ข้อมูลการทำหนังสือเดินทาง (Passport)

หนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ต (Passport) หมายถึง เอกสารสำคัญที่กองหนังสือเดินทางกระทรวงต่างประเทศ ออกให้กับประชาชนไทย ผู้ซึ่งมีเหตุต้องเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไทย เพื่อใช้เป็นหลักฐานบันทึกข้อมูลบุคคล และประวัติการเข้าออกทั้งประเทศไทย และประเทศที่บุคคลนั้นๆ ไป อาจออกโดยสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทย ณ ต่างประเทศ ทั้ง 86 แห่ง

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) คืออะไร ?
เป็น หนังสือเดินทางที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิค ตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งแตกต่างจากหนังสือเดินทางแบบเดิม ดังนี้

มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric data) ได้แก่ รูปใบหน้า และ/หรือ ลายนิ้วมือ และ/หรือ ม่านตา ไว้ใน Contactless Integrated Circuit ซึ่งฝังอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง
มีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของหน้งสือเดินทาง
** หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถต่ออายุได้

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่าหนังสือเดินทางแบบเดิมอย่างไร

สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้สูง เป็นมาตรการสำคัญในการสกัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ การลักลอบเข้าเมือง ฯลฯ
สามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำและรวดเร็ว อำนวยความสะดวกต่อการเดินทาง การเข้าเมือง และส่งเสริมการท่องเที่ยว
เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ทำให้หนังสือเดินทางไทยมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับสากลยิ่งขึ้น ส่งผลต่อเนื่องทางบวกด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวของประเทศ
*** กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศได้นำระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Passport) มาใช้ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2548 ***
สำหรับหนังสือเดินทางในระบบเก่า ที่ออกให้ก่อน สิงหาคม 2548 ยังคงใช้ได้ จนวันสิ้นอายุที่ปรากฏในเล่มหนังสือเดินทาง แต่จะไม่สามารถต่ออายุได้อีก

หนังสือเดินทางของไทย มี 4 ประเภทคะ

ของประชาชนทั่วไป เล่มสีเลือดหมู
ของข้าราชการทหาร ตำรวจ และข้าราชการทั่วไป สีฟ้าเข้ม
ของท่านผู้ที่เดินทางทางการทูต สีแดงสด
หนังสือเดินทางชั่วคราว ออกเฉพาะกรณีพิเศษทางศาสนา สีเขียว ซึ่งการขอหนังสือเดินทางแบบนี้ต้องมีหนังสือรับรองจากสำนักจุฬาราชมนตรีหรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดรับรองการไปประกอบพิธีฮัจญ์
โดยการทำหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ มีค่าธรรมเนียม 400 บาท และหนังสือเดินทางมี อายุ 2 ปี
การทำหนังสือเดินทาง
ผู้ขอหนังสือเดินทางจะต้องเดินทางไปขอหนังหนังสือเดินทางด้วยตนเอง ณ กองหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างเวลา 8.30 -15.30 น. กองหนังสือเดินทางจะถ่ายรูปติดบัตร เก็บของมูลส่วนบุคคล และจะจ่ายหนังสือเดินทางคืนให้ผู้ยื่นคำร้องขอภายใน 5 วันทำการ ถ้าสำหรับใครที่ไม่สะดวกมารับหนังสือเดินทางเอง ก็มีบริการส่งเล่มฯ ให้ทางไปรษณีย์
*** หลีกเลี่ยงการไปขอทำหนังสือเดินทางในช่วงต้นสัปดาห์ โดยเฉพาะวันจันทร์ เนื่องจากมีผู้มาใช้บริการมาก ทำให้ต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการรอลำดับการยื่นคำร้องขอหนังสือ


