ประวัติ

โรงเรียนบ้านตลิ่งสูง เริ่มก่อตั้งเปิดทำการสอน ตั้งอยู่เลขที่ ๒๑๘ หมู่ ๓ ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี เป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านโป่งข่อย กลุ่มโรงเรียนทองหลาง สำนักงานการประถมศึกษา อำภอห้วยคต สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ โดยมี นายแล สุขสะอาด นายก้าน การเรือน และนางพุฒ ก้อนจันทร์เทศ ได้ร่วมกันบริจาคที่ดินทำกินซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน ๒๔ ไร่ ให้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ด้วยความร่วมมือของประชาชนชาวบ้านตลิ่งสูง ชาวบ้านภูเหม็นและบ้านใกล้เคียง ร่วมกันบริจาควัสดุและร่วมออกแรงงานในการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว มีนักเรียนมาเรียนทั้งสิ้น ๗๒ คน เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีครูมาทำการสอน ๑ คน คือ นายเสน่ห์ ขาวโต ตั้งชื่อโรงเรียนบ้านตลิ่งสูง
ต่อมาได้ เป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านโป่งข่อย กลุ่มโรงเรียนทองหลาง สำนักงานการประถมศึกษา อำเภอห้วยคต สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
โรงเรียนบ้านตลิ่งสูงจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้น ก่อนประถมศึกษา- ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปัจจุบัน มีนายรุ่ง สุริยกานต์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านตลิ่งสูง กำหนดให้ผู้เรียนโรงเรียนบ้านตลิ่งสูงเป็นคนดี มีคุณธรรม มีความสุข ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มีความสามารถ มีทักษะการคิด ทักษะชีวิต และทักษะการสื่อสารตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คำขวัญ

สุโขปัญญา ปฏิลาโภ
“มีปัญญา พาให้มีความสุข”

พันธกิจ

ให้บริการการศึกษาภาคบังคับ โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่ระดับ ชั้นอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตบริการของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

เป้าหมาย

1.เด็กที่อยู่ในวัยเรียนการศึกษาภาคบังคับขั้นพื้นฐานทุกคน ได้รับบริการการศึกษาตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2.โรงเรียนให้บริการทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
3.ครูมีศักยภาพและสมรรถนะต่อการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4.โรงเรียนใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักธรรมาภิบาล แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานหลักการจัดการความรู้ มาใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ และระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนได้มาตรฐาน และเป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.โรงเรียนมีความเข้มแข็งและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา

อักษรย่อ

ต.ส.

ปรัชญา

“สุขภาพดี มีปัญญา รักษาสิ่งแวดล้อม”
สุขภาพดี หมายถึง สุขภาพกายและสุขภาพใจดี
มีปัญญา หมายถึง ศีล สมาธิ ทำให้เกิดปัญญาและความรู้
รักษาสิ่งแวดล้อม หมาย ถึง ต้องรักษาทั้งในและนอกโรงเรียน