ประวัติ

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียน บ้านท่าคลอง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๐ ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต ๒ จัดตั้งเมื่อ วันที่ ๒๑ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๕
ระดับการศึกษาที่เปิดสอน ก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา โทร. รหัสไปรษณีย์ ๙๔๑๒๐

ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน

โรงเรียนบ้านท่าคลอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2515 โดยนายมนตรี ตระหง่าน ตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เป็นประธานพิธีเปิดโรงเรียนนี้ได้ก่อสร้างโดยการริเริ่มของ นายจำนงค์ คุ้มรักษ์ ตำแหน่ง นายอำเภอโคกโพธิ์ และราษฎรในท้องที่หมู่ที่ 6 ตำบลโคกโพธิ์ ซึ่งมีนายนิแบรัง นิโอะ นายสาและ สาเระ และนายหะมะ มะโระ เป็นผู้ดำเนินการและได้ร่วมกันสละเงินซื้อที่ดินจำนวน 1 แปลง มีเนื้อที่ 2 ไร่ 25 ตารางวา คิดเป็นเงิน 4,000 บาท ( สี่พันบาทถ้วน ) กับได้สละแรงงานและวัสดุก่อสร้างเป็นอาคารเรียนชั่วคราว เสาไม้กลมหลังคามุงจาก ฝาไม้ไผ่ขัดแตะ ขนาดกว้าง 4.80 เมตร ยาว 9.80 เมตร จำนวน 1 ห้องเรียน พร้อมด้วยครุภัณฑ์มีม้านั่งและโต๊ะรองเขียน จำนวน 20 ชุด โต๊ะครู 2 ชุด กระดานดำ 2 แผ่น จำนวนนักเรียนในวันเปิดเรียนชาย 18 คน หญิง 19 คน รวมทั้งสิ้น 37 คน ครูที่มาสอนคนแรก คือ นายวิจิตร ราชโรจน์ ซึ่งเป็นข้าราชการครูช่วยราชการจากโรงเรียนบ้านสามยอด อำเภอโคกโพธิ์ โดยมารับราชการในตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนนี้ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2515

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2515 ได้รับคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการครูจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี คำสั่งที่ 59 / 2515 แต่งตั้งให้นายวิจิตร ราชโรจน์ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านนาค้อใต้ ซึ่งช่วยราชการโรงเรียนบ้านสามยอดและได้มาช่วยราชการบ้านท่าคลอง เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2516 ให้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคกอ้น อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มาดำรงตำแหน่งครู โรงเรียนบ้านท่าคลอง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2515

วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2516 นายหะมะ มะโระ ได้มอบที่ดินให้แก่โรงเรียนจำนวน 200 ตารางวา โดยไม่คิดค่าตอบแทนแต่อย่างใด โรงเรียนมีที่ดินรวมทั้งหมด 2 ไร่ 75 ตารางวา และราษฎรบ้านท่าคลองได้บริจาคและรวบรวมเงินขอซื้อที่ดินของนายมะหะ มะโระ อีกจำนวน 200 ตารางวา ในราคา 1,000 บาท รวมเนื้อที่ของโรงเรียนทั้งหมด 3 ไร่ 75 ตารางวา และราษฎรบ้านท่าคลองได้บริจาควัสดุและแรงงานต่อเติมอาคารเรียนอีก 2 ห้องเรียน รวมเป็น 3 ห้องเรียน กว้าง 4.80 เมตร ยาว 16.30 เมตร และทางอำเภอโคกโพธิ์ได้มอบโต๊ะพร้อมเก้าอี้มาให้อีก 31 ชุด โต๊ะครู 2 ชุด กระดานดำชนิดขาตั้ง 3 ชุด จำนวนนักเรียนในปี พ.ศ. 2516 ทั้งหมด 103 คน และวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2516 อำเภอโคกโพธิ์ ได้มอบโต๊ะพร้อมเก้าอี้ให้อีกจำนวน 19 ชุด

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากจังหวัดในการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่แบบ ป1ก. จำนวน 2 ห้องเรียน งบประมาณ 80,000 บาท

วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 เจ้าหน้าที่จากที่ราชพัสดุได้มาดำเนินการรังวัดจดที่ดินของโรงเรียน ทิศตะวันออกจดที่ดินของนายดำ บีซู ระยะ 86 เมตร ทิศตะวันตก จดที่ดินของ นายมะ สีบู ระยะ 68 เมตร รวมเนื้อที่ของโรงเรียนทั้งสิ้น 3 ไร่ 1 งาน 53 ตารางวา

วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2520 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป1ก. หลังที่ 2 ขนาด 4 ห้องเรียน งบประมาณ 260,000 บาท สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2521

ปี พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ โดยได้ประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 โดยให้โรงเรียนจัดสอนตามหลักสูตรใหม่ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ตามลำดับ ( ระบบการศึกษา 6.3.3 )

ปี พ.ศ. 2523 ได้มีกฎหมายโอนโรงเรียนประชาบาล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้รับหนังสือที่ ปน.อก. 5 / 1214 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 ให้นายวิจิตร ราชโรจน์ ตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านท่าคลอง ให้ไปช่วยราชการในหน้าที่หัวหน้าฝ่ายอัตรากำลัง หมวดการศึกษาอำเภอส่วนอำเภอโคกโพธิ์

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงฝึกงานแบบกรมสามัญ 312 มีฝาเพียงห้องเดียว นอกนั้นปล่อยว่าง จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 87,500 บาท

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 อำเภอได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายสุมิตร จะนะจินา ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านควรลังงา ให้มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านท่าคลอง

วันที่ 19 มิถุนายน 2524 อำเภอได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายสุมิตร จะนะจินา ไป ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านล้อแตก และแต่งตั้งให้นายอมร มณีพรหม ตำแน่งอาจารย์ 1 ระดับ 4 โรงเรียนบ้านทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ ให้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านท่าคลอง

วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 จังหวัดได้มีคำสั่งให้ นายอมร มณีพรหม ตำแหน่ง ครูใหญ่โรงเรียนบ้านท่าคลอง ไปช่วยราชการที่หน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดปัตตานี

วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 นายจิตติพงศ์ ราชโรจน์ ( นายวิจิตร ราชโรจน์ ) กลับมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านท่าคลอง

วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี ได้จัดสรรงบประมาณสร้างส้วม ตามแบบ 401 ขนาด 3 ที่นั่ง เงินงบประมาณ 40,000 บาท ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 24 กันยายน 2525

วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2527 นายจิตติพงศ์ ราชโรจน์ ตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านท่าคลองย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบันลือคชาวาส อำเภอโคกโพธิ์

วันที่ 27 ตุลาคม 2531 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายจิต ชูนุ้ย ตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านท่าคลอง ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านนาค้อใต้ และแต่งตั้งให้นายฉาย รัตนสันต์ ตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านค้อใต้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านท่าคลอง

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี มีคำสั่งให้นายฉาย รัตนสันต์ ตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านท่าคลอง ให้ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียน บ้านนาค้อกลาง อำเภอโคกโพธิ์ และแต่งตั้งให้นายประยูร ชัยสวัสดิ์ ตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียน บ้านทุ่งยาว อำเภอโคกโพธิ์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านท่าคลอง

ปี พ.ศ. 2535 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 )

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายประยูร ชัยสวัสดิ์ มาดำรงตำแหน่ง อาจารย์ ใหญ่โรงเรียนบ้านท่าคลอง

วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2537 นายประยูร ชัยสวัสดิ์ ตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านท่าคลอง เกษียณอายุราชการ

วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2538 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี คำสั่งที่ 386 / 2537 ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2537 แต่งตั้งให้ นายจักรพันธ์ บุญเต็ม มาดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านท่าคลอง

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบสปช.105/29 จำนวน ห้องเรียน 1 หลัง งบประมาณ 1,700,000 บาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2540

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี มีคำสั่งที่ 429 / 2545 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2545 แต่งตั้งให้นายจักรพันธ์ บุญเต็ม ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าคลอง จนถึง วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 นายจักรพันธ์ บุญเต็ม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าคลอง ร่วมกับคณะครู อาจารย์ นักการภารโรง นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดทำป้ายโรงเรียน โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างจำนวนเงิน 69,559 บาท

วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2546 ทางโรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของโรงเรียนเพื่อทดลองใช้ในปีการศึกษา 2546

วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 โรงเรียนบ้านท่าคลองใช้หลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ทุกชั้นเรียน

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 แต่งตั้งให้นายชัยวัฒน์ แก้วผนึก ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านท่าคลอง

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านท่าคลอง จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรม ให้โอกาสและให้ความเสมอภาคทางการศึกษา มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเน้นระดับมาตรฐาน บุคลากรมืออาชีพ มุ่งสู่ความก้าวกน้าทางเทคโนโลยี โดยความร่วมมือที่ดีขององค์กรทุกฝ่ายภายใต้การดูแลของชุมชน

คำขวัญ

รู้เวลา รู้หน้าที่ เพราะเรามีความรับผิดชอบ

พันธกิจ

นโยบายของโรงเรียน

1. ด้านกระบวนการจัดการเรียน

ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและทักษะการปฏิบัติ
ส่งเสริมให้ครู บุคลากรทางการศึกษา จัดให้มีการเตรียมการสอน/การจัดทำแผนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญทุกสาระวิชา/สาระการเรียนรู้
ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูบุคลากรทางการศึกษาใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ผลิต จัดซื้อ จัดหาสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน
ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาการเรียนการสอนจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน โดยมุ่งเน้นงานอาชีพ ให้นักเรียนมีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค
ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูบุคลากรทางการศึกษาวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ส่งเสริม สนับสนุนให้ครู บุคลากรทางการศึกษาทำวิจัยในชั้นเรียน และนำผลการวิจัยมาพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพการศึกษา
ส่งเสริมพัฒนานักเรียนให้มีสุขภาพอนามัยดีสมบูรณ์ แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
2. ด้านหลักสูตร

ส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและทักษะภาษาไทยและคณิตศาสตร์ทุกช่วงชั้น
ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ของชาติไทย ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมมีจิตสำนึกในการเสียสละ มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม รักประเทศชาติ ยึดมั่นในวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
การระดมทรัพยากรในชุมชน มีส่วนร่วมจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้
ส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึ่งประสงค์
3. ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรด้านการศึกษา

- ส่งเสริมครู บุคลากรทางการศึกษาให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
- ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีกรวิจัยและพัฒนาวิจัยในชั้นเรียน
- ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านสิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้

ส่งเสริมสนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
ส่งเสริม พัฒนาห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในโรงเรียนให้เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการค้นคว้า
พัฒนาสิ่งแวดล้อมใน โรงเรียนให้สะอาด ร่มรื่น สวยงามเป็นระเบียบ เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนและเป็นแหล่งเรียนรู้
5. ด้านระบบบริหารและการจัดการ

ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา
พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เพื่อให้เกิดการรับรองมาตรฐาน
ระดมการเกณฑ์เด็กให้เข้าเรียนอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
พัฒนาระบบโครงสร้างการบริหารงาน กำหนดขอบข่ายงาน วิธีปฏิบัติงานให้มีความ ชัดเจน ครอบคลุมภาระกิจ
ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา
ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโรงเรียน
ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผล

อักษรย่อ

ท.ค.

ปรัชญา

ใช้กระบวนการลูกเสือ เสริมสร้างวินัย