ประวัติ

โรงเรียนบ้านแม่รังก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2496 ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลองจังหวัดแพร่ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ที่เห็นประโยชน์ความสำคัญของการศึกษาตอนนั้นมีนายถวิล จริยโกวิท เป็นนายอำเภอ นายแก้ว วิริยะศิริ เป็นศึกษาธิการอำเภอ นายอินปั๋น เอ้ยวัน (ศิริสานสุวรรณ) เป็นกำนันตำบลหัวทุ่งในขณะนั้น นายไหล อัศวมงคล เป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้ปลูกสร้างอาคารเรียนชั่วคราว เปิดการสอนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2496 มีนักเรียนจำนวนทั้งหมด 26 คน นักเรียนชายจำนวน 17 คน นักเรียนหญิงจำนวน 9 คน ต่อมาประชาชนและข้าราชการในอำเภอลอง ได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนถาวร ขนาด 8 x 12 เมตร จำนวน 2 ห้องเรียนโดยมีคณะครูในอำเภอลอง ได้ร่วมกันบริจาคเงินซื้อกระเบื้องมุงหลังคา ซึ่งมี นายจำนงค์ กมลรัตนานันท์ เป็นครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2504 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน จำนวน 30,000 บาท พร้อมกันนี้ก็ได้ มาอยู่สถานที่ปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่คับแคบยากแก่การขยายในวันข้างหน้า
ในปัจจุบันโรงเรียนบ้านแม่รัง (จัดสรรราษฎร์สงเคราะห์) มีข้าราชการครู 14 คน
พนักงานราชการจำนวน 1 คน พี่เลี้ยงเด็กพิเศษ 1 คน นักการภารโรง 1 คน จัดการศึกษา 3 ระดับ คือ จัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 137 คน

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านแม่รัง มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นคนดี มีความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่อนาคตที่สดใสก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี ทุกภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนา มุ่งการศึกษาสู่ความเป็นสากล

คำขวัญ

“พลานามัยดี มีความรู้ เชิดชูคุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจ

1.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาโดยใช้
เทคโนโลยี
2.นักเรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
3.นักเรียนมีคุณธรรม คุณนิสัย และพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของสังคม
4.พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและทักษะสู่มาตรฐานวิชาชีพ
5.ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา

เป้าหมาย

1.เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา มีความพร้อมที่จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา
2.นักเรียนทุกคนได้รับบริการการศึกษาอย่างทั่วถึง มีความรู้ความสามารถตามที่หลักสูตรกำหนด และมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
3.บุคลากรมีความรู้ความสามารถ มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน
4.บุคลากรมีขวัญกำลังใจ ในการปฏิบัติงาน และได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานการศึกษา
5.โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี

อักษรย่อ

ม.ร.

ปรัชญา

ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก