ประวัติ

โรงเรียนบ้านหัวนา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2478 เดิมจัดตั้งเป็นสาขาของโรงเรียน
ประชาบาลตำบลหนองฮี 1 ชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลตำบลหนองฮี 5 (วัดบ้านหัวนา) อาศัยศาลาวัดเป็นสถานที่เรียน มีครูจำนวน 2 คนคือ นายประสิทธิ์ สุขประเสริฐ เป็นครูใหญ่ และนายเกษม
กองสุข มีนักเรียน 122 คน เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4
พ.ศ. 2507 โรงเรียนและหมู่บ้านได้ย้ายมาขึ้นกับตำบลหนองทัพไทย อำเภอพนมไพร จึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนวัดบ้านหัวนา
พ.ศ. 2513 คณะครูและชาวบ้านได้ร่วมบริจาคเงินจำนวน 23,600 บาท เพื่อจัดซื้อที่ดินจำนวน 4 ไร่ 20 ตารางวา ( ที่ดินปัจจุบัน ) เพื่อสร้างอาคารเรียนเป็นเอกเทศ
พ.ศ. 2515 ได้ก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก แบบ ป. 1 ฉ ขนาด 4 ห้องเรียน ในที่ดินที่ซื้อใหม่จนถึงปัจจุบัน และ พ.ศ. 2524 ได้ก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ 2 ป. 1 ก พิเศษ จำนวน 4 ห้องเรียน
พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้เปิดสอนระดับประถมศึกษาตอนปลาย(ป.5-6)
พ.ศ. 2534 คณะครูและชาวบ้านได้จัดซื้อที่ดินเพิ่มอีก 2 งาน 55 ตารางวา เพื่อปลูกสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105 – 29 จำนวน 2 ชั้น 4 ห้องเรียน และได้รับบริจาคจากคณะผ้าป่าจากกรุงเทพและศิษย์เก่า ในการต่อเติมชั้นล่างอีกจำนวน 2 ห้อง
พ.ศ. 2539 โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 3 ขวบ ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 32 คน
พ.ศ. 2546 ยกอาคารเรียน ป.1 ฉ โดยงบประมาณบริจาคจากชุมชน 235,227 บาท
พ.ศ. 2546 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบวิถีพุทธของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
พ.ศ. 2550 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ
พ.ศ. 2551 ได้รับงบประมาณก่อสร้างห้องสมุดเอกเทศ จากองค์การบริหารส่วน ตำบลหนองทัพไทย จำนวน 120,000 บาท
พ.ศ. 2554 ยกอาคารเรียน ป.1 ก พิเศษ และอาคารเอนกประสงค์ โดยได้รับงบประมาณจากผ้าป่าศิษย์เก่า จำนวน 480,000 บาท

คำขวัญ

การเรียนเด่น เน้นคุณธรรม นำพัฒนา พลานามัยดี มีประชาธิปไตย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย

โรงเรียนบ้านหัวนามุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน จึงกำหนดเป้าประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ดังนี้
1. เพื่อให้ระบบบริหารจัดการของโรงเรียนมีความเข้มแข็ง
2. นักเรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. บุคลกรทุกคนมีความรู้ ความสามารถและมีคุณภาพ
4. สภาพภูมิทัศน์ร่มรื่น สวยงาม เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
5. ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามศักยภาพ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

อักษรย่อ

ห.น.

ปรัชญา

ทนฺโต เสฏโฐ มนุสเสสุ
(ชนผู้ฝึกฝนตนดีแล้ว ย่อมเป็นผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย)