 1 หลัง จำนวน 5 ห้องเรียนโดยมีผู้มีจิตศรัทธราบริจาคให้
ในปีการศึกษา 2551 ได้เปิดเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 เพิ่มอีก 1 ห้อง
จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น อาคารเรียนไม่เพียงพอพระครูอนุกูลวรการจึงได้นำอาคารเอนกประสงค์ที่ทรุดโทรมแล้วนำมาบูรณะกั้นเป็นห้องเรียนได้ 3ห้องเรียน นักเรียนที่รับมาร้อยละ 90 รับมาจากโรงเรียน ต.ช.ด.ซึ่งเป็นนักเรียนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาเปิดทำการสอนเวลา 08.30-15.30 นหลักสูตรของโรงเรียนโดยอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ วิชาที่สอนสายสามัญ รับนักเรียนได้ไม่เกิน 400 คน อายุของนักเรียนที่เปิดรับตั้งแต่ 12-16 ปี
ในปีหนึ่งการศึกษา แบ่งภาคเรียนออกเป็นสองภาคเรียนคือ ภาคต้นและภาคปลาย
ปัจจุบันเปิดสอนช่วงชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 ในระดับชั้นประถมศึกษาปี 1-6
มัธยมศึกษา ปีที่ 1 - 3 วันหยุดสัปดาห์ คือ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์
โรงเรียนอนุกูลวิทยา (วัดดอนแก้ว) มีเขตพื้นที่บริการทั้งหมด 5 อำเภอ ของจังหวัดตากดังนี้ อำเภออุ้มผางอำเภอพบพระ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง และจังหวัดใกล้เคียง
ปัจจุบันมี พระครูอนุกูลวรการ เป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ และมี นางขวัญเรือน สุวรรณจันทร์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

วิสัยทัศน์

วินัยเด่น เน้นคุณธรรม นำวิชาการ
ประสานชุมชน หลีกพ้นสิ่งเสพติด

คำขวัญ

มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
นำปัญญา พัฒนาสังคม

พันธกิจ

1.จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 1-3 (ป.1 – ม.3) โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.พัฒนาครูผู้สอนให้สามารถจัดการเรียนสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.พัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และ ค่านิยมที่พึงประสงค์

เป้าหมาย

1. ประชากรในวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงครบทุกคน
2. ผู้เรียนมีจิตสำนึกความเป็นไทย รู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
3. ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
4. มีครูและบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและคุณภาพที่ดีตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
5. สถานศึกษาทุกแห่งได้รับการประกันคุณภาพการศึกษาและผ่านเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน
6. ภาครัฐ เอกชน ชุมชนท้องถิ่นให้การสนับสนุนโดยการระดมทรัพยากร เพื่อจัดการศึกษา
7.ผู้เรียนดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
8.การบริหารจัดการศึกษามีคุณภาพสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ( แก้ไขเพิ่มเติม ) พ.ศ.2545

ปรัชญา

ปัญฺญา ธเนนว เสยฺโย
ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์