ประวัติ

...โรงเรียนบ้านทุ่งวัง สาขาบ้านโคกอะโตด เกิดจากแรงศรัทธาของชุมชนโคกอะโตดในสมัยก่อนและชุมชนหลายชุมชน ที่ต้องการให้บุตรหลานที่เดินทางไปเรียนยังหลายโรงเรียน เช่น โรงเรียนบ้านทุ่งวัง โรงเรียนบ้านหนองแวง โรงเรียนบ้านกระสัง และโรงเรียนบ้านปลัดมุม ซึ่งบริเวณที่ตั้งของชุมชนในสมัยก่อนเป็นป่าดงดิบ เหมือนกับป่าโคกโจด ต่อมาเกิดป่าดิบสตึกแตก.... (สมับช่วง พ.ศ.2500) มีผู้คนอพยพมาตั้งหลักแหล่งจับจองที่ทำเลหลายหมื่นไร่ ตัดต้นไม้ถูกตัดขาย แปรรูป เพื่อยังชีพ ข่าวนี้..ทำให้มีผู้คนมาจากหลายพื้นที่ของจังหวัดในภาคอีสาน มาตั้งหลักแหล่งจนถึงในปัจจุบัน

...ปัญหาที่ตามมาของชุมชนคือ กลายเป็นชุมชนที่ขาดความเข้มแข็งในการ ปกครอง เช่น บ้านเรือนตั้งอยู่ห่างไกลกันหลายกิโลเมตร มีบ้านเรือนตั้งเป็นกระจุกกลุ่มละ 4-5 หลัง ปัญหาทางด้านการศึกษาใน
สมัยนั้น บุตรหลานไม่มีที่เรียนหนังสือโรงเรียนบ้านทุ่งวัง ได้เข้าไปสำรวจ และได้ ดำเนินการจัดการศึกษาให้....พบว่า มีเด็กอายุ 7 ปีขึ้นไป-15 ปี เป็นจำนวนมากเด็กหรือ เยาวชนเหล่านี้...ยังไม่เข้าเรียนตามพ.ร.บ. การศึกษาภาคบังคับ ในสมัยที่นายสงวนศักดิ์ อุ่นทานนท์ เป็นผู้บริหาร (อาจารย์ ใหญ่) ได้เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาภาคบังคับ 6 ปี ได้ไปทำความเข้าใจและชี้แจงกับชาวบ้านให้เข้ามาเรียนที่โรงเรียนบ้านทุ่งวัง ระยะทางในการเดินทางเป็นปัญหาากในช่วงพ.ศ.2520 เนื่องจากถนนหรือทางเข้าหมู่บ้านเป็นทางเกวียนสองข้างทางเป็นป่าไม้ที่กำลังถูกทำลายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ของชาวบ้าน...กอปรกับแรงศรัทธาของชาวบ้านและคณะครูโรงเรียนบ้านทุ่งวังในสมัยนั้น จึงได้ทำการแยกโรงเรียนบ้านทุ่งวัง ตั้งเป็นสาขาใหม่ ชื่อ โรงเรียนบ้านทุ่งวัง สาขาบ้านโคกอะโตด โดยกำนันสด เหรียญสมบูรณ์ ได้บริจาคพื้นที่จำนวน 8 ไร่ 2 งาน ซึ่งพื้นที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ (เป็น สค.อยู่) ให้จัดตั้งโรงเรียน

...ในปี พ.ศ.2527 ได้ตั้งโรงเรียนบ้านโคกอะโตด จำนวน1 หลัง โดยความร่วมมือร่วมใจจากคณะครูและชุมชน เป็นอาคารชั่วคราว เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน....ต่อมาในปี พ.ศ.2530 นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ ได้ออกมาสำรวจหมู่บ้านในชนบทห่างไกล ด้วยความร่วมือของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ ที่เป็นคนสตึก สำนึกรักในบ้านเกิด....ได้มาเห็นสภาพของโรงเรียน... จึงนำข้อมูลไปให้ชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ ต่อมานักศึกษาจำนวนประมาณ 100 คน ได้มาออกค่ายสร้างอาคาเรียนถาวร 1 หลังจำนวน 4 ห้องเรียน เป็นระยะเวลา 1 เดือน และพัฒาคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ของชุมชนด้วย...ในช่วงนั้นมีคณะครูที่ร่วมออกค่ายและเป็นแกนหลักในการพัฒนาโรงเรียนแห่งนี้ประกอบไปด้วยคณะครูโรงเรียนบ้านทุ่งวังและชุมชน

