ประวัติ

โรงเรียนโคกเมยประชาพัฒนา ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านสวนโคก ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์46130 โทรศัพท์ 043-890034 website http://www.......................................... email
ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2477 โดยนายสมดี จตุทัศน์ นายอำเภอกมลาไสย สมัยนั้น ครั้งแรกใช้ศาลาวัดสวนโคกเป็นสถานที่จัดการศึกษา ชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลตำบลดงลิง 7 (วัดสวนโคก) ใช้งบประมาณการศึกษาพลีในการดำเนินการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1-4 มีนายทองคำ สุขบรมเป็นครูใหญ่คนแรก มีนักเรียนมาเรียน 2 หมู่บ้าน คือบ้านสวนโคกและบ้านเมย
ต่อมาปี พ.ศ. 2480 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ หมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เป็นเงิน 600 บาท เพื่อเป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ขนาด 3 ห้องเรียน กว้าง 9 เมตร ยาว 27 เมตร ยกพื้นสูง 1.50 เมตรในที่ดินของนายสมดี ยุบลพริ้ง กับพวก ซึ่งได้ยกให้เป็นสมบัติของทางราชการ
พ.ศ. 2488 ได้ย้ายมาเรียนที่อาคารเรียนสร้างใหม่เป็นเอกเทศ และในขณะเดียวกันได้ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่เป็นโรงเรียนสวนโคกวิทยา มีนายกอง บัณฑิโต เป็นครูใหญ่
พ.ศ. 2502 ได้มาการซ่อมแซมอาคารเรียนที่ชำรุดทรุดโทรม สิ้นงบประมาณ 700 บาท
วันที่ 12 สิงหาคม 2505 นายทา มละสารได้ย้ายมาดงรงตำแหน่งครูใหญ่แทนนายกอง บัณฑิโต ซึ่งเกษียณอายุราชการ ได้พัฒนาโรงเรียน โดยการทำรั้วโรงเรียนใหม่ด้วยเสาไม้เนื้อแข็ง ขนาด 5 5 นิ้ว ยาว 1 เมตร ขึงด้วยลวดหนาม เสาไม้จำนวน 187 ต้นคิดเป็นมูลค่า 971 บาท
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2506 นายประเคน โพธิชัย ได้ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านแวงประชารัฐบำรุง มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทนนายทา มะละสาร ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนหนองตุวิทยา
ในปี พ.ศ. 2515 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่จากโรงเรียนสวนโคกวิทยา เป็นโรงเรียนโคกเมยประชาพัฒนา และได้ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน และในปีเดียวกันได้เปิดทำการสอนถึงชั้นประถมปลาย (ป.7) ขึ้น และในปี พ.ศ. 2516 ได้รับงบประมาณ ในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 017 ประเภท
สมทบทุน โดยชาวบ้านสมทบทุนเป็นเงิน 10,000 บาท ทางราชการจัดสรรให้ 262,000 บาท
ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า อาคาร 1
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2524 นายประเคน โพธิชัย ครูใหญ่ ได้ถึงแก่กรรม ทางราชการได้แต่งตั้งให้นายดำริ ศิริบุตร ผู้ช่วยครูใหญ่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่แทน และในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2525 สปจ. กาฬสินธุ์ ได้แต่งตั้งให้นายดำริ ศิริบุตร เป็นอาจารย์ใหญ่ เพื่อบริหารโรงเรียนต่อมา เมื่อเดือนกันยายน 2525 โรงเรียนได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่างของอาคารแบบ 017 จำนวน 4 ห้อง เป็นเงิน 95,000 บาท
ปีงบประมาณ 2533 โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 105/29 จำนวน 1 หลัง 6 ห้องเรียน สิ้นเงิน 1,337,000บาท ปัจจุบันเรียกว่า อาคาร 2
ในปีงบประมาณ 2542 ได้รับงบประมาณ ก่อสร้างส้วม แบบ สปช. 601 /2 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง
วันที่ 30 กันยายน 2542 นายดำริ ศิริบุตร อาจารย์ใหญ่ ได้เกษียณอายุราชการ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2542 สปจ. กาฬสินธุ์ ได้แต่งตั้งนายสมศักดิ์ อุดมรัตน์ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน ในวันที่ 1 ตุลาคม 2545 สปจ.กาฬสินธุ์
วันที่ 23 พฤษภาคม 2543 ทางโรงเรียนได้รับบริจาค จากคุณยายสี อุดมรัตน์ พร้อมคณะญาติ ก่อสร้างอนุสรณ์คุณตาโส อุดมรัตน์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ให้ คุณตาโส อุดมรัตน์ ข้าราชการบำนาญที่ถึงแก่กรรม ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 16 เมตร มีมุขด้านหน้า สิ้นเงิน 150,000 บาท โดยคุณยายสีพร้อมคณะญาติ บริจาค 120,000 บาท ชาวบ้านสวนโคก บ้านเมย คณะครู ผู้ปกครอง บริจาค สมทบ 30,000 บาท ก่อสร้างแล้วเสร็จทำพิธีเปิดในวันที่ 23 มิถุนายน 2543 โดยใช้ชื่ออาคารว่า อาคารอนุสรณ์ คุณตาโส อุดมรัตน์ ปัจจุบันใช้จัดการเรียนการสอนชั้นปฐมวัย
วันที่ 1 ตุลาคม 2544 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจากการกีฬาแห่งประเทศก่อสร้างสนามบาสเกตบอลมาตรฐาน โดยผ่านทางท่าน ส.ส. บุญรื่น ศรีธเรศ โดยศูนย์กีฬาจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง สิ้นเงิน 225,000 บาท
