ประวัติ

โรงเรียนบ้านหนองครก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4 ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2488 ด้วยความร่วมมือของชาวบ้านหนองครก บ้านขี้เสือ บ้านสะเดาและบ้านโนนธาตุ ตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยในช่วงแกได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารชั่วคราวขึ้น อยู่ห่างจากบ้านหนองครกไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 500 เมตร ที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างได้รับบริจาคจากนายเขียว ยามดี ราษฏรบ้านหนองครก มีนักเรียนเข้ามาเรียนจาก 4 หมู่บ้านโดยมีนายเพชร ฉิมมานิตย์เป็นครุใหญ่คนแรก
ในปี พ.ศ. 2491 โรงเรียนได้ย้ายมาตั้งที่ใหม่เนื่องจากบ้านโนนธาตุ บ้านขี้เสือและบ้านสะเดาได้แยกไปสร้างโรงเรียนของตนเองขึ้นใหม่ ชื่อว่าโรงเรียนบ้านโนนธาตุ โดยโรงเรียนบ้านหนองครกได้ย้ายมาตั้งที่บริเวณทางทิศตะวันนตกเฉียงใต้ของบ้านหนองครก อยู่ห่างประมาณ 2 กิโลเมตร มีนักเรียนมาเข้าเรียนจาก 3 หมุ่บ้านคือ บ้านหนองครก บ้านตาลอง และบ้านสะแกน้อย ตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ภาษาถิ่นที่ใช้คือ ภาษาเขมร ภาษาส่วยและภาษาลาว
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านหนองครก มีนักเรียนทั้งสิ้น 122 คน มีอาคารประกอบการ 3 หลัง 10 ห้องเรียน อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง ส้วม 2 หลัง มีข้าราชการครูทั้งสิ้น 7 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 3 คน มีลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งนักการภารโรง 1 คน ผู้บริหารคนปัจจุบันคือ นายสุบรรณ์ จำปาศรี ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

สีประจำโรงเรียนคือ สีเขียว - เหลือง

พระพุทธรูปประจำสถานศึกษา คือ พระพุทธมหาเดชา ปัญญา โภคา

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านหนองครกมุ่งจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้นักเรียนวัยเรียนทุกคนตามมาตรฐานของหลักสูตร โดยมุ่งเน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม รักท้องถิ่น ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยมุ่งประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข พัฒนาครูสู่มืออาชีพ

คำขวัญ

เร่งเรียนเป็นหลัก เน้นหนักพัฒนา ประชามีส่วนร่วม

พันธกิจ

1. จัดการศึกษาให้กับนักเรียนในวัยเรียนทุกคน
2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ
3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
4. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนรักท้องถิ่น และส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนาธรรม ประเพณี
5. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้เป็นคนดี
6. จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุข
7. ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
8. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย

1. นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาตามหลักสุตรอย่างทั่วถึง
2. นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตร
3. นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
4. นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีและรักท้องถิ่น
5. นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย รู้จักการประหยัด มีความซื่อสัตย์อดทนและมีความรักสามัคคี
6. ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
7. บุคลากรร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

อักษรย่อ

ตคร.

ปรัชญา

ทน.โต เสฏโฐ มนุส.เสสุ
"ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุด"