ประวัติ

โรงเรียนบ้านพระบาทนาหงส์ก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ.2500 นางสน คำสีทา ได้อุทิศที่ดินจำนวน 5 ไร่ 3 งาน 86 ตารางวา ประชาชนในหมู่บ้านได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราวให้ 1 หลัง โต๊ะเรียน 31 ชุด กระดานดำ 4 แผ่น ในปีพ.ศ.2510 ได้ขออนุญาตจากทางราชการแยกนักเรียนบ้านพระบาทนาหงส์ที่เรียนอยู่โรงเรียนบ้านนาสิงห์ มาเรียนที่โรงเรียนนี้ทั้งหมดและเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2510 โรงเรียนบ้านพระบาทนาหงส์ ได้เปิดเรียนเป็นเอกเทศ นายไพศาล สาระบูรณ์ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอโพนพิสัย นายอัครชาติ พานเงิน ครูวิชาการ อำเภอโพนพิสัย มาทำพิธีเปิด ทางราชการได้แต่งตั้งนาย คำสี ชนะชัย ครูใหญ่โรงเรียนบ้านนาสิงห์มาเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านพระบาทนาหงส์เป็นคนแรกผู้บริหารที่มาดำรงตำแหน่งตามลำดับจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
ผู้บริหาร
ปี พ.ศ. 2510-2510 นายคำสี ชนะชัย ครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2510-2517 นายพินิจ นิคมภักดิ์ ครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2517-2518 นายสมุทร พันธ์เล่ย์ ครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2518-2552 นายอุทัย นาคเสน ครูใหญ่/ผู้อำนวยการ
ปี พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน นายอนุสรณ์ วรรณาวงศ์ ผู้อำนวยการ
ผู้ช่วยผู้บริหาร
ปี พ.ศ. 2534-2541 นายไพฑูรย์ แสนใจวุฒิ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ปี พ.ศ. 2534-2548 นายเสน่ห์ ศรีโยธี ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ปี พ.ศ. 2541-2542 นายรักสมัน ดาหาร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ปี พ.ศ. 2549-2552 นายกนกศักดิ์ ฝ่ายชาวนา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอน 2 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษาเปิดสอนอนุบาล 2 และระดับประถมศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

วิสัยทัศน์

" ภายในปี 2553 โรงเรียนบ้านพระบาทนาหงส์สามารถจัดการศึกษา เพื่อให้นักเรียนเป็นคนดี มีความรู้ "

พันธกิจ

1.จัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นให้นักเรียน เก่ง ดี และมีความสุข
2.จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
3.จัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
4.จัดการบริหารงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบได้

เป้าหมาย

1.นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามหลักสูตรสถานศึกษากำหนด
2.นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ สามารถคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ได้
3.นักเรียนมีความรักในถิ่นกำเนิด ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
4.ครูทุกคนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
5.ครูทุกคนสามารถใช้กระบวนการวิจัย เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
6.โรงเรียนมีระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ

อักษรย่อ

พ.บ.