วันที่ 1 ตุลาคม 2545 สปจ.กาฬสินธุ์ ได้แต่งตั้ง นายสมศักดิ์ อุดมรัตน์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
วันที่ 23 ตุลาคม 2545 คณะศิษย์เก่าที่จบ ป.6 รุ่น 2521 ได้ก่อสร้างพระบรมรูปรัฐกาลที่ 5 เพื่อมอบให้โรงเรียน สิ้นเงิน 35,000 บาท วันที่ 8 ธันวาคม 2545 ทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนในการถมสนามฟุตบอล ซึ่งมีสภาพเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมทุกปี โดยผ่านทาง สจ. ภานุพันธ์ เชาว์น้อย ดำเนินการจนแล้วเสร็จสมบูรณ์
วันที่ 2 ธันวาคม 2545 คณะศิษย์เก่าที่จบ ป. 6 รุ่น 2524 ได้ก่อสร้างพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 เพื่อเป็นอนุสรณ์ของรุ่น สิ้นเงิน 30,000 บาท
วันที่ 1 มิถุนายน 2546 ทางโรงเรียนพร้อมด้วยคณะศิษย์เก่า รุ่นที่จบ ป.6 ปี 2527 พร้อมด้วยผู้ปกครอง คณะครูชุมชน ร่วมกันก่อสร้างถนนคอลกรีตเสริมเหล็กภายในโรงเรียน ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 170 เมตร สิ้นเงิน 160,000 บาท วันที่ 16 มีนาคม 2547 คณะศิษย์เก่าที่จบ ป.6 ปี 2526 ได้ก่อสร้างถนนคอลกรีตเสริมเหล็กต่อ เป็นระยะทางยาว 81 เมตร สิ้นเงิน 62,282 บาท และได้จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ มอบให้โรงเรียนจำนวน 3 เครื่อง เป็นเงิน 49,000 บาท
วันที่ 8 มกราคม 2551 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 มีคำสั่งให้นายสมศักดิ์ อุดมรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนสีถานดำรงวิทย์ และได้
แต่งตั้งนายทวี อรรถวิลัย ให้มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน จนถึงปัจจุบัน
วันที่ 26 มีนาคม 2551 โรงเรียนจัดกิจกรรมอบรมนักเรียนเด็กไทยห่างไกลยาเสพติด และมอบเงินทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน จำนวน 76 ทุน
วันที่ 14 เมษายน 2551 ศิษย์เก่ารุ่นจบปีการศึกษา 2529 มอบเงินจำนวน 61,475 บาท เพื่อสมทบทุนก่อสร้างหอสมุดโรงเรียนโคกเมยประชาพัฒนา
วันที่ 30 มีนาคม 2552 ได้รับบริจาคจากผู้ปกครอง และชุมชน เป็นเงิน 150,000 บาท และนำไปต่อเติมอาคารอเนกประสงค์ และห้องครัวจนแล้วเสร็จ
วันที่ 13 เมษายน 2552 ได้รับบริจาคจากผู้ปกครอง และชุมชน ในงานคืนสู่เหย้าศิษย์เก่าโคกเมย ได้รับเงินทั้งสิ้น 577,000 บาท และจะนำไปสมทบในการก่อสร้างหอสมุดโรงเรียนต่อไป
วันที่ 13 เมษายน 2553 โรงเรียนร่วมกับชุมชนทั้ง 4 หมู่ ร่วมทำพิธีเปิดป้ายหอสมุดโรงเรียนโคกเมยประชาพัฒนา ซึ่งสิ้นเงินก่อสร้างจากการบริจาคของศิษย์เก่ารุ่นปีพ.ศ. 2490 –พ.ศ. 2535 เป็นเงินทั้งหมด 667,910 บาท
ปัจจุบันโรงเรียนโคกเมยประชาพัฒนา จัดการเรียนการสอนเป็น 2 ระดับ คือระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา มีครูจำนวน 12 คน และพนักงานข้าราชการครู จำนวน 1 คน
นับรวมถึงปีการศึกษา 2554 เป็นเวลา 78 ปี
ที่ตั้งของโรงเรียนมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ จรดกับวัดบ้านสวนโคก และชุมชนบ้านสวนโคกหมู่ที่ 1
ทิศใต้ จรดกับหนองเมย และชุมชนบ้านเมยหมู่ที่ 11
ทิศตะวันออก จรดกับชุมชนบ้านสวนโคกหมู่ที่ 13
ทิศตะวันตก จรดกับชุมชนบ้านสวนโคกหมู่ที่ 1 และชุมชนบ้านเมยหมู่ที่ 11
ในพื้นที่เขตบริการประกอบด้วย 1. บ้านสวนโคก หมู่ที่ 1 2. บ้านสวนโคก หมู่ที่ 13
3. บ้านเมย หมู่ที่ 5 4. บ้านเมย หมู่ที่ 11 ประชากรทั้งหมดจำนวน 2,542 คน (แยกเป็นชาย 1,268 คน หญิง 1,274 คน)
ภาพรวมชุมชนในพื้นที่การบริหารมีสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. สภาพชุมชนความเป็นอยู่ เป็นกึ่งสภาพชุมชนเมืองกับสภาพชุมชนชนบท ความเจริญด้านวัตถุ
(บริโภคและอุปโภค)เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมสมัยเก่ากับสมัยใหม่
2. สภาพเศรษฐกิจ โดยเฉลี่ยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ก็ยังมีหลายครอบครัวที่มีเศรษฐกิจยากจน
คนในชุมชนร้อยละ 98 ประกอบอาชีพหลักคือการทำนา(ทำปีละ 2 ครั้ง)และประกอบอาชีพสำรองคืออาชีพรับจ้างในต่างจังหวัดในช่วงว่างจากการทำนา ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของสมาชิกในครัวเรือนขาดความอบอุ่น แตกแยก หย่าร้าง เป็นต้นอยู่ในเขตบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเทศบาลตำบลดงลิง
ปัจจุบันโรงเรียนโคกเมยประชาพัฒนา เป็นโรงเรียนขนาดกลาง เปิดทำการสอน 2 ระดับ คือ
ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ในรอบ 4 ปี การศึกษาที่ผ่านมามีนักเรียนเฉลี่ยปีการศึกษาละ 245 คน และคาดการณ์ใน 4 ปีการศึกษาข้างหน้าจะมีนักเรียนเฉลี่ย ปีการศึกษาละ 205 คน
ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาตามนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 โรงเรียนได้ถูกกำหนดให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ ซึ่งมีความมุ่งหมายให้มีการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักพุทธธรรม ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินการ


