มก.พบเอื้องเทียนปากสีน้ำตาล กล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลก

วันนี้ (19 ส.ค.) ผศ.ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย ภาควิชาพฤกษศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.)และ นายปกรณ์ ทิพยศรีนิสิตปริญญาโท ผู้ค้นพบพบกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลก“เอื้องเทียนปากสีน้ำตาล” กล่าวว่า ทางคณะพบพืชชนิดนี้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2549 และ 2550 ที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกหมันแดง ใกล้หน่วยพิทักษ์ป่าหมันแดง ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ1,650 ม. ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2555 ได้ตีพิมพ์ผลงานการพบพืชชนิดใหม่ของโลกเรื่อง “Coelogynephuhinrongklaensis(Orchidaceae), a new species for Thailand” ในวารสารThaiForest Bulletin (Botany) โดยได้รับคำปรึกษาและตรวจแก้ไขต้นฉบับจากDrE. F. de Vogel ณ หอพรรณไม้แห่งชาติเนเธอร์แลนด์(NationalHerbarium Nederland) ประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญกล้วยไม้สกุล Coelogyne ของโลก และ ProfessorDr John Parnell แห่งTrinityCollege Dublin ประเทศไอร์แลนด์ ทั้งพืชสกุล Coelogyneชนิดนี้อยู่ในหมู่(section)Elatae มีลักษณะที่ควรสังเกต คือ ก้านช่อดอกมีใบประดับ ติดทนเรียงสลับซ้อนเหลื่อมอยู่ที่ปลายก้านช่อดอก(ใต้แกนกลางช่อดอก)ดอกบานพร้อมกัน(Pridgeonetal.,2005)

ผู้วิจัยกล่าวอีกว่า เอื้องเทียนปากสีน้ำตาลเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย หรือ ขึ้นบนหินเจริญทางด้านข้างทุกส่วนเกลี้ยงเหง้าทอดนอนรูปทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง5-6มม. มีเกล็ดบางคล้ายกระดาษติดทนเรียงซ้อน เหลื่อมหุ้มเหง้ารากออกตามข้อ หัวเทียมสีเขียวรูปทรงรูปไข่ (ค่อนข้างยาว)เส้นผ่านศูนย์กลาง1.5-1.7ซม.ยาว4.7-5.5ซม.มี1ปล้องอวบน้ำ มีสันตามยาว 4-5สันมีเกล็ดบางคล้ายกระดาษขยายใหญ่เรียงซ้อนเหลื่อมหุ้มโคนหัวเทียมระยะห่างระหว่างหัวเทียม3-7ซม.ใบ2ใบออกที่ปลายหัวเทียมรูปขอบขนานแกมรูปรีหรือรูปใบหอกกว้าง 3-5ซม.ยาว11.5-27ซม.ปลายแหลมหรือเรียวแหลมโคนสอบเรียว ขอบเรียบแผ่นใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนังเส้นใบเรียงขนานแบบนิ้วมือมี 5เส้นเส้นกลางใบนูนทางด้านล่างเห็นชัดก้านใบกว้างประมาณ 3มม.ยาว2-7ซม.เป็นร่องตามยาวทางด้านบนช่อดอกแบบช่อกระจะออกที่ปลายหัวเทียม ช่อโค้งลงแต่ละช่อมี 3-4ดอก พบน้อยที่มี 2ดอกมักบานพร้อมกัน ทั้งช่อยาว18-33ซม.ก้านช่อดอกเรียวรูปทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง1-2มม.ยาว11.5-23.5ซม.แกนกลางช่อดอกยาว2-7ซม.ใบประดับติดทน9-13ใบเรียงซ้อนเหลื่อมอยู่ช่วงปลายก้านช่อดอก(ใต้แกนกลางช่อดอก)ใบประดับย่อยสีเขียวอ่อนเมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อนหรือ สีเหลือง ร่วงง่ายเมื่อดอกบานโค้งเข้าด้านใน รูปไข่กว้างประมาณ 2ซม.ยาวประมาณ3.5ซม.ปลายแหลม

