ประวัติ

โรงเรียนบ้านหนองแวงตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2482 ตั้งอยู่หมู่ที่ 14 บ้านหนองแวง ตำบลกุดดู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู มีเนื้อที่ 10 ไร่ 88 ตารางวา ประชากรในเขตบริการส่วนใหญ่มีเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ และประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประเพณีที่สำคัญ ประจำหมู่บ้านคือ งานบุญบ้องไฟ และประเพณีทางศาสนา
ปัจจุบัน ปีการศึกษา 2553 จัดการศึกษา 3 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียน 351 คน บุคลากร 24 คน อาคารเรียนถาวร 3 หลัง ส้วม 2 หลัง 10 ที่

มีเขตบริการ 5 หมู่บ้าน คือ
1. บ้านหนองแวง หมู่ที่ 3 ต. กุดดู่
2. บ้านหนองแวง หมู่ที่ 14 ต. กุดดู่
3. บ้านหนองแวง หมู่ที่ 9 ต. กุดดู่
4. บ้านกุดคอเมย หมู่ที่ 4 ต. กุดดู่
5 . บ้านหนองเม็ก หมู่ที่ 6 ต. กุดดู่
โรงเรียนบ้านหนองแวง เดิมสังกัดกลุ่มกุดดู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 13 มิถุนายน 2482 โดยขุนไพศาล คีรีย์ นายอำเภอหนองบัวลำภู นายอุ่น สุมรรคา ผู้แทนกรรมการ และนายคำเฝือ นุชิต ครูใหญ่ พร้อมด้วยคณะครู ราษฏรผู้ปกครองที่เห็นความสำคัญของการศึกษาต้องการให้บุตรหลานมีความรู้อ่านออกเขียนได้ทำพิธีเปิดตอนเช้าเวลา 07.00 น มีการประชุมราษฎรในหมู่บ้าน แนะนำการจัดตั้งโรงเรียน และได้นิมนต์พระมาเทศน์สั่งสอน อบรมนักเรียนและเยาวชน มีราษฎรมาร่วมในพิธี 80 คน นักเรียน 66 คน เวลา 08.00 น มีการประชุมราษฎรอีก พร้อมด้วยครูใหญ่ และคณะครู เมื่อเสร็จพิธีแล้วนายอำเภอเดินทางกลับตอนเช้าของวันที่ 14 มิถุนายน 2482 ในขณะนั้นได้อาศัยศาลาวัดเป็นสถานที่เรียน
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2499 ได้ย้ายสถานที่มาเรียน โรงเรียนเอกเทศชั่วคราว ซึ่งคณะครูผู้ปกครองช่วยกันสร้างขึ้นทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัดซึ่งเป็นที่ดินที่ชาวบ้านได้บริจาคให้ เป็นที่ดินของโรงเรียน จำนวน 1 หลัง มี 5 ห้องเรียน กับอีก 1 มุข สร้างตามแบบ ป. 3 พิเศษ หลังคามุงด้วยแฝกและตองตึงตลอดฤดูฝน
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2500 ราษฎรได้พร้อมกันบริจาคสังกะสีมุงหลังคาได้ 1 ด้าน ต่อมา
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2501 ได้ย้ายอาคารเรียนมาปลูกสร้างใหม่ ในที่ดินเดิมของโรงเรียนโดยเหตุผลว่าการปลูกอาคารเรียนจะต้องหันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือทิศใต้ซึ่งยึดหลีกการปลูกอาคาร โดยนายพร แก้วเกิดดี ศึกษาธิการอำเภอในสมัยนั้น จึงได้ย้ายมาปลูกในที่ที่ปัจจุบันได้เพิ่มห้องเรียนอีก 1 ห้อง รวมเป็น 6 ห้องเรียน 1 มุข ในปีเดียวกันคณะครูและราษฎรได้บริจาคสังกะสีมุงหลังคาจนเสร็จเรียบร้อย สามารถใช้การได้ตลอดฤดูฝน
พ.ศ. 2503 ได้ถูกพายุพัดพังเสียหาย ทางราชการได้มาตรวจดูความเสียหาย นายจำนงค์ ยังเทียน นายอำเภอได้ให้เงินมาซ่อมแซม จำนวน 10,300 บาท คณะครูราษฎร เห็นควรเปลี่ยนเครื่องข้างบน ขื่อ กระดานพื้น และกั้นห้องพักครู ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2506 ราษฎรพร้อมด้วยคณะครูในโรงเรียนได้บริจาคเงิน ซื้อกระดานพื้นมาปูพื้นจนแล้วเสร็จทุกห้องใน ปี พ.ศ. 2508
ต่อมาราษฏรและคณะครูได้บริจาคกระดานฝาผนัง ประตู หน้าต่าง รวมทั้งค่าแรงงาน จัดทำโดยเจ้าอธิการแสง สุคโต เจ้าอาวาสวัดศรีแก้ว บ้านหนองแวงเป็นผู้อุปถัมภ์ ขอความช่วยเหลือจากชาวบ้านจัดทำให้เสร็จทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตกและทิศใต้ยังคงเหลือทางด้านทิศเหนือ
ต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2508 คณะครู นักเรียนได้ร่วมกันไปนำไม้เปราะ มาจากภูพานมากั้นห้องเป็นการชั่วคราว ตลอดปี 2509 ทางราชการได้อนุมัติงบประมาณมาต่อเติมอาคารเรียน เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท โดยนาย เหรียญ แก้ววิเชียร ศึกษาธิการอำเภอเป็นผู้ดำเนินการ
