ประวัติ

ประวัติโรงเรียนบ้านดงซ่อม
โรงเรียนบ้านดงซ่อม ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลเชียงทอง กิ่งอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2511 เปิดการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพียงชั้นเดียว โดยมีนายจรูญ กาญจนทิวา ครูโรงเรียนบ้านวังเจ้า มาทำการสอนเพียงคนเดียว ต่อมาทางราชการได้แต่งตั้งนายสมัคร ชูปาน มาทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2511 มีครู 2 คน วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2514 นายนกเทศ กาวี ได้มารับหน้าที่ครูใหญ่ และในปีนี้ทางโรงเรียนเผปิดทำการสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียน 47 คน มีครู 3 คน อาคารเรียนครั้งแรกราษฎรปลูกสร้างให้ เป็นแบบอาคารเรียนชั่วคราว และเรียนกับพื้นดิน โต๊ะม้านั่งใช้ชุดหลุม ปักตอไม้กระดาน ตีหลังคามุงแฝก ตั้งอยู่ริมคลองในเขตที่ดินของนายโถ สืบมี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ตำบลเชียงทอง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ที่ดินนี้น้ำท่วมจึงไม่สะดวกแก่การเรียนการสอน ทางโรงเรียนจึงย้ายที่อยู่ใหม่ มาอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีพื้นที่ 15 ไร่ อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน
พ.ศ.2513 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณให้จำนวน 60,000 บาท ปลูกสร้างอาคารเรียนถาวร แบบ ป1ก 1 หลัง 3 ห้อง กว้าง 8 เมตร ยาว 27 เมตร เป็นอาคารเรียนไม้ตอหม้อกรีต
พ.ศ.2516 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ 25,000 บาท สร้างบ้านพักครูแบบกรมสามัญเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว เสาคอนกรีต มี 2 ห้องนอน ห้องครัว และห้องน้ำ
พ.ศ.2519 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณให้จำนวน 230,000 บาท ปลูกสร้างอาคารเรียนถาวร แบบ ป1ฉ ขนาด 4 ห้องเรียน กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นอาคารไม้ตอหม้อคอนกรีต
พ.ศ.2520 นายสวงษ์ เพ็งสิน ครูใหญ่โรงเรียนบ้านเกาะอ้ายด้วน มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านดงซ่อม
พ.ศ.2521 เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
พ.ศ.2523 คณะครูและกรรมการศึกษา ประชาชนช่วยกันขุดบ่อน้ำให้โรงเรียน พร้อมติดตั้งสูบโยก เป็นจำนวนเงิน 6,500 บาท และได้รับเงิน งบประมาณ จำนวน 45,000 บาท สร้างโรงอาหาร 1 หลัง แบบกรมสามัญ มีห้องเก็บของ 1 ห้อง ขนาด 17 17.50 เมตร
พ.ศ.2524 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 140,000 บาท สร้างบ้านพักครู สปช. ครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น 2 ห้องนอน มีห้องครัว และห้องน้ำ
พ.ศ.2525 ได้รับเงินงบประมาณจากโครงการสุขศึกษา สายการศึกษาจำนวน 30,000 บาท เพื่อสร้างถังเก็บน้ำซีเมนต์ชนิดกลม ทรงสูง 4 ถัง แบบ ฝ.30
พ.ศ.2526 ทางราชการแต่งตั้ง นายเฟือง ปานยิ้ม ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนบ้านโป่งแดง มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านดงซ่อม
พ.ศ.2529 ทางราชการได้สั่งย้ายนายเฟือง ปานยิ้ม ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนบ้านราษฎร์พัฒนา และแต่งตั้งนายสมพร ปัญญาดิษฐวงษ์ ครูใหญ่บ้านน้ำด้วน มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านดงซ่อม
พ.ศ.2530 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณสร้างเรือนเพาะชำ แบบ พ.1 เป็นเงิน 15,000 บาท
พ.ศ.2532 ทางประมงน้ำจืดจังหวัดตาก ได้มาขุดบ่อปลาโครงการประมงหมู่บ้าน ในบริเวณโรงเรียน งบประมาณ 98,000 บาท
พ.ศ.2533 โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนฝนโครงการ กศ.พช. ได้รับงบประมาณ 10,000 บาท เพื่อจัดซื้ออาหารปลา 4,000 บาท และมัวพันธุ์พื้นเมือง 2 ตัว เป็นเงิน 6,000 บาท
พ.ศ.2534 ได้รับงบประมาณ 50,000 บาท สร้างส้วมแบบ สปช. 601/26 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง พร้อมที่ปัสสาวะ ในปีนี้นายสมพร ปัญญาดิษฐ์วงษ์ อาจารย์ใหญ่ ระดับ 6 ได้รับการประเมินเกณฑ์ให้ดำรงตำแหน่ง เป็นอาจารย์ระดับ 7
พ.ศ.2535 ได้รับงบประมาณ 1,498,400 บาท สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 105/29 เป็นอาคารตึกคอนกรีตใต้ตึกสูง 4 ห้องเรียน ในปีนี้ยังได้ งบประมาฯ 80,000 บาท สร้างส้วมแบบ สปช. 601/26
พ.ศ.2536 ในปีนี้ทางโรงเรียนได้จัดรั้วคอนกรีตด้านหน้าโรงเรียนจนแล้วเสร็จ โดยได้รับความร่วมมือจากคณะครู ภารโรง กรรมการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ร่วมกันจัดงานประจำปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531-2536 สิ้นงบประมาณ 65,000 บาท โดยไม่อาศัยเงินจากทางราชการ
ในปีการศึกษา 2536 โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดเรียนชั้นมัธยมศึกษาเป็นปีแรก มีนักเรียนชาย 15 คน มีนักเรียนหญิง 11 คน รวม 26 คน
ในปีการศึกษา 2537 นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 50 คน ได้มาจากกิจกรรมโครงการจริยธรรมประชาธิปไตยสู่ท้องถิ่น และได้สร้างอาคารศาลาประชาคม ร่วมกับคณะครู ประชาชน ไว้เป็นสมบัติของโรงเรียน และหมู่บ้าน เป็นมูลค่าประมาณ 100,000 บาท และในปีนี้นักศึกษา กศ.บป.เอกพลศึกษา สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร ได้สมทบเงิน 5,000 บาท ร่วมกับเงินจัดงานโรงเรียน จำนวน 6,000 บาท รวมเป็นเงิน 10,000 บาท สร้างสนามเซปัคตระ-กร้อ และขยายเป็นสนามวอลเล่ย์บอลไปในตัวสนามด้วย นอกจากนี้ยังได้งบประมาณพัฒนาจังหวัด จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 17,500 บาท ในการจัดซื้อเสาคอนกรีต จำนวน 166 ต้น ลวดหนามจำนวน 42 ม้วน เพื่อล้อมรอบบริเวณด้านข้าง ด้านหลังโรงเรียน
