ประวัติ

โรงเรียนวังสามหมอวิทยาคาร อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ที่ 88 หมู่ 6 ถนนวังสามหมอ-วาริชภูมิ ตำบลวังสามหมอ อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี โทร(042)-387593 สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2519 มีพื้นที่ 83 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวา มีประวัติความเป็นมาที่สมควรได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่งเพราะได้รับความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจและเสียสละทุกฝ่ายโดยเฉพาะผู้นำชุมชนทุกหมู่เหล่าได้มองเห็นความสำคัญของการศึกษาเป็นอย่างมาก จึงได้เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินโดยการนำของกำนันสาร ใสศรัทธา อาจารย์กานี ศรีพรม อาจารย์แสวง แสงอินทร์คุ้ม นายจิม เศรษฐากา นายเคน บรรเทา นายหลอม ใสศรัทธา นายคำมี สุราตรี นายเบื้อง แถลงศรี นายสม ศรีสวัสดิ์ นายดี จอมจิต นายซ่อม ใสศรัทธา นายตัน อุปมะ พร้อมด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านได้ร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนวังสามหมอวิทยาคารขึ้นโดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีกับทุกฝ่ายและกรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้นายวัลลภ ภูธรฤทธิ์ มาดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารคนแรก ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีอาคารเรียนเป็นของตนเองจึงได้ขอยืมสถานที่ของโรงเรียนวังสามหมอประชาสรรค์ในขณะนั้น เป็นสถานที่เรียน 1 ปีการศึกษา จนถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2520 จึงได้ย้ายมาตั้งในสถานที่ปัจจุบัน
ปัจจุบันโรงเรียนวังสามหมอวิทยาคาร มีห้องเรียน จำนวน 32 ห้องเรียน นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 711 คน นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 483 คน รวมทั้งสิ้น 1254 คน จำนวนครูอาจารย์ 36 จำนวนครู จ้างสอน 4 คน ลูกจ้างประจำ(นักการภารโรง) 1 คน ยาม 1 คน ลูกจ้างปฏิบัติงานทั่วไป 2 คน

วิสัยทัศน์

โรงเรียนวังสามหมอวิทยาคารได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ดังนี้ “สืบสานวัฒนธรรม เลิศล้ำศิลปะ ดนตรี กีฬา พัฒนาแหล่งเรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม นำความเป็นไทย เพียบพร้อมไปด้วยทักษะภาษา วิทย์ คณิต เทคโนโลยี เด่นดีภูมิปัญญาท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2550”

คำขวัญ

มีวินัย ใจเอื้อเฟื้อ

พันธกิจ

1.พัฒนาให้มีความรู้และทักษะขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.พัฒนาความกระตือรือร้น และความสนใจการเรียนรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ
3.ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
4.ส่งเสริมวิธีแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
5.พัฒนาสรุปประเด็นการเรียนรู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
6.ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ
7.จัดหาเครื่องบริโภคสำหรับนักเรียนที่มีน้ำหนักส่วนสูงไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
8.พัฒนาหลักสูตรให้สนองความต้องการของท้องถิ่น
9.จัดให้มีการตรวจสอบความก้าวหน้าของการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง

เป้าหมาย

1.นักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
2.นักเรียนมีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการเรียนรู้
3.นักเรียนทุกคนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารและการสร้างงานได้
4.นักเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นตามความถนัดและความสนใจ
5.นักเรียนมีแนวทางในการประกอบอาชีพสุจริต และมีรายได้ระหว่างเรียน
6.นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม สืบสานศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น
7.นักเรียนมีการพัฒนาสุขภาพ สุนทรียภาพ บุคลิกภาพ การแสดงออกและทักษะการจัดการ

อักษรย่อ

ว.ส.ค.
W.S.K

ปรัชญา

สิกฺ ขา วิรุฬฺหิ สัมฺปัตฺตา
“การศึกษา คือความเจริญงอกงาม)