ประวัติ

ประวัติของโรงเรียน
โรงเรียนวัดสุวรรณตะไล ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2481 โดยอาศัยศาลาวัดซึ่งเป็นวัดร้างเป็นสถานที่เรียน ผู้นำดำเนินการก่อตั้งโรงเรียนคือ นายแผลง รัศมีแก้ว กำนันตำบลนองสะเดากับนายฟู ทัศเกษร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 โดยท่านขุนศรีธรานนท์ธรรมการ ศึกษาอำเภอเป็นประธานเปิด ให้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนประชาบาลตำบลหนองสะเดา 2" ครูใหญ่คนแรกคือ นายโสรัจ ศรีธรานนท์ วันเปิดเรียนวันแรก มีนักเรียนทั้งหมด 93 คน จนกระทั่ง พ.ศ.2487 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนวัดสุวรรณตะไล"

ทำเนียบครูใหญ่ของโรงเรียนวัดสุวรรณตะไล
1. นายโสรัจ ศรีธรานนท์ พ.ศ. 2481-2483
2. นายพาน อนันต์ พ.ศ. 2483-2488
3. นายเสริม ไวยเขตการณ์ พ.ศ. 2488-2489
4. นายแต้ม ดวงจินดา พ.ศ. 2489-2500
5. นายธวัช อยู่สุวรรณ (รักษาการ) พ.ศ. 2500-2507
6. นายวิจิตร เกิดศิริ พ.ศ. 2507-2541
7. นายคำรณ ศรีสวัสดิ์ (รักษาการ) พ.ศ. 2541
8. นายขจิต ทองเพ็ชร์ พ.ศ. 2541-2549
9. นายสมยศ ภูฆัง พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน

ขนาดที่ตั้งและสภาพชุมชน
ชุมชนของโรงเรียนวัดสุวรรณตะไล ประกอบด้วยประชากรหมู่ที่ 6และหมู่ที่ 7 ต.หนองสะเดา อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ประมาณ 272 ครอบครัว จำนวนประชากร 1,045 คน อาชีพหลักคือเกษตรกรรมและรับจ้าง ฐานะค่อนข้างยากจน การคมนาคมค่อนข้างสะดวก ความเป็นอยู่สุขอนามัยอยู่ในเกณฑ์ดีพอใช้

วิสัยทัศน์

โรงเรียนวัดสุวรรณตะไล เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ ส่งเสริมสับสนุนการจัดการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนในเขตพื้นที่บริการอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

คำขวัญ

เรียนดี มีวินัย ใจสะอาด มารยาทงาม

พันธกิจ

จัดการเรียนรู้ให้แก่ประชากรวัยเรียนทุกคน ได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดีมีคุณธรรมนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษา ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม

เป้าหมาย

1.การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาชาติ โดยยึดคุณธรรมนำความรู้ สร้างจิตสำนึก
2.จัดการเรียนรู้แก่ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1 และ 2 ตามสิทธิอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
3.ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.โรงเรียนมีความเข้มแข็งในการบริหารและการจัดการศึกษา
5.พัฒนาความพร้อมในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แก่ครูและนักเรียนเพื่อการเรียนรู้และการจัดการ
6.ชุมชน ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกื่นวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

อักษรย่อ

ส.ว.ส.

ปรัชญา

ปัญญา โลกัสมิง ปัจโชโต : ปัญญาเป็นแสงสว่างแห่งโลก