ปีงบประมาณ 2538 โรงเรียนได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 280,000 บาท ต่อเติมอาคารเรียน แบบ สปช. 105/29 จำนวน 4 ห้องเรียน ก่อสร้างสนามบาสเกตบอล จำนวน 128,000 บาท 1 สนาม และติดตั้งไฟฟ้าในอาคารเรียน อาคารประกอบจำนวน 64,8000 บาท
ในปีการศึกษา 2538 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2538 ทางราชการได้สั่งย้ายนายสมพร ปัญญาดิษฐ์วงษ์ ไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านวังม่วง และแต่งตั้งให้นางจันทร์เพ็ญ ศรีกาวี อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านวังม่วง มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านดงซ่อม นอกจากนี้ยังได้งบประมาณพัฒนาจังหวัด จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 19,800 บาท สร้างรั้วคอนกรีตทึบยาว 30 เมตร
ในปีการศึกษา 2539 คณะกรรมการโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนร่วมกับคณะครูบริจาคเงินสร้างห้องพละศึกษา ห้องสหกรณ์โรงเรียน และต่อเติมโรงอาหาร โดยเทพื้นคอนกรีต มุงหลังคาสังกะสี และทางโรงเรียนได้จัดสรรงบประมาณในโครงการทำโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน สู่ฝันที่เป็นจริง เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน
ในปีการศึกษา 2540 โรงเรียน-ได้รับงบประมาณก่อสร้างถังเก็บน้ำฝนของโยธาจังหวัด จำนวน 1 ถัง และในปีนี้สมาคมอินเตอร์แร็ดจากโรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้มาสร้างศาลาหกเหลี่ยมให้กับโรงเรียนเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท
โรงเรียนบ้านดงซ่อม ได้รับคำสั่งให้ตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนตามการปรับปรุงเกณฑ์โรงเรียนที่อยู่ในท้องถิ่นที่กันดาร โดยมีนางจันทร์เพ็ญ ศรีกาวี เป็นผู้อำนวยการคนแรก
ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนส่งประกวดโรงเรียนพระราชทานมัธยมขนาดเล็ก ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนระดับจังหวัด และได้รับรางวัลชมเชย โรงเรียนพระราชทานขนาดเล็ก เขตการศึกษา 7 และปีนี้โรงเรียนได้รับงบประมาณ 815,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ สปช.102/26 จำนวน 3 ห้องเรียน
ปีการศึกษา 2542 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดตาก ได้มีคำสั่งย้ายนายสุวัฒน์ กลั่นเลี้ยง ผู้อำนวยการบ้านทุ่งกง มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดงซ่อม ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2542 และย้ายนางจันทร์เพ็ญ ศรีกาวี ไปรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2 สำนักงานการประถมอำเภอพบพระ
ปีการศึกษา 2543 คณะครู กรรมการดรเรียนและผู้ปกครองนักเรียนได้ราวมกันก่อสร้างถนนคอนกรีตภายในโรงเรียนขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 251 เมตร เสริมด้วยไม้ไผ่หนา 12 เซนติเมตร คิดเป็นมูลค่า 296,000 บาทเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ
ปีการศึกษา 2544 คณะครู กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนร่วมกันก่อสร้างอาคารศูนย์ข้อมูล ตึกครึ่งไม้หน้าจั่ว ชั้นเดียว ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร พื้นคอนกรีตปูกระเบื้อง คิดเป็นมูลค่า 160,000 บาทเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณทางราชการ และในปีนี้ได้รับงบประมาณก่อสร้างลานกีฬาเอนกประสงค์แบบกรมพลศึกษา จำนวน 100,000 บาท
ปีการศึกษา 2545 คณะครูกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และราษฏร ได้สร้างอาคารศูนย์การเรียนคอมพิวเตอร์เป็นตึกทรงหน้าจั่วชั้นเดียว ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 13 เมตร พื้นคอนกรีต ปูกระเบื้อง คิดเป็นเงินจำนวน 180,000 บาทเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ
16 มกราคม 2546 สำรนยักงานการประถมศึกษาจังหวัดตากมีคำสั่งย้ายนายสุวัฒน์กลั่นเลี้ยง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งกง รักษาการแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดงซ่อม มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดงซ่อม
ปีการศึกษา 2546 คณะครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนได้ร่วมกันจัดหารายได้ต่อเติมโรงฝึกงานเพื่อใช้เป็นโรงอาหารเป็นเงินทั้งสิ้น 80,000 บาทเศษ และในปีเดียวกันได้จัดหารายได้สบทบการก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์แบบสปช. 203/2546 อีกเป็นจำนวนเงิน 80,000 บาทถ้วน รวมในปีนี้ได้จัดหารายได้เพื่อพัฒนาโรงเรียน จำนวนทั้งสิน 160,000 บาทเศษ
ปีการศึกษา 2547 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรหางบประมาณ และติดตั้งจานดาวเทียม เพื่อต่อระบบอินเตอร์เน็ตให้โรงเรียน จำนวน หนึ่งแห่ง ปีการศึกษา 2547 กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียน ได้จัดหารายได้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 15 ชุด เป็นเงิน 208,500 บาท เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน

