ประวัติ

โรงเรียนนี้นายเหลือบ ปราบศัตรู นายอำเภอกุมภวาปีเป็นผู้ก่อตั้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2485
มีนายแน่น เครือเขื่อนเพชร เป็นครูใหญ่คนแรก และนายสมบูรณ์ อนุสุวรรณเป็นครูน้อย เปิดทำการสอนที่บ้านนาทัน หมู่ที่ 16 ตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี อาศัยศาลาวัดเป็นสถานที่เล่าเรียน ตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลสีออ 10 เปิดทำการสอนจาก ป.1-ป.4 ดำเนินการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้เงินช่วยเหลือจากการประถมศึกษาแผ่นดิน
พ.ศ. 2488 นักเรียนน้อยลงจึงได้ยุบโรงเรียนบ้านนาทัน มาตั้งที่บ้านทมป่าข่า หมู่ที่ 16 ตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นโรงเรียนประชาบาล 10 มีนานแก่น ประสานสุข เป็นครูใหญ่ นายสมบูรณ์ อนุสุวรรณเป็นครูน้อย อาศัยศาลาวัดเป็นที่เล่าเรียน จนถึง พ.ศ. 2512
พ.ศ. 2513 ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลสร้างอาคารเอกเทศใหม่ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ พ.ศ.2514 นายแน่น เครือเขื่อนเพชร ถึงแก่กรรม นายสวัสดิ์ ฮองสาขำ มาดำรงตำแหน่งแทน และได้ขอความร่วมมือจากชาวบ้านสร้างอาคารต่อจนเสร็จสมบูรณ์ และเปิดทำการสอนเมื่อ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2515 โดยมีนายวีรศักดิ์ พิริยสุทธิ์ ศึกษาธิการอำเภอกุมภวาปี เป็นประธานทำพิธีเปิดและใช้ชื่อใหม่ว่า “ โรงเรียนบ้านทมป่าข่าประชานุกูล ”
ต่อมาโรงเรียนบ้านห้วยหมากหล่ำ ถูกคำสั่งยุบ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2542 จึงย้ายเด็กนักเรียนมารวมกับโรงเรียนชุมชนทมป่าข่าซึ่งมีทั้งหมด 52 คน
ปัจจุบันโรงเรียนชุมชนทมป่าข่ามีครู 18 คน นักเรียน 355 คน พนักงานราชการ 1 คน พนักงานบริการ 1 คน มีอาคารเรียน 4 หลัง อาคารอเนกประสงค์ 2 หลัง ผู้อำนวยการโรงเรียน
คือ นายชัยนาท ภูธนกรานต์

วิสัยทัศน์

โรงเรียนชุมชนทมป่าข่า มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม ทักษะด้านไอซีที โดยมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลเมืองโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

คำขวัญ

พัฒนาถิ่นเกิด เลิศคุณธรรม
นำความรู้ สู่เทคโนโลยี

พันธกิจ

จัดการเรียนการสอนให้ครบทุกกลุ่มประสบการณ์ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. จัดแหล่งเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ทั้งในและนอกสถานศึกษา
3. มีการพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม
5. ครูนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน
6. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กรักและพัฒนาธรรมชาติให้ร่มเย็น
7. ส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้หลากหลาย
8. ปลูกฝังให้นักเรียนเกิดความรัก และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติของตนเอง

เป้าหมาย


1. นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทุกกลุ่มประสบการณ์
2. นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. บุคลากรในโรงเรียนเข้ารับการอบรมเพื่อนำมาพัฒนาการเรียนการสอน
4. โรงเรียนร่วมกับชุมชนในการจัดกิจกรรมประเพณี
5. นักเรียนมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในชีวิตจริงได้
6. นักเรียนทุกคนสามารถอนุรักษ์ทรัพยากรได้อย่างถูกต้อง
7. นักเรียนสามารถนำความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
8. นักเรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนในการรักษาและพัฒนาสภาพแวดล้อมได้