ประวัติ

โรงเรียนบ้านห้วยปมฝาด ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน รหัสไปรษณีย์ 58000 โทรศัพท์ 053-072311, 086-4293019 อีเมลล์ [email protected] เว็บไซต์ www.thai-school.net/pomfad สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างอาคารชั่วคราวเป็นโรงเรียนหย่อมบ้านเรียกว่า หน่วยปฏิบัติการสอนตามหย่อมบ้าน มีครู 1 คน คือนายโกศล เชาว์เลขา มีนักเรียนทั้งสิ้น 28 คน ชาย 16 คน หญิง 13 คน เด็กเกณฑ์ 4 คน ปัจจุบันมีนักเรียนในเขตบริการ 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านห้วยปมฝาด บ้านป่าคา บ้านห้วยกล้วย สรุปการบริหารตามปี มาขึ้นตำบลห้วยปูลิง พ.ศ. ดังนี้
ปีการศึกษา 2529 หมู่บ้านห้วยปมฝาด ได้แยกจากตำบลผาบ่อง มาขึ้นกับตำบลห้วยปูลิง
ปีการศึกษา 2533 ได้รับการจัดสรรอาคารเรียน 2 ห้องเรียน สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 3 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2533
ปีการศึกษา 2537 มีนายบุญเกิด ลิ้มกุล เป็นครูใหญ่ มีครูผู้สอนจำนวน 2 คน ย้ายมาช่วยราชการ 1 คน นักการภารโรง 1 คน เปิดสอนชั้นอนุบาล 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1,3,5 เกณฑ์ปีเว้นปี
ปีการศึกษา 2542 มีนายอุทัย วิรัตนาภรณ์ ได้ย้ายมาเป็นครูใหญ่
ปีการศึกษา 2548 มีนายอาคเนย์ ทิมิกุล ได้ย้ายมาเป็นครูใหญ่และภายหลังได้เป็นย้ายไปผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองขาวกลาง และได้รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยปมฝาดต่อ
ปีการศึกษา 2552 ได้มีนายดำรง เหลาโพธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยนา ได้ย้ายมารักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยปมฝาด
ปีการศึกษา 2553 มีนายอาคเนย์ ทิมินกุล ได้มารักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยปมฝาดจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ปีการศึกษา 2553 มีนายเดชา จันดาบุตร ได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
มีข้าราชการครูสายผู้สอนจำนวน 2 คน ครูอัตราจ้างจำนวน 1 คน ครูพี่เลี้ยงเด็กอนุบาลจำนวน 1 คน นักการภารโรง จำนวน 1 คน มีนักเรียนทั้งสิ้น จำนวน 32 คน เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล 1,2 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1,2,3,4 และ 6 ได้มีบริษัท คัลเนอร์ เมดิสัน และสยามแค

นาเดียนฟุต และคณะ ได้บริจาคสร้างอาคารเรียนชั้นเดียวพื้นติดดิน 4 ห้องเรียน เรียกว่า อาคารแฮรี่ กัลคิน สร้างเสร็จและมอบให้โรงเรียน เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยพลังงานธรรมชาตินเรศวร จังหวัดพิษณุโลกได้มาปรับปรุงระบบไฟโซล่า เซล ระหว่างวันที่ 22 – 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ได้รับบริจาคสนามเด็กเล่นจากกลุ่มหิ่งห้อย
ปัจจุบันโรงเรียนมีอาคารเรียน 2 หลัง จำนวน 7 ห้องเรียน บ้านพักครู 3 หลัง ห้องส้วม 1 หลัง อาคารห้องประชุมสร้างเอง 1 หลัง เรือนนอนชาย หญิง จำนวน 2 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง ลานกีฬาเอนกประสงค์ 1 สนาม บ้านพักภารโรง 1 หลัง ฐานพระพุทธรูป 1 ฐาน โรงเรียนมีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่
ลักษณะที่ตั้งของโรงเรียนโรงเรียนบ้านห้วยปมฝาดจะอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนประมาณ 50 กิโลเมตร เป็นชุมชนตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขา พื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขาและป่าไม้ที่มีที่ราบระหว่างภูเขาเล็กน้อย โดยมีคลองเล็กๆ น้ำไหลผ่านไม่ตลอดฤดู สภาพชุมชน ประชาชนเป็นชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงสะกอ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมประเพณีเช่น พิธีมัดมือ การเลี้ยงผี ฯลฯ มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยการปลูกไร่ข้าว และเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่ วัว ควาย ส่วนผู้หญิงจะมีการทอผ้าขายเป็นอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว ส่วนการเลี้ยงสัตว์จะเป็นการเลี้ยงปล่อยให้หาอาหารกินเอง การดำรงชีวิตจะเป็นแบบพึ่งพากันกับธรรมชาติ

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านห้วยปมฝาดเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณธรรม คงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรมีการพัฒนาตน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา ภายในปี 2557

คำขวัญ

“ สามัคคี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำสังคม”

พันธกิจ

พัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ประชากรวัยเรียนทุกคนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เป็นบุคคลที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีความสามารถประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน 4.ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบ-ธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป้าหมาย

1. นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานครบทุกสาระการเรียนรู้
2. นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
4. โรงเรียนมีเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน
5. โรงเรียนมีนำแหล่งเรียนรู้ในชุมชนมาจัดการเรียนการสอน เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิทยากรภายนอก
6. บุคลากรได้รับการพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
7. โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ

อักษรย่อ

ป.ฝ.

เพลง

-

ปรัชญา

“การศึกษาเป็นการพัฒนาชีวิต”