ประวัติ

นโยบายงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในโรงเรียน(คบส.)

ในปัจจุบัน ประชาชนได้ตระหนักถึงสิทธิของตนเองในฐานะผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อที่จะได้บริโภคสินค้า หรือการบริโภคที่สะอาด ปลอดภัย และเป็นธรรม ประหยัด และสมประโยชน์ ประกอบกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ผ่านมา ส่งผลให้สภาพปัญหาของการละเมิดผู้บริโภคมีแนวโน้มสูงขึ้น มีผู้ประกอบการอีกไม่น้อยที่ยังคงพยายามแสวงหาผลกำไรสูงสุดในการประกอบธุรกิจ โดยขาดความรับผิดชอบ ไม่สนใจหน้าที่ที่มีต่อสังคม ทำให้เกิดผลกระทบต่อ
ผู้บริโภค
เพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคอันพึงประสงค์ สามารถตัดสินใจในการบริโภคสินค้า และการบริการได้อย่างเหมาะสมปลอดภัย อันเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ผู้บริโภคในการป้องกันอันตรายที่เกิดจากการบริโภคได้อย่างดีที่สุด
การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคได้กำหนดไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 57 ได้บัญญัติไว้ว่า “ สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง” จึงได้มีนโยบายในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในโรงเรียน(คบส.) ดังต่อไปนี้
1)ให้จัดตั้งกลุ่มผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในโรงเรียน(คบส.) ซึ่งประกอบไปด้วย
-ผู้อำนวยการโรงเรียน
-คณะครู
-ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน
-ตัวแทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
-ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
-กลุ่มแกนนำ คบส./อย.น้อย
2)ให้ดำเนินกิจกรรม คบส.ในโรงเรียน และชุมชน ซึ่งประกอบไปด้วย
-โครงการงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในโรงเรียน
-ปฏิทินปฏิบัติงาน
-เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุภาพ(อาหาร ยา เครื่องสำอางและวัตถุอันตราย) ซึ่งได้แก่
(1.) กิจกรรมเสียงตามสายในโรงเรียนในตอนพักกลางวันทุกวัน
(2.)กิจกรรมให้ความรู้หน้าเสาธงหลังเคารพธงชาติ
(3.) จัดทำมุม/ซุ้มความรู้/จุดความรู้ คบส.
(4.) การจัดบอร์ดนิทรรศการ
(5.) การจัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
4.) การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
(1.)การตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านค้าในชุมชน /สหกรณ์ /โรงอาหารในโรงเรียน /แผงลอย/ร้านค้า/ร้านชำในชุมชน
(2.) การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารในโรงเรียนและชุมชนใกล้เคียงโดยใช้ชุดทดสอบภาคสนาม
(4.)จัดกิจกรรมพิเศษอื่นๆ
(1.) จัดกิจกรรม คบส.ในสัปดาห์ส่งเสริมสุขภาพ
(2.) การเดินรณรงค์ให้ความรู้ในงานกีฬา / งานชุมชนต่างๆประจำปี
(3.) จัดโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ อาหาร ยา เครื่องสำอาง และวัตถุอันตรายโดยมีการเผยแพร่กิจกรรมสู่ชุมชน
(5.) การรายงานผล ประกอบไปด้วย
(1.)ให้มีการจดบันทึกกิจกรรมต่างๆที่ได้ดำเนินงานของโรงเรียน หรือของกลุ่มแกนนำ ตามแบบบันทึกกิจกรรม โดยแกนนำอาสาสมัครของโรงเรียน หรือกลุ่ม คบส.หรือ อย.น้อย
(2.)สรุปผลการดำเนินงาน และเผยแพร่กิจกรรมดำเนินงานต่อ
- ผู้อำนวยการโรงเรียน
-คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
-ผู้ปกครอง
-ชุมชน
-หน่วยงานที่สนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน

วิสัยทัศน์

เน้นคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานวัฒนธรรมไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมพลานามัย ใช้เทคโนโลยี

คำขวัญ

ชูคุณธรรม นำสิ่งแวดล้อม พร้อมพลานามัย ก้าวไกลวิชาการ สืบสานวัฒนธรรมไทย

อักษรย่อ

ป.ด.