จ้างให้นายดี เป็นผู้รับเหมา มาสร้างต่อเติมจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2510 สถิติ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2510 มีนักเรียนทั้งสิ้น 512 คน ครู 10 คน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนถึง 137 คน ซึ่งเป็นปีที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มากที่สุด
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2514 ทางราชการได้อนุมัติให้ขยายชั้นประถมศึกษาตอนปลายขึ้นจำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนสมัครเข้าเรียน 33 คน เมื่อปีการศึกษา 2514 ทางราชการได้อนุมัติเงิน ปลูกสร้างอาคารประถมตอนปลาย จำนวน 1 หลัง 3 ห้องเรียน ตามแบบ ป. 3 ช. การปลูกสร้างเสร็จเรียบร้อย ใช้การได้เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514
เมื่อปีงบประมาณ 2515 ได้รับเงินงบประมาณสร้างบ้านพักครู จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 25,000 บาท การปลูกสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2515
ปีงบประมาณ 2517 ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้อนุมัติงบประมาณสร้างบ้านพักครู
จำนวน 1 หลัง ราคา 30,000 บาท การปลูกสร้างได้ลงมือสร้างตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2517 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2517 ในที่ดินทางทิศตะวันออกของโรงเรียน
ปีงบประมาณ 2518 ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ จัดสรรเงินงบประมาณสร้างส้วม 1 หลัง 5 ที่ ราคา 16,000 บาท ได้ปลูกสร้างทางทิศใต้ของอาคาร 3 สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2518
ในปี พ.ศ. 2519 นักเรียนมีจำนวนมากขึ้น ห้องเรียนมีจำนวนไม่เพียงพอ กับนักเรียนทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้อนุมัติงบประมาณให้สร้างอาคารเรียนเพิ่มอีก 1 หลัง ในราคา 330,000 บาท ตัวอาคารยาว 54 เมตร ขนาด 6 ห้องเรียน สร้างแบบ ป. 1 ช. สร้างเสร็จเรีบยร้อยเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2520
เมื่อ พ.ศ. 2520 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณให้โรงฝึกงาน 1 หลัง ยาว 16 เมตร 5 ห้อง
ในราคา 16,375 บาท สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2521
เมื่อ พ.ศ. 2521 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณบ้านพักครู 1 หลัง ราคา 60,000 บาท
สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2521 ขึ้นทะเบียนบ้านพักครูเป็นหลังที่ 3
เมื่อ พ.ศ. 2522 ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย ได้ให้งบประมาณ
ต่อเติม อาคารชั้นล่างของอาคาร 3 จำนวน 2 ห้องเรียนเป็นเงิน 80,000 บาท
เมื่อ พ.ศ. 2523 ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย ได้ให้งบประมาณ
ต่อเติม อาคารชั้นล่างของอาคาร 3 จำนวน 2 ห้องเรียนเป็นเงิน 90,000 บาท
เมื่อ พ.ศ. 2524 ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย ได้ให้งบประมาณ
ต่อเติม อาคารชั้นล่างของอาคาร 3 จำนวน 2 ห้องเรียนเป็นเงิน 120,000 บาท ในที่สุดอาคารหลังนี้ก็กลายเป็นอาคาร 2 ชั้นโดยสมบูรณ์
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2526 ตรงกับวันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2526 นายวิทยา พลเสนา
ได้มารับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านหนองแวง แทน อาจารย์สาย โพธิสาราช ซึ่งนับว่า
นายวิทยา พลเสนา เป็นผู้บริหารโรงเรียนบ้านหนองแวง คนที่ 9
เมื่อ พ.ศ. 2527 ทางราชการให้งบประมาณสร้างบ้านพักครูแบบแฟลต ตามแบบ สปช.
จำนวน 1 หลัง 3 ห้องนอน ราคา 480,000 บาท สร้างเสร็จเรียบร้อย เมื่อ พ.ศ. 2527 ต่อมาในปีเดียวกันทางจังหวัดได้จัดสรรงบประมาณ ก่อสร้างเรือนเพาะชำ 1 หลัง ราคา 10,000 บาท
เมื่อ พ.ศ. 2528 ทางราชการจัดสรรงบประมาณก่อสร้างส้วมให้อีก 1 หลัง 4 ที่ ในราคา
40,000 บาท
เมื่อ พ.ศ. 2529 ทางราชการจัดสรรงบประมาณก่อสร้างส้วมให้อีก 1 หลัง 4 ที่ ในราคา
40,000 บาท
เมื่อปี พ.ศ. 2545 นายวิทยา พลเสนา เกษียณอายุราชการ
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2546 นายทองม้วน ดอนน้อยหน่า เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน จนถึงปัจจุบันนับได้ว่าเป็นผู้บริหาร คนที่ 10