วิสัยทัศน์

ในปี พ.ศ. 2550 โรงเรียนดงซ่อมพิทยาคมจะส่งเสริมพัฒนาศักยภาพสร้างขวัญกำลังใจของบุคลากร และจัดการศึกษาภาคบังคับทุกช่วงชั้น โดยเน้นสาระภาษาไทย คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการสื่อสารและการแสวงหาความรู้ให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อความเป็นสากล และจรรโลงความเป็นไทยมีความรักธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

คำขวัญ

เรียนดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม รักความสะอาด มารยาทงาม

พันธกิจ

1.จัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มีความคิดสร้างสรรค์มีทักษะกระบวนการสามารถใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการสื่อสารและแสวงหาความรู้
2.จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียน
3.ปลูกฝังให้ผู้เรียนรักความเป็นไทย และสืบสารศิลปะ วัฒนธรรมไทย
4.ปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้รักธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
5.พัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.พัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน
7.พัฒนาอาคารสถานที่ และจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้น่าดู ให้น่าอยู่ น่าเรียน
8.จัดสวัสดิการและสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรของโรงเรียนตามโอกาส และสถานการณ์
9.ใช้หลักการบริหารองค์กรให้ชุมชน และองค์ภายนอกมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย

1.บุคลากรของสถานศึกษา 80 % ได้รับการพัฒนาการจัดการกระบวนการเรียนรู้อย่างหลากหลายและสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้
2.บุคลากรของสถานศึกษา 100% ได้รับการดูแลด้านสวัสดิการและขวัญกำลังใจ
3.นักเรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรโดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่า 60 % ทุกกลุ่มสาระวิชา
4.นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ไม่น้อยกว่า 70 %
5.นักเรียนไม่น้อยกว่า 70 % มีสุนทรีภาพด้านดนตรี ศิลปะ และกีฬา
6.นักเรียนร้อยละ 80 มีจิตสำนึกรู้รักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7.นักเรียนร้อยละ 50 มีความรู้และความสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารและแสวงหาความรู้
8.นักเรียนร้อยละ 70 มีสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถนำความรู้สู่ครัวเรือนได้

อักษรย่อ

ด.พ.