ประวัติ

สภาพทั่วไปของสถานศึกษา

1) ประวัติโรงเรียนบ้านบือแรง
 โรงเรียนบ้านบือแรง ตั้งอยู่ริมถนนสาย นราธิวาส - รือเสาะ หมู่ที่ 1 ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2501 ในวัดชนาราม
 ต่อมา ในปี พ.ศ. 2508 นายนิโนะ นิแม บริจาคที่ดิน 1 แปลง จำนวน 2 ไร่ 2 งาน 16 ตารางวา มอบให้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนบ้านบือแรง
 พ.ศ.2510 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากรัฐบาล 90,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป 1 ก จำนวน 3 ห้องเรียน เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2510 ต่อมาได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบ ป 1 ก อีก 1 ห้องเรียน เป็นเงิน 68,000 บาท มีนายอุบล หนูเรือง เป็นครูใหญ่
 พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเด็กเล็ก 1 หลัง จำนวน 1 ห้องเรียน เป็นเงิน 107,300 บาท
พ.ศ. 2524 ได้เปิดทำการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และได้รับงบประมาณ สร้างโรงฝึกงาน แบบสามัญ 3/2 เป็นเงิน 280,000 บาท
 พ.ศ. 2525 เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์ใหญ่ชื่อ นายสุรัตน์
ชูชื่น และเกษียณอายุราชการ เมื่อ 30 กันยายน 2536
 พ.ศ. 2536 นายสนธยา วงศ์พัทธยากร ได้มารักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารแบบ สปช. 102/ 26 ขนาด 3 ห้องเรียน เป็นเงิน 639,500 บาท
 พ.ศ. 2537 นายสมศักดิ์ ทองสุวรรณ ได้มาปฏิบัติราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และย้ายในเวลาต่อมา
 พ.ศ. 2538 นายสมยศ เสาวคนธ์ ได้มารักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
 พ.ศ. 2539 นายสวัสดิ์ สีหะรัญ ได้มาปฏิบัติราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และย้ายเมื่อ วันที่ 3 ธันวาคม 2541
 วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 นายประสาน มากชู ได้รักษาการในตำแหน่ง
อาจารย์ใหญ่
 วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 นายเนื่องน้อยเอียด ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบาโงระนะ ได้มาปฏิบัติราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และย้ายไปรับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนตะโละแน็ง เมื่อ วันที่ 5 มกราคม 2544
 พ.ศ. 2544 นายสถิตย์ ชูศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกะลูแป มารักการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านบือแรง เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2544 และได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านบือแรง
วันที่ 15 มีนาคม 2544 กรมที่ดิน ได้ขออนุญาต ก่อสร้างหมุดแผนที่ดาวเทียม กรมที่ดินเฉลิมพระเกียรติ
วันที่ 1 ตุลาคม 2544 ได้รับมอบลานกีฬาอเนกประสงค์ จากองค์การบริหารส่วนตำบล ลาโละ งบประมาณก่อสร้างเป็นเงิน 98,000 บาท
วันที่ 17 มกราคม 2546 ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน มาติดต่อ/ติดตั้งวางถังเก็บน้ำและถังกรองน้ำ เพื่อมอบให้โรงเรียนบ้านบือแรง ไว้ใช้และได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้ว เสร็จ
 วันที่ 22 มิถุนายน 2548 นายสถิต ชูศรี ผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนวัดสันติวราราม อำเภอเกาะสมุย สพท.สุราษฎร์ธานี เขต 1
 วันที่ 23 มิถุนายน 2548 นายกอเซ็ม สมจารี ได้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
วันที่ 25 สิงหาคม 2548 นายอดุลย์ เจ๊ะเย็ง ได้มารับตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบือแรง ในตำแหน่งครูโรงเรียนบ้านยะลูตง(ประชุมวิทยาสาร) รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบือแรง

2) สภาพที่ตั้งของโรงเรียนบ้านบือแรง
โรงเรียนบ้านบือแรง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ให้บริการการศึกษาในพื้นที่ ตำบลลาโละ หมู่ที่ 1 บ้านบือแรง, บ้านตันหยง และหมู่ที่ 8 บ้านบาโง บ้านไทยสุขและบ้านกีเยาะ
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ชื่อ นายสุกรี หามะ
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ชื่อ นายยูโซ๊ะ ฮามะ
กำนันตำบลลาโละ ชื่อ นายมะลาซิ เจ๊ะมะ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลาโละ ชื่อ นายซุลกิฟลี สะไร (ข้อมูลเมื่อ 25 ม.ค. 50 )
สภาพชุมชน กึ่งเมือง กึ่งชนบท ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ มีกลุ่มแม่บ้าน บางส่วนประกอบอาชีพเย็บปักถักร้อย เช่น การทำผ้าคลุมผม ในโครงการพระราชดำริ
ที่ตั้ง ของโรงเรียนบ้านบือแรง
ทิศเหนือ จดภูเขา
ทิศใต้ จด หมู่ที่ 7 ตำบลลาโละ ซึ่งเป็นเขตบริการโรงเรียนบริจ๊ะ
ทิศตะวันออก จด อำเภอระแงะ ซึ่งเป็นเขตบริการของโรงเรียนมะรือโบตก
ทิศตะวันตก จดภูเขา
ลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ เป็นที่ราบเชิงเขา บ้านเรือนส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ริมถนนสายรือเสาะ - นราธิวาส ด้านในเป็นสวนยางพารา สวนผลไม้ ในหมู่ที่ 1 ปลูกข้าว
สภาพทางภูมิศาสตร์ ของพื้นที่ในเขตบริการทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านบือแรง อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ ฤดูกาลจะมีเพียง 2 ฤดู คือ
ฤดูร้อน จะเริ่มจากเดือน กุมภาพันธ์ ถึง เดือน กรกฎาคม แต่จะมีฝนตกบ้าง
ฤดูฝน จะเริ่มต้นจากเดือน สิงหาคม ถึง เดือนมกราคม
ปีนี้ฝนจะตกในฤดูร้อนบ่อยมาก อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 21.0 องศาเซลเซียส จำนวนวันที่ฝนตกประมาณ 150 วัน ในฤดูฝนจะมีน้ำท่วม ในลักษณะน้ำป่าไหลหลากเพียงไม่นานนัก สภาพดินมีเพียง 62 หน่วยดิน เป็นหน่วยดินประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขา มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
จำนวนประชากรทั้งตำบล ประมาณ 1,238 หลังคาเรือน จาก 8 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 37,208 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 18,896 ไร่ ปลูกข้าว 2,081 ไร่ ปลูกยางพารา 16,240 ไร่
ปลูกมะพร้าว 15 ไร่