วิสัยทัศน์

ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา พัฒนาบุคลากรเป็นมืออาชีพ ชุมชนมีส่วนร่วมในการ
จัดการศึกษา พัฒนาสภาพแวดล้อม และอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

คำขวัญ

นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา" (แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)
" โรงเรียนหนองแวง คือ ผืนนา ลูกศิษย์ลูกหา คือต้นกล้า มวลประชา ครู-อาจารย์
ลูกจ้าง คือ น้ำและปุ๋ย"

พันธกิจ

1. จัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
2. นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. ระดมทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา
4. จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนการสอน
5. บริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล และใช้โรงเรียนเป็นฐาน
6. เข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญกับชุมชน ตามประเพณีท้องถิ่น
7. สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา
8. สนับสนุนส่งเสริมบุคลากรให้เข้ารับการประชุมสัมมนา ศึกษาอบรมตามความเหมาะสม

เป้าหมาย

4.นโยบาย วัตถุประสงค์และเป้าหมายแผนงาน
ในปีงบประมาณ 2552 โรงเรียนบ้านหนองแวง ได้กำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินงานด้านต่างๆ ดังนี้
1. กลุ่มบริหารงานวิชาการ
1.1 นโยบาย เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและมีการพัฒนาด้านวิชาการให้เจริญก้าวหนโรงเรียนจึงได้ กำหนดนโยบาย ดังนี้
1) เร่งรัดคุณภาพการศึกษาของนักเรียนทุกกลุ่มสาระ ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสอดแทรกหลักคุณธรรมนำความรู้และประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2) ส่งเสริมการปรับปรุงหลักสูตรสอดแทรกคุณธรรมนำความรู้และประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3) ส่งเสริมให้ครูวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

1.2 วัตถุประสงค์
1) เพื่อเร่งรัดคุณภาพการศึกษาของนักเรียนทุกกลุ่มสาระ ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ เน้นการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2) เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงหลักสูตรสอดแทรกคุณธรรมนำความรู้และประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3) ส่งเสริมให้ครูวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
1.3 เป้าหมาย
1) นักเรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์และผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติตามเกณฑ์
2) ครูทุกคนปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน
3) ครูทุกคนวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และนำผลไปใช้พัฒนาผู้เรียน
4) ครูทุกคนจัดทำหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความถนัด ความสามารถของผู้เรียนและท้องถิ่น

2. กลุ่มบริหารงานทั่วไป
2.1 นโยบาย
พัฒนาการบริหารงานทั่วไปให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

2.2 วัตถุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมให้การบริหารทั่วไปให้เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ
2) เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน สะดวกในการตรวจสอบ มีวัสดุ อุปกรณ์เพียงพอกับการให้บริการ
2.3 เป้าหมาย
การดำเนินงานด้านการบริหารทั่วไปมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับแก่หน่วยงานอื่นและชุมชน

3. กลุ่มบริหารงานงบประมาณ
3.1 นโยบาย
บริหารงานการเงินและพัสดุ อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส
สามารถตรวจสอบได้
3.2 วัตถุประสงค์
เพื่อจัดระบบการทำงานด้านการเงิน บัญชี พัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆให้เป็นระบบ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ถูกต้องตามระเบียบและเป็นปัจจุบัน




3.3 เป้าหมาย
การจัดสรรงบประมาณ การดำเนินงานตามแผนงบประมาณมีความถูกต้อง สามารถใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างเป็นระบบถูกต้องตามแผนที่วางไว้ การเงินการบัญชี ของโรงเรียนเป็นระบบ สะดวกในการตรวจสอบ ค้นหาและเป็นปัจจุบัน
4. กลุ่มบริหารงานบุคคล
4.1 นโยบาย
1) ส่งเสริมให้ครูและบุคคลทางการศึกษาภายในโรงเรียนมีการพัฒนาตนเองอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
2) พัฒนาปรับปรุงการนิเทศภายในสถานศึกษาให้ดำเนินการต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
3) ส่งเสริมให้ครูและบุคคลทางการศึกษามีขวัญและกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน
4.2 วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนมีการพัฒนาตนเองอย่างมีคุณภาพและ
ประสิทธิภาพ
2) เพื่อพัฒนาปรับปรุงการนิเทศภายในสถานศึกษาให้ดำเนินการต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
3) เพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคคลทางการศึกษามีขวัญและกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน
4.3 เป้าหมาย
1) บุคลากรในโรงเรียนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากการเข้ารับการอบรม ประชุมสัมมนา ศึกษาดูงานและการศึกษาด้วยตนเอง
2) จัดสวัสดิการเพื่อการสร้างขวัญกำลังใจให้บุคลาการในหลายรูปแบบ

อักษรย่อ

น.ว.

ปรัชญา

“ เรียนดี กีฬาเด่น เน้นวินัย ใฝ่วิชา ร่วมพัฒนา สร้างศรัทธาสังคม”