ประวัติ

โรงเรียนวัดบ้านพลับ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2482 เดิมชื่อว่า “โรงเรียนประชาบาลสตึก 4” (วัดบ้านพลับ ) โดยอาศัยศาลาวัดบ้านพลับเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน รับเด็กเข้าเรียนในเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติการประถมศึกษาพุทธศักราช 2478 หลักสูตรประถมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ จัดชั้นเรียนแบบสหศึกษาเปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีนายทองคำ นวลมณี เป็นครูใหญ่คนแรก
โรงเรียนวัดบ้านพลับ ตั้งอยู่เลขที่ 22 หมู่ที่ 3 ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ทั้งสิ้น 9 ไร่ 1 งาน 32 ตารางวา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอสตึก ระยะทางจากโรงเรียนถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ระยะทาง 60 กิโลเมตร ปัจจุบันมีข้าราชการครู 10 คน เป็นครูชาย 3 คน ครูหญิง 7 คน นักการภารโรง 1 คน นักเรียนในปีการศึกษา 2549 จำนวน 232 คน มีนายวิรัตน์ พลพา เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
เขตบริการของโรงเรียนมี 3 หมู่บ้าน คือ
1. บ้านโนนมะงา หมู่ที่ 2 มีนายถวิล บุญพันธ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
2. บ้านพลับ หมู่ที่ 3 มีนายบุญทัน เต็มไธสง เป็นผู้ใหญ่บ้าน
3. บ้านบิงน้อยพัฒนา หมู่ที่ 13 มีนายเสงี่ยม คะดีเวียง เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ภาษาที่ใช้คือ ภาษาลาว เขมร ไทย
ประชากรส่วนมากประกอบอาชีพ เกษตรกรรม

วิสัยทัศน์

โรงเรียนวัดบ้านพลับเป็นองค์กรที่จัดการศึกษา เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา พัฒนาผู้เรียนตามขีดความสามารถของตนและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา มีการบูรณาการเนื้อหา และสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และความสนใจของผู้เรียน ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพจริงจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายในชุมชน มีความรักในท้องถิ่นของตนเอง และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไท ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์เป็นเลิศ แพทย์แผนไทย สมุนไพรนำหน้า รู้จักการดูแลตนเองให้มีสุขภาพ พลานามัย และบุคลิกภาพที่ดี สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต การศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข

คำขวัญ

ศึกษาดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม นำชุมชน

พันธกิจ

1.

เป้าหมาย

นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีความรู้ ทักษะกระบวนการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้รวมถึงการรู้จักพัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพด้วยกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 กำหนด
2. นักเรียนได้พัฒนาทักษะการอ่านจากห้องสมุด 100 %
3. นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมจากกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4. มีการประเมินผลก่อนปฏิบัติ ระหว่างปฏิบัติ และหลังปฏิบัติ

อักษรย่อ

ตบ.พ.