เอกสารหลักๆ ในการทำหนังสือเดินทาง

บัตรประจำตัวประชาชน
ผู้เยาว์

สูจิบัตร หรือบัตรประจำตัวประชาชนสำหรับผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
ทะเบียนบ้านของผู้เยาว์
ทะเบียนบ้านของบิดามารดาผู้เยาว์
ทะเบียนสมรส หรือหย่า หรือใบมรณะบัตรของบิดามารดาผู้เยาว์
บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาผู้เยาว์
***โดยจะต้องให้บิดามารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม มาลงนามให้ความยินยอมด้วย (ต้องเอาบิดามารดาไปเซ็นต์ด้วยค่ะ)
เอกสารเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี
- ใบเปลี่ยนชื่อ หรือสกุล
- ทะเบียนการรับรองบุตรบุญธรรม
- ทะเบียนการรับรองบุตร
- ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดา
ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง
ค่าหนังสือ 1,000 บาท+ ค่าถ่ายรูป 75 บาท+ค่าอากร 5 บาท+ค่าเขียนคำร้อง 10 บาท รวมทั้งหมด 1,090 บาท ถ้าจะให้จัดส่งทางไปรษณีย์ เสียค่าส่งลงทะเบียนด่วนพิเศษอีก 40 บาท
การรับหนังสือเดินทาง
เสาร์อาทิตย์และวันหยุดราชการ หยุดทำการ
- ถ้ามาทำแต่เช้ามากๆ วันเดียวเสร็จ
- ถ้ามารับเอง 3 วัน
กรมการกงสุล / สำนักงานหนังสือเดินทาง / ในกรุงเทพฯ 3 วันทำการ เสร็จ
สำนักงานหนังสือเดินทาง ในต่างจังหวัด รับทางไปรษณีย์เพียง ทางเดียว
(ผลิตเล่มที่กรมการกงสุล) 5-7 วันทำการ (ไม่รวมวันเสาร์-อาทิตย์)
- รับด้วยตนเอง
เอกสารที่ใช้

บัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับ
ใบรับหนังสือเดินทาง
หรือ - ให้ผู้อื่นรับแทน
เอกสารที่ใช้

บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ถือหนังสือเดินทาง
บัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับแทน
ใบรับหนังสือเดินทาง
สถานที่ทำหนังสือเดินทาง

กรมการกงสุล / สำนักงานหนังสือเดินทาง / ในกรุงเทพฯ

กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ

- ที่อยู่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
- โทรศัพท์ 0-2981-7171-99 โทรสาร 0-2981-7256

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา
- ที่อยู่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้บางนา อาคาร “บางนาฮอลล์”(ด้านข้างศูนย์การค้า) ชั้น B1
- โทรศัพท์ 0-2383-8401-3 โทรสาร 0-2383-8398

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า
- ที่อยู่ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์(ชั้นใต้ดิน) แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700
- โทรศัพท์ 0-2446-8111-2 โทรสาร 0-2446-8118-9

สำนักงานหนังสือเดินทาง ในต่างจังหวัด
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดขอนแก่น
- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
- โทรศัพท์ 0-4324-2707, 0-4324-3462, 0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่
- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
- โทรศัพท์ 0-5389-1535-6 โทรสาร 0-5389-1534
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสงขลา
- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จ.สงขลา 9000
- โทรศัพท์ 0-7432-6510-1 โทรสาร 0-7432-6506

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุบลราชธานี
- ที่อยู่ อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
- โทรศัพท์ 045-242313-4 โทรสาร 045-242301
- E-mail : [email protected]

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ที่อยู่ ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
- โทรศัพท์ 077-274940, 077-274942-3 โทรสาร 077-274941

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครราชสีมา
- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
- โทร 044-243-132, 044-243-124 โทรสาร 044-243-133

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุดรธานี
- ที่อยู่ ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี(ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง) ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
- โทร 042-212827, 042-212-318 โทรสาร 042-222-810

** การขึ้นหนังสือเดินทางเล่มใหม่ เพราะเล่มเก่าหมดอายุ แต่ว่ายังมี VISA ของประเทศต่างๆ ที่ยังใช้งานได้ ต้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อรับรองหนังสือเดินทางเล่มเก่าด้วย ไม่งั้น VISA จะใช้ไม่ได้ ใช้เวลาประมาณ 1 ชม และค่าธรรมเนียมอีก 100 บาท
วัน-เวลาที่เปิดทำการ
- จันทร์ ถึง ศุกร์ หยุดเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดที่ทางราชการกำหนด ระหว่าง เวลา 8.00 - 15.30 น. กำหนดวันรับเล่มหรือหนังสือนำวีซ่า 2 วันทำการไม่นับวันยื่น
โทร.02-981-7171 ถึง 4 ต่อ 3417, 2236, 2238 และ 2239
หรือ 02-981-7265 ถึง 6 FAX : 02-981-7267

ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางใหม่

รับบัตรคิว รับบัตรคิว พร้อมทั้งกรอกชื่อ/สกุลภาษาอังกฤษ
ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อตรวจสอบข้อมูล
- ข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า )
- แจ้งความประสงค์หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์
ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (และค่าส่งไปรษณีย์ 40 บาทหากประสงค์ให้จัดส่งทางไปรษณีย์) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม
*** ที่กรมการกงสุลได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จำลองเพื่อสามารถทดสอบการผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานโดยอัตโนมัติไว้ 1 เครื่อง ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มารับเล่มด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ถือหนังสือเดินทางมีความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ
• ในกรณีจำเป็น สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนหรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (EMS)

คำแนะนำในการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

*** หนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ตนี้ถือว่าเป็นเอกสารที่สำคัญมากที่สุดสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ควรเก็บรักษาไว้อย่างดีและพกติดตัวตลอดเวลา เพื่อความสะดวกในการแสดงตนและการตรวจค้น

ห้ามขีด เขียน แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายในเล่มหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
ห้ามแกะ ตัด เย็บ เจาะรู หรือกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้ปกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความเสียหาย
ห้ามตัด งอ บิด หรือกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ยับย่น หรือ เปลี่ยนรูปไปจากเดิม
ไม่ควรเก็บหนังสือเดินทางไว้ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก หรือสนามไฟฟ้าสูง และบริเวณที่มีคลื่นความถี่วิทยุ เช่นโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือไมโครเวฟ
หลีกเลี่ยงการวางวัตถุสิ่งของที่มีน้ำหนักมากบนหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
ควรเก็บหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในห้องที่แห้ง อากาศเย็น ไม่อับชื้น
หลีกเลี่ยงการนำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าใกล้วัตถุที่มีความร้อนซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส สถานที่มีแสงแดดส่องถึงได้เป็นเวลานาน สถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เปียกแฉะ สัมผัสน้ำ หรือสถานที่ใกล้สารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งสถานที่ที่มีฝุ่นละออง
ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นระยะเวลานาน ควรแจ้งชื่อ ที่อยู่ให้สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่เดินทางไปพำนักทราบ รวมทั้งแจ้งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ทุกครั้ง เพื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยสามารถติดต่อท่านได้ในยามฉุกเฉิน
หนังสือเดินทางเป็นเอกสารอันมีค่า ไม่ควรให้ตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลที่มิได้รับมอบหมาย บุคคลสัญชาติไทยถือหนังสือเดินทางได้ฉบับเดียว หากหนังสือเดินทางสุญหาย ผู้ถือจะต้องแจ้งกองหนังสือเดินทาง หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น หรือสถานทูต สถานกงสุลไทยทราบทันที
หากหนังสือเดินทางสูญหาย

สูญหายในประเทศ ต้องติดต่อแจ้งความและรับใบแจ้งความจาก ตำรวจมายื่นขอทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่และยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทางฉบับที่สูญหาย
สูญหายในต่างประเทศ ต้องแจ้งความหนังสือเดินทางสูญหายต่อทางการท้องถิ่น และนำใบรับแจ้งความดังกล่าวนั้นพร้อมเอกสารแสดงการมีสัญชาติไทยของตนหรือเอกสารทะเบียนราษฎรที่มีอยู่ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ฯลฯ ไปติดต่อที่สถานทูต สถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่สุด เพื่อขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่
**หากในกรณีที่ผู้ทำหนังสือเดินทางสูญหายต้องการเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการเร่งด่วน ไม่สามารถรอรับหนังสือเดินทางได้ สถานทูตสถานกงสุลจะออกเอกสารเดินทาง(Certificate of Identity) ให้ใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียว เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วเอกสารเดินทางจะหมดอายุการใช้งาน
ข้อแนะนำ
ก่อนเดินทางออกนอกประเทศควรถ่ายเอกสารหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและข้อมูลส่วนบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุอยู่เก็บไว้แยกกัน ควรมีที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของสถานทูตสถานกงสุลไทย ในประเทศที่จะเดินทางไปถึง
ผู้สนใจขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 981-7257 ถึง 60 ในวันและเวลาราชการและที่ http://www.mfa.go.th/ หรือ http://www.consular.go.th/ หรือ สอบถามทางอีเมล์ ที่ [email protected]

บริการออนไลน์ สำรองคิวล่วงหน้าทางอินเทอร์เน็ตhttp://moi.mfa.go.th/advancebooking/user/index.php

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

กรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