ประวัติ

โรงเรียนบ้านปูแป้ ตั้งอยู่ที่ 166 หมู่ที่ 3 บ้านปูแป้ ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2530 โดยเป็นสาขาโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ ใช้ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาบ้านปูแป้เป็นอาคารเรียนชั่วคราว ต่อมาในวันที่ 25 – 26 มกราคม พ.ศ. 2534 คณะครูโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์และผู้ปกครองนักเรียนบ้านปูแป้ ได้ร่วมกัยสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ 1 หลัง มีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 20 เมตร คิดเป็นเงินประมาณ 30,000 บาท โดยทำเหนังสือเสนอขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและย้ายนักเรียนเข้ามาเรียนที่อาคารเรียนใหม่ ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2534 เปิดสอนชั้นประถมปีที่ 5 เพิ่มขึ้น มีนักเรียนรวม 103 คนและเปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2535
โรงเรียนบ้านปูแป้ ได้รับอนุญาติจากกรมป่าไม้ให้ใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นที่ตั้ง
โรงเรียน ตามหนังสือประกาศของกรมป่าไม้ที่ 262/2536 เลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2536 โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดตาก ประกาศให้เป็นโรงเรียนเอกเทศ ตั้งชื่อว่า “ โรงเรียนบ้านปูแป้” เมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2536 ปัจจุบันมีเนื้อที่ 20 ไร่ เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ แม่สอดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดตาก มีอาคารเรียน 2 หลัง อาคารประกอบ 1 หลัง
ในปีการศึกษา 2548 มีนักเรียน 91 คน ข้าราชการครู 8 คน จัดการศึกษาให้กับนักเรียน
2 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ช่วงชั้น

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์
ภายในปีการศึกษา 2549 นักเรียนโรงเรียนบ้านปูแป้ มีความรู้ และมีความสามารถ ตามมาตรฐานคุณภาพของโรงเรียน เน้นความสำคัญในด้านทักษะการใช้ภาษา และความสามารถ ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถคิดและแก้ปัญหาได้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย มีความรับผิดชอบในตนเอง สุขภาพดี และเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญหาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และในความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ระดมทรัพยากรจากด้านองค์กรในภาครัฐ และภาคเอกชนในชุมชน โดยให้มีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คำขวัญ

เรียนดี กีฬาเด่น เน้นวินัย ใฝ่คุณธรรม

พันธกิจ

พันธกิจ
1. จัดการศึกษาภาคบังคับ ช่วงชั้นที่ 1 และ 2
2. พัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตามที่สำนักงานรองรับมาตรฐานและประเมินคุณ การศึกษา (สมศ.) กำหนด
3. ส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนเป็นคนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี สามารถดำรงตนอยู่ ในสังคมอย่างมีความสุข
4. นำแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอน
5. สนับสนุนให้ชุมชนและองค์กรอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน
เป้าหมายของโรงเรียน
เพื่อให้นักเรียนได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและทั่วถึง พัฒนาคุณภาพของนักเรียนและเสริมสร้างพัฒนาการทุก ๆ ด้านให้เป็นคนดี เก่ง มีความสุข มีความสำนึกในความเป็นไทย ห่างไกลจากยาเสพติด บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับของชุมชนและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2.2 แนวคิดหลักของการพัฒนาโรงเรียน
โรงเรียนสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนพัฒนาทักษะความรู้โดยการศึกษาต่อ การอบรมสัมมนา การทำวิจัย มีการวางแผนการจัดทำและพัฒนางานร่วมกัน มีการปรับปรุงบริเวณโรงเรียนและอาคารสถานที่ มีการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ
2.3 ระบบโครงสร้างของการบริหารการศึกษา
โรงเรียนแบ่งโครงสร้างการบริหารเป็น 4 งาน ดังนี้
1. การบริหารวิชาการ
2. การบริหารงบประมาณ
3. การบริหารงานบุคคล
4. การบริหารทั่วไป

เป้าหมาย

เนื่องจากโรงเรียนบ้านปูแป้ เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และได้ผ่านการอบรมการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 เมื่อปี พ.ศ. 2545 ดังนั้นโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้เป็นไปตามหลักการ จุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดตามโครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
1. ระดับช่วงชั้น
กำหนดหลักสูตรเป็น 2 ช่วงชั้น ตามระดับพัฒนาการของผู้เรียนดังนี้
ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3
ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
2. สาระการเรียนรู้
กำหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการการเรียนรู้ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้
1.1 ภาษาไทย
1.2 คณิตศาสตร์
1.3 วิทยาศาสตร์
1.4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
1.5 สุขศึกษาและพลศึกษา
1.6 ศิลปะ
1.7 การงานอาชีพและเทคโนโลยี
1.8 ภาษาต่างประเทศ
สาระเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มนี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้ โดยอาจจัดเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและวิกฤตของชาติ กลุ่มที่สอง ประกอบด้วยสุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ เป็นสาระการเรียนรู้ที่เสริมสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์และสร้างศักยภาพในการคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์
เรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ในสาระการเรียนรู้กลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มวิทยาศาสตร์ กลุ่มสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา
กลุ่มภาษาต่างประเทศ กำหนดให้เรียนภาษาอังกฤษทุกช่วงชั้น ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ สามารถเลือกจัดการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสม
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดสาระการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มไว้เฉพาะส่วนที่จำเป็นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกคนเท่านั้น สำหรับส่วนที่ตอบสนองความสามารถ ความถนัดและความสนใจของ
ผู้เรียนแต่ละคนนั้นสถานศึกษาสามารถกำหนดเพิ่มขึ้นได้ ให้สอดคล้องและสนองตอบศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน
3. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ มุ่งเน้นเพิ่มเติมจาก
กิจกรรมที่ได้จัดให้เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม การเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขกับกิจกรรมที่เลือกด้วยตนเองตามความถนัดและความสนใจอย่างแท้จริง การพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยอาจจัดเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสนองนโยบายในการสร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีคุณภาพเพื่อพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งสถานศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างมีเป้าหมาย มีรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
3.1 กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญา และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีซึ่งผู้สอนทุกคนต้องทำหน้าที่แนะแนวให้คำปรึกษาด้านชีวิต การศึกษาต่อและพัฒนาตนเองสู่โลกอาชีพและการมีงานทำ
3.2 กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติด้วยตนเองอย่างครบวงจรตั้งแต่ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมิน และปรับปรุงการทำงาน โดยเน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น
4. มาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม ที่เป็นข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของแต่ละกลุ่ม เพื่อใช้เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ซึ่งกำหนดเป็น 2 ลักษณะ คือ
4.1 มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เมื่อผู้เรียนเรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.2 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
เป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนเรียนจบในแต่ละช่วงชั้น คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6
มาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้เฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกคนเท่านั้น สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตลอดจนมาตรฐานการเรียนรู้ที่เข้มขึ้นตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ให้สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมได้
5. เวลาเรียน
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเวลาในการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ดังนี้
ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 มีเวลาเรียนประมาณปีละ 800 – 1000 ชั่วโมง
เฉลี่ยวันละ 4 – 5 ชั่วโมง
ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 มีเวลาเรียนประมาณปีละ 800 – 1000 ชั่วโมง
เฉลี่ยวันละ 4 – 5 ชั่วโมง




อักษรย่อ

ปป.

ปรัชญา

เราต้องเป็นที่ 1