ประวัติ

โรงเรียนจัดตั้งเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๔๖๕ โดยรองอำมาตย์หลวงนิคม พรรณเขต นายอำเภอท่าบ่อได้จัดตั้งขึ้นดำรงอยู่ได้ด้วยเงินชาวบ้านครอบครัวละ ๑ บาท ต่อปี ตั้งชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนบ้านดอนก่อตำบลศรีเชียงใหม่” จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรและประมวลการศึกษาพิเศษภาคเรียนที่ ๑ และภาคเรียนที่ ๒ ในการจัดตั้งครั้งนี้ มีงบประมาณจากการศึกษามาสนับสนุนด้วย มีนายบุตรดี ราชตาคม เป็นครูใหญ่ต่อ ๑ ปี ท่านก็ถึงแก่กรรมจนกระทั่งวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๖๗ ทางราชการเห็นว่ามีจำนวนนักเรียนน้อย จึงให้โอนไปเรียนกับโรงเรียนวัดสว่าง บ้านหม้อ ต่อมาได้รับการยกเว้นเพราะระยะทางไกลเกิน ๘๐ เส้น
เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๙ รองอำมาตย์หลวงเอกแก้ว โกมล นายอำเภอ
ท่าบ่อ ได้จัดตั้งขึ้นเป็นแหล่งที่ ๔ ในตำบลศรีเชียงใหม่จึงได้ชื่อว่า “โรงเรียนประชาบาลศรีเชียงใหม่ ๔”
(วัดบ้านดอนก่อ) และได้ย้ายจากวัดบ้านดอนก่อโนนสวรรค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ และในปีการศึกษา ๒๕๓๕ ได้เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น) และมีผู้บริหารโรงเรียน
ในตำแหน่งปัจจุบัน คือ นายพงษ์วุฒิ บุญมานาง

วิสัยทัศน์

ภายในปี ๒๕๕๖ โรงเรียนดอนก่อโนนสวรรค์ จะเป็นโรงเรียนที่มีคุณธรรมนำความรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คำขวัญ

เรียนดี ก๊ฬาเด่น เน้นวินัย ใฝ่คุณธรรม

พันธกิจ

๑.จัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาให้เด็กกลุ่มอายุย่างเข้าปีที่ ๕ -๖ ในเขตบริการให้ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนนัช้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๒.จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดในเขตบริการของโรงเรียน ให้ได้เข้าเรียนจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก และได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน
๓.พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
๔.ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
๕.พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
๖.พัฒนาสถานศึกษาตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
๗.ส่งเสริมการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๘.จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีทักษะที่ดี มีภูมิคุ้มกัน เพื่อการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม

เป้าหมาย

๑. เพิ่มอัตราการเข้าเรียนทุกระดับ ทั้งเด็กทั่วไป ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสในเขตบริการและลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียน
๒. ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓. สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
๔. ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพ
๕. สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
๖. พัฒนาสถานศึกษาได้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
๗. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๘. ผู้เรียนมีทักษะชีวิตที่ดี มีภูมิคุ้มกัน เพื่อการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม

อักษรย่อ

ด.ส.ว.