ประวัติ

โรงเรียนบ้านน้ำพุ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2499 โดยนายสวิง สีสรรพ์ ศึกษาธิการ อำเภอบ้านไร่ เป็นผู้จัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนวัดทองหลาง อาศัยศาลาของหมู่บ้านเป็น สถานที่เรียน มีครูมาทำการสอน 1 คน คือนายสวัสดิ์ กระแหน่ มีนักเรียนทั้งหมด 9 คน
ในปี พ.ศ. 2505 ได้เปลี่ยนสภาพเป็นครูคนเดียวเดินสอน สายน้ำพุ - คลองแห้ง
ในปี พ.ศ. 2514 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ข. 3 ห้องเรียน เปิดเรียนตั้งแต่ ชั้น ป.1 - ป.4 มีนักเรียน 31 คน มีครู 1 คน มีโต๊ะครู 3 ชุด โต๊ะนักเรียนนั่งคู่ 60 ตัว ม้านั่ง 120 ตัว กระดานดำ 3 แผ่น ได้เปิดทำการสอนเป็นโรงเรียนเอกเทศ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2514
ในปี พ.ศ. 2522 โรงเรียนบ้านดง สาขาของโรงเรียนบ้านน้ำพุเปิดเป็นโรงเรียนเอกเทศ และในปีเดียวกันโรงเรียนบ้านน้ำพุเปิดสาขาขึ้นใหม่ที่บ้านคลองหวาย
ในปี พ.ศ. 2523 โรงเรียนบ้านน้ำพุได้เปิดทำการสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีครูทั้งหมด 5 คน
วันที่ 16 ตุลาคม 2528 โรงเรียนบ้านน้ำพุสาขาโรงเรียนบ้านคลองหวายได้แยกเป็นเอกเทศ
วันที่ 30 มกราคม 2529 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.103/26 จำนวน 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 333,000 บาท โดยบริษัทพิทักษ์ธำรงค์ก่อสร้าง เป็นผู้ก่อสร้าง
วันที่ 11 สิงหาคม 2529 นายชิงชัย ทองไทยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านน้ำพุ
ในปี พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช.202/26 เป็นเงิน 200,000 บาท เรือนเพาะชำ 1 หลัง เป็นเงิน 20,000 บาท และต่อเติมอาคารเรียน แบบ สปช.103/26 จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 340,000 บาท ก่อสร้างโดยบริษัทเอ็ม โอ อุทัยธานี
วันที่ 8 พฤษภาคม 2531 นายชิงชัย ทองไทย ครูใหญ่โรงเรียนบ้านน้ำพุได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบ้านไร่
วันที่ 16 กรกฎาคม 2531 นายจำนงค์ เชื้อชวด ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านน้ำพุ แทนนายชิงชัย ทองไทย
ในปี พ.ศ. 2538 นายจำนงค์ เชื้อชวด ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอหนองขาหย่าง
ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2538 นายรัตนชัย ศรีโกมล ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านน้ำพุ แทนนายจำนงค์ เชื้อชวด
ในปี พ.ศ. 2539 โรงเรียนบ้านน้ำพุได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียน 23 คน ในปีเดียวกันสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี ได้จ้างลูกจ้างชั่วคราวมาทำการสอน 2 คน
ในปี พ.ศ. 2539 ได้เลื่อนฐานะหัวหน้าสถานศึกษาขึ้นเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนโดยนายรัตนชัย ศรีโกมล ดำรงตำแหน่งเป็นคนแรก
ในปี พ.ศ. 2551 นายรัตนชัย ศรีโกมล ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนองบัว
ในวันที่ 1 ธันวาคม 2551 นายชัยรัตน์ แป้นห้วย ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำพุ แทนนายรัตนชัย ศรีโกมล
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านน้ำพุ จัดการศึกษา 3 ระดับ คือ
- ระดับก่อนประถมศึกษา เปิดสอนชั้นอนุบาล 1 - 3
- ระดับประถมศึกษา เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3
มีนักเรียนทั้งสิ้น 275 คน มีข้าราชการครู 14 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 1 คนนักการภารโรง 1 คน

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านน้ำพุจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงเสมอภาคมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ผู้เรียนมีจิตสำนึกในความเป็นชาติไทย มีคุณธรรม มีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

คำขวัญ

สร้างปัญญา กีฬาเด่น เน้นวินัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

พันธกิจ

1. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ประชากรวยเรียนทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
2. พัฒนาความรู้ความสามารถของผู้เรียนเต็มศักยภาพ
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกในความเป็นชาติไทย มีคุณธรรม มีวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. พัฒนาครูและบุคลากรให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา
6. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

เป้าหมาย

1. ประชากรวัยเรียนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลช่วยเหลือให้รับการศึกษา จนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
2. ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมนำความรู้ มีวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการพัฒนาให้มีการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ สามารถจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และมีจำนวนเพียงพอที่จะจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
4. มีความเข้มแข็งในการบริหารการจัดการศึกษา โดยยึดหลักธรรมมาภิบาลและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

อักษรย่อ

น.พ.