ประวัติ

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
ยุคก่อตั้ง
การจัดตั้งโรงเรียนภายใต้ความต้องการของประชาชน ในตำบล หมู่บ้าน จึงร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในหมู่ที่ 15 ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบเชิงเขา บนพื้นที่ 13 ไร่ 1 งาน 25 ตารางวา ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2524 โดยสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ เป็นสาขาโรงเรียนบ้านช่องสำราญ โดย ได้รับบริจาคที่ดิน จาก นายเที่ยง เต้ากลาง และนายเทียม เต้ากลาง ได้รับจัดสรรงบประมาณ จากสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารมุงสังกะสี กว้าง 12 ศอก ยาว 42 ศอก ชั้นเดียว ราคา 40,000 บาท
วันที่ 31 มกราคม 2526 ได้รับงบประมาณ สร้างส้วม 2 ที่นั่ง ราคา 25,000 บาท
วันที่ 1 พฤษภาคม 2530 ได้แยกโรงเรียนเป็นเอกเทศ มี นาย สด ปานเพ็ชร เป็นครูใหญ่คนแรก
วันที่ 23 พฤษภาคม 2538 ได้รับงบประมาณ สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 101/26 สามห้องเรียนราคา 500,000 บาท
วันที่ 12 ตุลาคม 2539 นักศึกษา คณะเกษตรอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มาสร้างอาคารเรียนอเนกประสงค์ ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 18 เมตร







ยุคพัฒนา

5 กันยายน 2553 ก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์บริเวณสนามกีฬาของโรงเรียน ขนาดกว้าง 4 เมตรยาว 10.50 เมตร บริจาคโดยครอบครัวจงกลกลาง อ.มัณฑณา เทศทอง ใช้แรงงานจากชาวบ้านซับไทรในการก่อสร้าง งบประมาณ 100,000 บาท

17-24 ตุลาคม 2552 ก่อสร้างอาคารซับไทร-สยาม ใช้เป็นเรือนอนุบาล ขนาดอาคารกว้าง 5 เมตร ยาว 6 เมตร พื้นปูกระเบื้อง โดยการออกค่ายอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม งบประมาณ 150,000 บาท

10-22 ตุลาคม 2553 ก่อสร้างอาคารซับไทร-จุฬา ใช้เป็นโรงอาหาร ขนาดอาคารกว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร โดยการออกค่ายอาสาของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังไม่แล้วเสร็จ ได้รับการสบทบวัสดุในการมุงหลังคา จากคุณสุธี-คุณพัชรา พร้อมคณะ รวมงบประมาณ 120,000 บาท

11 มกราคม 2554 ได้ปรับปรุงซ่อมแซมฝ้าเพดาน กั้นห้องเรียน หลังคา อาคารสปช. 101/26 โดยได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์จากกลุ่มเพื่อเด็ก นำโดยอาจารย์มัณฑนา เทศทอง ใช้แรงงานจากชาวบ้านซับไทรในการซ่อมแซม งบประมาณ 40,000 บาท
มิถุนายน 2554 ปรับปรุงหน้าต่างอาคารแบบ สปช. 101/26 เป็นกระจกบานเลื่อนทั้งหลัง เพื่อให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จากงบแปรญัติ งบประมาณ 70,000 บาท

13 มกราคม 2555 เริ่มการก่อสร้างห้องน้ำขนาด 3 x 6 เมตร จำนวน 2 ห้อง โครงสร้างเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก คุณพิสิษฐ์ชัย ชยาธรธนวัฒน์และครอบครัว งบประมาณ 34,500 บาท

มกราคม ๒๕๕๕ ปรับปรุงอาคารเอนกประสงค์ที่นักศึกษาคณะเกษตรอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้างเมื่อ ปี ๓๙ โดยจัดทำฝาผนัง ติดตั้งประตูหน้าต่าง กระจกบานเลื่อน ทาสีใหม่ทั้งหลังเพื่อใช้เป็นห้องสมุด และห้องประชุม ได้รับการสนับสนุนผ้าป่าการศึกษาจากคุณหมอธนบดี รอดสม คุณกัญญา สาครสิทธิ์ คณะศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านซับไทร ๗๕,๐๐๐ บาท

๕ มีนาคม ๒๕๕๖ สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด กว้าง ๔ เมตร ยาว ๔๖.๕ เมตร บริเวณหน้าอาคาร สปช. ๑๐๑/๒๖ จากการจัดสรรงบแปรญัตติ ๑๐๐,๐๐๐ บาท

๑๖ มกราคม ๒๕๕๗ สร้างอาคารเอนกประสงค์ “ อาคารอนุสรณ์ ๓๓ ปี “ เป็นการสร้างอาคารแทนอาคารเรียนชั่วคราวหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม เมื่อครั้งก่อตั้งโรงเรียนครั้งแรกโดยได้รับผ้าป่าการศึกษาจากคณะคุณสุทิน เดือนเสดศรี กลุ่มบายพาสคลับ ชลบุรี คณะศิษย์เก่า คุณณิชชาพัช พงษ์สระพัง และคณะ ๑๕๐,๐๐๐ บาท

๔ ตุลาคม ๒๕๕๗ สร้างศาลาอ่านหนังสือสำหรับนักเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกลุ่มจิตอาสา Share your love โครงสร้างเป็นไม้หลังคามุงกระเบื้อง

๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๗ ปรับปรุงอาคาร “ สานฝัน สานใจ ซับไทร-จุฬา เป็นโรงครัวสำหรับประกอบอาหารให้นักเรียนได้รับการสนับงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุ ตลอดจน แรงงานในการดำเนินงาน


วิสัยทัศน์

“โรงเรียนบ้านซับไทร เป็นแหล่งเรียนรู้ประจำชุมชน นักเรียนมีคุณธรรมนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยครูและบุคลากรมืออาชีพ ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”

คำขวัญ

วินัยดี สถานที่พัฒนา วิชาการเป็นเลิศ ก่อเกิดคุณธรรม นำประชาธิปไตย ประสานใจชุมชน สร้างคนให้สมบูรณ์

พันธกิจ

“เพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรวัยเรียนทุกคน ให้ได้รับการพัฒนาเป็นบุคคลที่มีความรู้และคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยระบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย

ด้านโอกาสทางการศึกษา
1.ประชากรในวัยเรียนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียม ทั่วถึงและได้รับโอกาสในการศึกษาปฐมวัยอย่างน้อย 1 ปี ก่อนเข้าเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ
2.ผู้พิการผู้ด้อยโอกาสและผู้เรียนในเขตพื้นที่พิเศษได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัยอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงตามลักษณะของผู้เรียนแต่ละกลุ่มและประเภท
3.ผู้เรียนในเขตพื้นที่บริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ถีชีวิตและความต้องการของชุมชน
ด้านคุณภาพการศึกษา
1.ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย
2.ครูผู้สอนมีเพียงพอและสามารถจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ความสำคัญกับพื้นฐานและศักยภาพของผู้เรียน
3.สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในและผ่านการประเมินการศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
ด้านประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
สถานศึกษาตลอดจนองค์คณะบุคคลตามกฎหมายมีความพร้อมและมีความเข้มแข็งที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามหลักธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วน

อักษรย่อ

ซท

ปรัชญา

"การศึกษาพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ " ( Education for complete human development )