...การดำเนินการอยู่กินและร่วมพัฒนากับชาวค่ายอาสาพัฒนาในครั้งนี้ ทำให้เกิดโรงเรียนของชุมชน โดยขุมชน เพื่อชุมชนอย่างแท้จริง....... ดังบทกวีของชาวค่ายดังนี้

......เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้งฤาจึงมุ่งมาศึกษา
เพียงเพื่อปริญญาเอาตัวรอดนั้นฤา
แท้ควรสหายคิดและตั้งจิตร่วมยึดถือ
รับใช้ประชาคือจุดหมายที่เล่าเรียน.........

...ในช่วงนั้นได้แยกนักเรียนไปสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 มีหน่วยกล้าตายที่เดินทางไปสอนด้วยความยากลำบาก จำนวนหลายคน ทุกคนที่ไปแล้วไม่อยากกลับมา....อยากอยู่ที่นั้น.... ความรัก ความสามัคคี ของชุมชน ความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย .....คณะครูที่อยู่ที่สาขาบ้านโคกอะโตด....ตามกาลและเวลา มีดังนี้

1. นายสมนึก ผะดาศรี (ข้าราชการบำนาญ)
2. นายโกศล จันทร์ดอกรัก (เสียชีวิต)
3. นายเสถียร แพงภูงา
4. นายประหยัด โพธิ์ศรี (ย้ายไปจ.อุบลราชธานี)
5. นายกิตติศักดิ์ เยาวรัมย์ (เสียชีวิต)
6. นางพัทยา พุทธชาติ (ย้ายไป จ.สุรินทร์)
7. นายทองสูณ บัวมาตย์
8. นายสถิตย์ ศรีสุข

ต่อมาทางราชการได้ตั้งบริเวณชุมชนของโรงเรียนบ้านโคกอะโตด เป็นหมู่บ้านเมื่อ ปี พ.ศ.2535 หมู่ที่ 11 โดยรวมกลุ่มชุมชนต่าง ๆ ดังนี้
1. ชุมชนหนองหัวลิง
2. ชุมชนโคกกลาง (หนองโคยเสียก) ....มีประวัติความเป็นมา...(ติดตาม)
3. ชุมชนโคกอะโตด
...การดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโคกอะโตด ได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย โดยเฉพาะจากโรงเรียนบ้านทุ่งวัง ในฐานะโรงเรียนแม่ ได้ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนบ้านโคกอะโตด ตลอดมาในการบริหารจัดการ ทุกงาน ....นอกจากนี้โรงเรียนบ้านโคกอะโตด ยังได้รับความร่วมมือจากชุมชน ศิษย์เก่า จัดกิจกรรมพัฒนาโรงเรียนในลักษณะของ ผ้าป่า ทุก ๆ ปีการศึกษา
ด้วยสำนึกรักในบ้านเกิด ศิษย์เก่าที่ลงไปทำงานต่างจังหวัด (ลงไปไท)....จะกลับมาเยี่ยมบ้านในช่วงเทศกาลปีใหม่ ตรุษจีนและสงกรานต์....พร้อมกับได้มาพัฒนาโรงเรียนไปทุก ปี นอกจากนั้น หน่วยงานทางราชการและเอกชน ก็ได้ร่วมพัฒนาสถานศึกษาแห่งนี้ด้วยดี เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สำนักปฏิบัติธรรมพระมหาบุญมา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ในปัจจุบันนี้ โรงเรียนบ้านทุ่งวัง สาขาบ้านโคกอะโตด ได้ดำเนินการจัดการศึกษาดังนี้
1. ระดับปฐมวัย (อน.1-3)
2. ระดับประถมศึกษา (ช่วงชั้นที่ 1) ป.1-3
สถานศึกาษาแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ ใช้ประชุมอบรมสัมมนา และเป็นศูนย์เด็กเล็ก ของ อบต.ทุ่งวัง
อีกด้วย


วิสัยทัศน์

ในปี 2550 โรงเรียนบ้านโคกอะโตด เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาสู่ความเข้มแข็งตามแนวทางปรัชญาพอเพียง

คำขวัญ

เรียนดี มีวิชา กีฬาเด่น เน้นผ้าป่า

อักษรย่อ

คต.

ปรัชญา

สุวิชาโน ภวังโหตุ
สีประจำโรงเรียน สีม่วง