ประวัติ

โรงเรียนบ้านนาเมย ตำบลเหล่าต่างคำ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อที่ทั้งหมด 1 ไร่ 3 งาน 58 ตารางวา มีเขตบริการ 2 หมู่บ้าน คือ บ้านนาเมย หมู่ที่ 7 และบ้านโคกคอย หมู่ที่ 9 ได้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2483 สังกัดกระทรงธรรมการโดยอาศัยศาลาวัดนาสมัยบ้านนาเมยเป็นที่เปิดทำการเรียนการสอน เปิดเรียนตั้งแต่ชั้น ป. 1 – 4 โดยมีนายสาโรจน์ แสนโพธิ์ ครูใหญ่ เป็นผู้ก่อตั้ง ต่อมา พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย จำนวน 250,000 บาท เพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียนแบบถาวร แบบ ป.1 ฉ ขนาด 2 ห้องเรียนบนที่ดินนางอวน โสภาหัสดร บริจาคให้ซึ่งมีอยู่ในปัจจุบัน ได้ย้ายจากศาลาวัดมาเปิดทำการเรียนการสอน ตั้งแต่ พ.ศ. 2519
พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย จำนวน 35,000 บาท
เพื่อก่อสร้างบ้านพักครู แบบองค์การ 1 หลัง
พ.ศ. 2525 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน
450,000 บาท เพื่อทำการต่อเติมอาคารเรียนด้านข้างอีก 3 ห้องเรียน รวมกับห้องเรียนเดิม
เป็น 5 ห้องเรียน
พ.ศ. 2526 เปิดขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
พ.ศ. 2529 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
จำนวน 40,000 บาท เพื่อทำการก่อสร้างส้วม สปช.601/26 จำนวน 4 ที่นั่ง 1 หลัง
พ.ศ. 2531 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
จำนวน 200,000 บาท เพื่อทำการก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช.201/26 1 หลัง
พ.ศ. 2536 เปิดทำการเรียนการสอนชั้นผู้เรียนเล็ก
พ.ศ. 2537 นายบรรลุชัย ธรรมนูญ ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ เปลี่ยนระดับก่อนประถมศึกษา
ผู้เรียนเล็กเป็นชั้น อนุบาล 1 และ 2
พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณเพื่อทำการปรับปรุงโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน โดยได้ดำเนินการดังนี้
มุงหลังคาอาคารเรียนใหม่ทั้งหมด เปลี่ยนบานหน้าต่างใหม่หมด และได้รับการจัดสรรงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้างจาก สปช. เพื่อซ่อมแซมความเสียหายอันเนื่องมาจากการเกิดอุทกภัยในปี
พ.ศ. 2538 ซึ่ง ฯพณฯ สุขวิช รังสิตพล ปลัดกระทรวง เลขาธิการ สปช. ได้มาตรวจราชการ เมื่อวันที่
12 กันยายน พ.ศ. 2538 งบประมาณดังกล่าวได้มาดำเนินการดังนี้
1. ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 6 เมตร ยาว 120 เมตร งบ 297,360 บาท
2. สนามวอลเลย์บอล งบ 80,000 บาท
3. รั้วลวดหนาม งบ 51,000 บาท ยาว 250 เมตร
4. ซ่อมแซมอาคารเอนกประสงค์ งบ 56,500 บาท
5. เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กใต้ถุนอาคารเรียน พื้นที่ 459 ตารางเมตร งบ 152,840 บาท
โรงเรียนได้เข้าโครงการเป้าหมายปฏิรูปการศึกษา ปี 2539 ได้รับงบประมาณ 64,320 บาท เพื่อเตรียมห้องปฏิบัติการทางภาษาและครุภัณฑ์ประจำห้อง งบ 280,000 บาท
พ.ศ. 2545 ได้รับงบประมาณมาทำการเปลี่ยนบานประตูใหม่ทั้งหมด จำนวน 20 บาน และเปลี่ยน
กระจกช่องแสงใหม่ทั้งหมด นายบรรลุชัย ธรรมนูญ อาจารย์ใหญ่ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
โรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น สำนักงานประถมศึกษาอำเภอโพนพิสัย ตั้งแต่ วันที่ 2 มกราคม 2546
พ.ศ. 2546 นายเกษม บัวป้อม ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 ตำแหน่งผู้บริหารว่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคายเขต 2จึงได้แต่งตั้ง
นางสาวจารุณี ไชยชาญ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านนาเมย
รวมข้าราชการทั้งหมด 3 คน และลูกจ้างชั่วคราวจำนวน 1 คน ดังนี้
1. นางสาวจารุณี ไชยชาญ ตำแหน่ง ครู
2. นางยุพิน แก้วกิ่ง ตำแหน่ง ครู
3. นางสมหมาย ราคาพงษ์ ตำแหน่ง ครู
4. นางสาวพัชรินทร์ โฮมชัย ตำแหน่ง ครูอัตราจ้าง
พ.ศ.2548 นายอภิชาติ ภูประเสริฐ ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ในวันที่
20 มิถุนายน 2548 ในปัจจุบันมีข้าราชการครู 4 คน พนักงานราชการ 1 คน ดังนี้
1. นายอภิชาติ ภูประเสริฐ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
2. นางสาวจารุณี ไชยชาญ ตำแหน่ง ครู
3. นางยุพิน แก้วกิ่ง ตำแหน่ง ครู
4. นางสมหมาย ราคาพงษ์ ตำแหน่ง ครู
5. นางสาวศุภลักษณ์ หลงสีดา ตำแหน่ง พนักงานราชการ

