ประวัติ

โรงเรียนพระพุทธบาทเทสรังสีวิทยา ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๘๓ ใช้ชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลพานพร้าว (วัดพระบาท) อาศัยศาลาวัดเป็นที่เรียน มีนักเรียน ๔๓ คน
วันที่ 1 พฤษภาคม เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนบ้านพระบาท ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๙๖
ได้ย้ายโรงเรียนจากวัดพระบาท ไปปลูกสร้างใหม่ ที่ริมฝั่งโขง วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๐๗ ชาวบ้านโคกซวก ได้จัดสร้างโรงเรียน และแยกนักเรียนไป ๔๒ คน ตั้งชื่อโรงเรียนบ้านโคกซวก ในปีการศึกษา ๒๕๑๔
รวมสองโรงเรียนเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อใหม่ว่า โรงเรียนพระพุทธบาทโคกซวก ปีการศึกษา ๒๕๒๐ ได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนพระพุทธบาท ซึ่งปลูกสร้างในที่ดินโรงเรียนในปัจจุบัน และในปีเดียวกัน
พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ) เจ้าอาวาส
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ได้บริจาคเงินเพื่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.
๑๐๕/๒๖ จำนวน ๑ หลัง และห้องสมุด จำนวน ๑ ห้อง หนึ่งล้านบาท สร้างเสร็จในปี ๒๕๓๐ และในปี ๒๕๓๒ ได้สร้างเพิ่มอีก ๑ หลัง ตามแบบ สปช. ๑๐๕/๒๖ ราคาประมาณหนึ่งล้านบาท คณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย ขออนุมัติเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนพระพุทธบาทเทสรังสีวิทยา”
ตามฉายาของหลวงปู่ที่อนุญาตให้ใช้ได้
ปัจจุบัน นายดุสิต เหมือนบุดดี ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยสถานศึกษา จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
มีนักเรียนรวม 278 คน (ข้อมูล 10 มิ.ย.55)

วิสัยทัศน์

“สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรม
นำครูสู่มาตรฐาน ประสานชุมชนร่วมพัฒนา
ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น”

คำขวัญ

สิ่งแวดล้อมเด่น เน้นคุณภาพการศึกษา
ส่งเสริมการกีฬา พัฒนาชุมชน

พันธกิจ

๑. จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนที่สะอาดและน่าอยู่ เอื้อต่อการเรียนรู้
๒. จัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่พึงประสงค์
๓. ส่งเสริม สนับสนุนบุคลากรให้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
๔. ให้ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
๕. จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป้าหมาย

๑. จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนที่สะอาดและน่าอยู่ เอื้อต่อการเรียนรู้
๒. จัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่พึงประสงค์
๓. ส่งเสริม สนับสนุนบุคลากรให้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
๔. ให้ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
๕. จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

อักษรย่อ

พทว.

ปรัชญา

นตถิ. ปญ.ญาสมาอาภา
แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญาไม่มี