ดอกกว้างประมาณ5ซม.ยาว4-5ซม.กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวโคนกลีบด้านในสีเหลืองอ่อนกลีบเลี้ยงบนโค้งไปทางด้านหน้ากลีบเลี้ยงข้างกางออกทั้งกลีบเลี้ยงบนและกลีบเลี้ยงข้างรูปใบหอกกว้าง 1.3-1.4ซม.ยาว3.5-4 ซม.ปลายแหลมมีเส้นกลีบ 3หรือ5เส้นกลีบดอกโค้งไปทางด้านหลังรูปแถบ กว้าง 5-6มม.ยาว3.4-3.8ซม.ปลายแหลมมีเส้นกลีบ 1เส้นกลีบปากสีขาวแกมสีน้ำตาลเป็น 3แฉกรูปซอ กว้าง 2.5-3ซม.ยาว2.7-3.2ซม.แฉกกลางรูปสี่เหลี่ยมกว้าง 1.2-1.6ซม.ยาว1.6-1.8 ซม. ค่อยๆ กว้างขึ้นไปสู่ส่วนปลายปลายเว้าตื้นขอบเป็นคลื่นหรือหยักไม่เป็นระเบียบแฉกข้างตั้ง ปลายมน ขอบเรียบส่วนเว้ายาว 0.8-1ซม.กลีบปากมีสันตามยาว3สันสันกลางสีน้ำตาลอยู่ที่โคนกลีบปากสั้นและป่อง รูปกรวย กว้าง1.5-2มม.ยาว5-7มม.สันข้างจากโคนกลีบปากถึงมากกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวกลีบปากช่วงปลายยาว 2.4-2.6ซม.ช่วงโคนสันสีขาวขอบสีน้ำตาล เรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อยช่วงปลายสันสีน้ำตาลเข้มขอบเรียบกลางกลีบปากเป็นร่องตามยาวทางด้านบนอยู่ระหว่าง สันข้าง มีแถบสีน้ำตาล 2แถบอยู่ระหว่างสันข้างยาว1-1.6ซม.บริเวณถัดจากสันข้างถึงขอบกลีบปากมีแต้มสีน้ำตาลกระจายจากโคนกลีบถึงประมาณครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวกลีบปากช่วงปลายเส้าเกสรโค้งไปทางด้านหน้ารูปช้อน ยาวประมาณ 2.2ซม.ปลายมีครีบขอบหยักซี่ฟันไม่เป็นระเบียบช่วงปลายสีขาว ช่วงโคนสีขาวนวลอับเรณูรูปกรวยสั้นกว้างและยาวประมาณ 4มม.ปลายมี2หยักกลุ่มเรณู4กลุ่มเรียงเป็น 2คู่รูปไข่กลับ กว้างประมาณ 1.5มม.ยาวประมาณ2.5มม.ก้านดอกรวมรังไข่ยาว1.5-2.3ซม.ผลไม่พบ

สำหรับการกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยาเอื้องเทียนปากสีน้ำตาล เป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย จะพบเฉพาะทางภาคเหนือจังหวัดพิษณุโลกในอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า และอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวอิงอาศัยบนไม้ต้น หรือขึ้นบนลานหินทรายที่มีมอสส์คลุมในป่าดิบเขาที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล1,100- 2,100 ม.ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน

“เอื้องเทียนปากสีน้ำตาล อยู่ในสถานภาพพืชมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์[‘Vulnerable’(VU)] ตามเกณฑ์การประเมินของIUCN(2001) เนื่องจากกล้วยไม้ชนิดนี้มีกลุ่มประชากรขนาดเล็ก จำนวนประชาน้อย พบในอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า และอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวจังหวัดพิษณุโลก มีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทย พืชชนิดนี้ขึ้นอยู่ค่อนข้างใกล้เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซึ่งในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์ทั้ง 2 แห่งนี้ อาจส่งผลกระทบต่อถิ่นที่อยู่(habitat)ของกล้วยไม้ชนิดนี้ และจากการสำรวจและศึกษากล้วยไม้ชนิดนี้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2549 ถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานการเป็นผลแสดงให้เห็นว่าการเติบโตของขนาดกลุ่มประชากรค่อนข้างจำกัด“ ผู้วิจัย กล่าว.

ที่มา:หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคาร 19 สิงหาคม 2557 เวลา 18:28 น.