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์
“ ภายในปี พ.ศ. 2551 โรงเรียนบ้านนาเมย จะจัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย โรงเรียนน่าอยู่
ครูมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ชุมชนให้ความร่วมมือ นักเรียนมีคุณภาพ คุณธรรม ก้าวนำโทคโนโลยี
รักษ์วิถีไทย ”

คำขวัญ

อนามัยดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม

พันธกิจ

พันธกิจ
1. จัดสภาพแวดล้อมทั่วไปให้ร่มรื่นสวยงาม มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
เอื้อในการจัดการเรียนรู้
2. ส่งเสริมการพัฒนาตนเองสู่มาตรฐานวิชาชีพ การให้บริการกับผู้ปกครอง ชุมชน รวดเร็ว ฉับไว ประทับใจผู้มาใช้บริการ
3. ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนของสังคม ระดมทรัพยากรทั้งด้านงบประมาณ แนวคิดการพัฒนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข็มแข็งในการจัดการเรียนรู้
4. พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้มีความรู้ คู่คุณธรรม และยกระดับการเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
5. ส่งเสริมการใช้สื่อ นวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีทุกรูปแบบมาใช้ในการจัดการเรียนรู้
6. ส่งเสริมอนุรักษ์ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของไทย

เป้าหมาย

เป้าประสงค์ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1. โรงเรียนเป็นอุทยานการศึกษา “ แหล่งเรียนรู้ คู่คุณธรรม “ มีแหล่งเรียนรู้ที่หลาก
หลายและ เอื้อในการจัดการเรียนรู้
2. ครูมีมาตรฐานวิชาชีพเป็นที่ยอมรับของชุมชน บริการชุมชนด้วยความประทับใจ
3. การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
4. นักเรียนมีความรู้ มีคุณธรรม อยู่ในสังคมแห่งคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญา และสังคมแห่งสมานฉันท์ อย่างมีความสุข
5. ครูจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
6. โรงเรียนชุมชนร่วมมือในการรักษาขนบ ธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม
ของไทยไว้สืบไป

อักษรย่อ

น.ม.

ปรัชญา

ปรัชญาของโรงเรียน “ ความรู้คู่คุณธรรม”
คติพจน์
โยคา เว ชายติ ภูริ
(ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ)