ประวัติ

โรงเรียนบ้านนาหว้าใต้ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2506 โดยการนำของ นายประทิน ใจชอบ ศึกษาธิการอำเภอ เขมราฐ
นายบัว คำหงษา ผู้ใหญ่บ้านบ้านนาหว้าใต้ในขณะนั้นโดยอาศัยศาลาวัดดอยมณีเป็นสถานที่เรียนและมีนายเฉลิมแก่นอินทร์ เป็นครูใหญ่คนแรกโดยจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาประถมศึกษาพุทธศักราช2503 ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่1ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ปี พ.ศ. 2514 ได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1ช. 3 ห้องเรียน โดยก่อสร้างในพื้นที่แห่งใหม่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านอันเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนปัจจุบันพร้อมกับขยายชั้นเรียนไปจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7
ในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนไปจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 โดยจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ในปี พ.ศ. 2524 ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 21 เมตร
ในปี พ.ศ. 2525 ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียน แบบ จ/2525
1 หลัง 3 ห้องเรียน แบบใต้ถุนสูงจำนวน 600,000 บาท และได้ต่อเติม ในปี พ.ศ. 2531โดยใช้งบประมาณในการต่อเติม 180,000 บาท
ในปี พ.ศ. 2527 ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.33จำนวน 3 ถัง
ในปี พ.ศ. 2530 ได้ขยายชั้นเรียนลงล่างโดยเปิดสอนระดับชั้นอนุบาล
ในปี พ.ศ. 2532 ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการขุดบ่อเลี้ยงปลาขนาด กว้าง 25 เมตร ยาว 50 เมตร ลึก 2.50 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกของโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2534 ได้รับการจัดสรรงบประมาณขุดบ่อเลี้ยงปลา ขนาด กว้าง 50 เมตร
ยาว 100 เมตร ลึก 3 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกของอาคารเรียนหลังที่ 1
ในปี พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนไปจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และได้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปัจจุบันปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านนาหว้าใต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 169 คน ครูประจำการ 6 คน ช่างไม้ 3 จำนวน 1 คน(ลูกจ้างประจำ) พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน และมีนายบุญเลิศ กลีบรัง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านนาหว้าใต้ เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เก่ง ดี และมีความสุข โดยยึดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นตัวกำหนดปัจจัยหลักและตัวชี้วัดสภาพความสำเร็จในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

คำขวัญ

พัฒนาความรู้ เชิดชูคุณธรรม ก้าวนำเทคโนโลยี เป็นคนดีของสังคม

พันธกิจ

พันธกิจ (Mission)
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัย – ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยระดับปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาในการจะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาส่วนในระดับประถมศึกษาเป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นการวางรากฐานคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อการประกอบอาชีพและเพื่อการศึกษาต่อ
2. จัดกิจกรรมการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมผู้เรียน ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกำหนดของหลักสูตรแกนกลางและสถานศึกษา
3. จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เข้มแข็งสภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนา ได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาตลอดมีภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต เพื่อการเป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
5. พัฒนาครูให้มีความสามารถในการปฏิบัติงานโดยเน้นความเป็นครูมืออาชีพ
6. พัฒนาสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยสถานศึกษามีสภาพสวยงาม น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน และมีแหล่งเรียนรู้ภายในที่หลากหลาย
7. พัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีคุณภาพโดยเน้นการมีส่วนร่วมของสังคมทุกภาคส่วน (All for Education)

เป้าหมาย

เป้าประสงค์ (Goals)
1. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะจำเป็นตามหลักสูตรในแต่ละช่วงวัย
2. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และเป็นสมาชิกที่ของสังคม
3. ผู้เรียนมีทักษะการจัดการชีวิต สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
4. ผู้เรียนได้รับการพัฒนา ได้รับการช่วยเหลือดูแลและมีภูมิค้มุกันตลอดเวลา
5. ครูเป็นมืออาชีพสร้างสรรค์และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
6. สถานศึกษามีสภาพเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน
7. สถานศึกษาใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการคุณภาพ
ประเทศไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ขั้นต่ำ
1.4 นักเรียนมีลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ทำ
ประโยชน์ต่อสังคม เสริมสร้างทักษะชีวิต ทักษะสังคม มีนิสัยรักการอ่าน อนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม เป็นพลเมืองที่ดีของชาติตามแนวทางประชาธิปไตย
1.5 ดำเนินชีวิตแบบไทย
1.6 มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์
1.7 เด็กวัยก่อนประถมศึกษามีความพร้อมที่จะเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2. การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
2.1 พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโดยจัดทำรายงานเป็นประจำทุกปี
2.2 จัดแหล่งเรียนรู้
2.3 จัดอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้น่าดู น่าอยู่ และน่าเรียน
3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1 ครูได้รับการอบรมประชุมสัมมนา 3 ครั้ง ต่อคนต่อปี
3.2 ครูทุกคนผ่านการอบรมปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. การสร้างความเสมอภาคในโอกาสการเข้ารับบริการ
4.1 เด็กอายุย่างเข้า 7 จนถึงย่างเข้าปีที่ 16 เรียนจบการศึกษาภาคบังคับและได้รับการ
ส่งเสริมให้เรียนต่อจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.2 ไม่มีนักเรียนออกกลางคัน
4.3 ไม่มีนักเรียนตกซ้ำชั้น
4.4 เด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ เด็กพิเศษในเขตพื้นที่บริการได้รับการพัฒนาทุกคน
4.5 เด็กวัยก่อนประถมศึกษาได้รับการพัฒนาทุกคน
5. การสร้างความเป็นเลิศทางการบริหารจัดการ
5.1 พัฒนาข้อมูลระบบสารสนเทศให้มีความเที่ยงตรงเป็นปัจจุบันและเชื่อถือได้
5.2 ใช้ข้อมูลสารสนเทศในการวางแผนการบริการและการพัฒนา
5.3 สนับสนุนทุกฝ่าย อาทิ กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และภูมิปัญญา
ท้องถิ่น ร่วมวางแผนและพัฒนาโรงเรียน
5.4 ใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5.5 จัดหาบุคลากรทดแทนความขาดแคลนบุคลากรโดยใช้วิทยากรภายนอก

อักษรย่อ

นว.

เพลง

นาหว้าใต้โรงเรียนดีมีสง่า แหล่งศึกษาของชนทั่วทุกถิ่น
สะอาดงามรื่นรมย์สมจินต์ ทั่วธานินทร์เกริกก้องเกรียงไกร
ปุยเมฆ ขุนเขา ลำเนาป่า สัญลักษณ์ตรึงตรายิ่งใหญ่
เลิศล้ำคุณธรรมประจำใจ สร้างเด็กไทยให้เรียนรู้คู่ความดี
มุ่งมั่น อดทน เด็ดเดี่ยว ม่วงเขียวเรารักศักดิ์ศรี
การกีฬา วิชาการ สามัคคี มุ่งทำดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้
นาหว้าใต้โรงเรียนดีมีคุณค่า พวกเรามาร่วมใจกันเชิดชู
ชั่วชีวิตขอเป็นศิษย์ที่ดีของครู นาหว้าอยู่คู่ฟ้าดินมลาย

ปรัชญา

รู้เวลา รู้หน้าที่ ทำดีทุกวัน