ประวัติ

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่ลอง หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พิกัดหน้าเสาธง ๔๗ Q MA ๒๐๐๗๐๓๗๓๒๘ ( ระบบ PGS ) จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๗ เนื่องจากเป็นพื้นที่ทุรกันดาร มีสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยประกอบกำลังติดอาวุธเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล และเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาด้านยาเสพติด โดยมีประชาชนชาวเขาเป็นผู้ผลิต (ฝิ่นดิบ) ทาง กก.ตชด. เขต ๕ (เดิม) จึงส่งกำลังเข้าปฏิบัติการด้านมวลชน ต่อมาราษฎรได้ร้องขอให้ทางราชการจัดตั้งโรงเรียนเพื่อบุตรหลานจะได้เรียนหนังสือ บช.ตชด. ใช้ชื่อว่า “ โรงเรียน ตชด.บ้านแม่ลอง ” โดยเข้าใช้ที่ดินในพื้นที่ป่าสงวน จำนวน ๖ ไร่ มีนักเรียนครั้งแรก ๓๙ คน มี ครู ตชด. ทำการสอน ๒ คน คือ จ.ส.ต.ฉัตรชัย หนักแน่น ทำหน้าที่ครูใหญ่ และ ส.ต.ต.ชัยทอง คำอ้าย เป็นครูผู้สอน โดยราษฎรได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ๑ หลัง อาคารกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร หลังคามุงด้วยหญ้าคา
ปี ๒๕๓๘ โรงเรียน ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้ใช้พื้นที่จำนวน ๑๕ ไร่ พื้นที่ป่าสาธิต ๒๐ ไร่ พื้นที่ดำเนินป่าชุมชนตามแนวพระราชดำริ ๘๐ ไร่
เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียน เพื่อติดตามงานโครงการพระราชดำริ เป็นครั้งที่ ๑
เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียน เพื่อติดตามงานโครงการพระราชดำริ เป็นครั้งที่ ๒
เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียน เพื่อติดตามงานโครงการพระราชดำริ เป็นครั้งที่ ๓

วิสัยทัศน์

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่ลอง มุงพัฒนาบุคลากร ผู้เรียนและชุมชน ให้มีความจงรักภักดีต่อสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และให้บริการด้านการเรียนการสอน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ทั้งด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เน้นคุณธรรม จริยธรรม และมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย

คำขวัญ

“ สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ ”

พันธกิจ

๑. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้ มีทักษะ มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม
๒. ส่งเสริมพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ในการจัดการเรียนการสอน และเทคโนโลยี
๓. ส่งเสริมพัฒนาชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยี
๔. ผู้เรียนมีจิตสำนึกในความเป็นไทย และรักในศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น

เป้าหมาย

๑. ผู้เรียนมีความรู้มีคุณธรรม จริยธรรมและอยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างมีความสุข
๒. บุคลากรมีความรู้และนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอน
๓. บุคลากรผู้เรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ประเพณีท้องถิ่นและความภูมิใจในความเป็นไทย
๔. สถานศึกษาเป็นแหล่งค้นคว้า ให้บริการด้านการศึกษา มีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศร่มรื่นเอื้อต่อการเรียนการสอน

อักษรย่อ

มล.

ปรัชญา

“ สร้างภูมิปัญญา พัฒนาคุณภาพชีวิต สัมฤทธิ์ผลความมั่นคง ”