ประวัติ

เดิมโรงเรียนบ้านปางเกี๊ยะ เป็นศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา (ศศช.) สังกัดกรมการศึกษา
นอกโรงเรียน ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2536 โดยมีนายมนตรี สมยศ ได้ร่วมมือกับชาวบ้านสร้างศูนย์การศึกษาแห่งนี้ขึ้น ทำด้วยไม้ไผ่มุงด้วยสังกะสี ต่อมา นายกันต์ บุญลือรัตน์ ได้ดำเนินการแทนจนเสร็จ
เมื่อวันที่ 1 เดือนมีนาคม 2537 หลวงตาบุญ แห่งสำนักสงฆ์พระธาตุเขาเจ้า อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี นำคณะผ้าป่าสามัคคีโยมอุปฐากในจังหวัดชลบุรีบริจาคเงิน 140,000 บาท(หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)เพื่อสร้างอาคารหลังใหม่ได้ตั้งชื่ออาคารว่า “ชลราษฎร์อุปถัมภ์” เป็นอาคารเรียน 4 ห้องเรียน ไม่ยกพื้น มีขนาดเนื้อที่ของห้องขนาด 8 x 8 เมตร โดยมีผู้นำและผู้รับผิดชอบ คือ นายเลาเจง แสงสรทวีศักดิ์ ผู้ใหญ่บ้านปางเกี๊ยะ นายสาคร โมลาดุก และนายลำพูน สุขใจ เป็นครูอัตราจ้างจากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอแม่แจ่มเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง
ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ.2540 คณะกรรมการหมู่บ้านปางเกี๊ยะได้ติดต่อขอเสนอจัดตั้งให้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(สปช.) ต่อทางกลุ่มโรงเรียนคุรุคีรี สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแม่แจ่ม สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ จนได้รับการจัดตั้งเป็นโรงเรียนประถมศึกษา จากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ โดยอนุมัติเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2540

วิสัยทัศน์

นักเรียนโรงเรียนบ้านปางเกี๊ยะเป็นผู้ที่มีความรู้ มีทักษะด้านงานฝีมือ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีประจำเผ่า สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
บุคลากรของโรงเรียนบ้านปางเกี๊ยะเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทั่วไป และเฉพาะด้านที่จำเป็นในการพัฒนาการเรียนการสอนและเป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียนและชุมชน

คำขวัญ

วินัยดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม นำวิชาการ

พันธกิจ

๑. ปลูกฝังให้นักเรียนมี จริยธรรม คุณธรรมที่พึงประสงค์
๒. ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ถูกสุขลักษณะ
๓. ส่งเสริมให้ชุมชนและองค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียน
๔. พัฒนาโรงเรียนให้มีมาตรฐานตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
๕. พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการทำงานตามความเหมาะสม
๖. เร่งรัดจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จำเป็นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
๗. พัฒนาการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

เป้าหมาย

นักเรียนโรงเรียนบ้านปางเกี๊ยะ มีความรู้ ความสามารถตามศักยภาพของท้องถิ่น และนำความรู้ความสามารถไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามความเหมาะสม มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีความสุภาพเรียบร้อย อ่อนโยน ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน สามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ตามความเหมาะสมที่มีอยู่ และเป็นคนดีของสังคม

อักษรย่อ

ปก.

เพลง

-

ปรัชญา

-