2. ปรัชญา/สุภาษิต คำขวัญและสีประจำโรงเรียน

ปรัชญา/สุภาษิต
ความรู้ คู่ คุณธรรม หมายถึง วิชากับวินัย คือ หัวใจของเรา (วิชชาจะระณะสัมปันโน)

คำขวัญ
สุขภาพดี มีวินัย ใฝ่ศึกษา พัฒนาสังคม

สีประจำโรงเรียน
สีเขียว - สีเหลือง
หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์รุ่งเรืองด้วยองค์ความรู้ที่ควบคู่กับคุณธรรม
สีเขียว
หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ด้วยองค์ความรู้ที่ควบคู่กับคุณธรรม
สีเหลือง
หมายถึง ความรุ่งเรือง

วิสัยทัศน์

โรงเรียนโคกเมยประชาพัฒน จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาประชากรวัยเรียน เน้นความรู้คู่ คุณธรรม ได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School Based Management)

คำขวัญ

สุขภาพดี มีวินัย ใฝ่ศึกษา พัฒนาสังคม

พันธกิจ

1. จัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาให้เด็กกลุ่มอายุย่างเข้าปีที่ 5 - 6 ในเขตบริการให้ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดในเขตบริการของโรงเรียน ให้ได้เข้าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่หก และได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน
3. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management)
4. ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
5. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
6. พัฒนาสถานศึกษาตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด

เป้าหมาย

1. เพิ่มอัตราการเข้าเรียนทุกระดับ ทั้งเด็กทั่วไป ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสในเขตบริการและลดอัตรา การออกกลางคันของนักเรียน
2. ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
4. ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพ
5. สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
6. พัฒนาสถานศึกษาได้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด

อักษรย่อ

ค.พ.ม.

ปรัชญา

ความรู้ คู่ คุณธรรม หมายถึง วิชากับวินัย คือ หัวใจของเรา (วิชชาจะระณะสัมปันโน)