ประวัติ

ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านบาโงปูโละ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 โดยทางอำเภอเป็นผู้จัดตั้ง
นายสะมะแอ มิงสาแล กำนันตำบลเรียง เป็นผู้อุปการะ นายแนม บุญเอื้อ เป็นครูใหญ่ เปิดสอนชั้น ป.1-4 ใช้ชื่อว่า “ โรงเรียนประชาบาลตำบลเรียง 2 “ เกณฑ์เด็กในหมู่ที่ 5 และ 6 มาเข้าเรียน ต่อมาเปลี่ยนเป็นหมู่ที่ 3 และ 4 ระยะแรกสร้างอาคารเรียนชั่วคราวในที่ดินเหมืองแร่ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของโรงเรียนบ้านบาโงปูโละในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2485 ได้ย้ายมาปลูกสร้างอาคารเรียนชั่วคราวทางทิศเหนือของถนนหน้าโรงเรียนปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2489 ได้ย้ายสถานที่ปลูกสร้างอาคารไปสร้างในที่ตั้งอาคารปัจจุบัน ซึ่งที่ดินได้รับบริจาค
โดยนายสะมะแอ มิงสาแล กำนันตำบลเรียง และได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น
ปี พ.ศ. 2491 นายตาเย๊ะ นิเฮง ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 3 กับนายแวบือซา ดือราแม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ได้ร่วมมือกับชาวบ้านจัดสร้างอาคารเรียนกึ่งถาวร 1 หลัง ขนาด 7 x 12 เมตร หลังคามุงกระเบื้อง ซึ่งใช้งบประมาณค่าก่อสร้าง เป็นเงิน 5,000 บาท
ปี พ.ศ. 2500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส ขอจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล เป็น เงินจำนวน 4,000 บาท นายสิงห์ พลันสังเกต ซึ่งมารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ใช้งบประมาณนี้สร้างอาคารเรียน หลังคามุงกระเบื้อง ขนาด 6 x 8 เมตร ไม่มีฝากัน
ปี พ.ศ. 2500 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา สร้างอาคารเรียนแบบวาตะภัยภาคใต้ จำนวน 48,000 บาท ขนาด 6 x 29 เมตร จำนวน 3 ห้องเรียน นายอรุณ บุญเอียดเป็นครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2510 โรงเรียนได้ขออนุญาตรื้อถอนอาคารเรียนหลังเก่า 2 หลัง และนำวัสดุไปสร้างบ้าน
พักครูแบบห้องแถวได้ 2 ครอบครัว
ปี พ.ศ. 2515 ได้ทำการรื้อถอนบ้านพักครูหลังกล่าวผุพังไม่สามารถซ่อมแซมได้
ปี พ.ศ. 2520 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก. 1 หลัง ขนาด 4 ห้องเรียนเป็นเงิน 280,000 บาท และได้รับงบประมาณสร้างส้วม 2 ที่นั่ง เป็นเงิน 8,000บาท นายวรรณะ จำนง เป็นครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2521 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู 1 หลัง จำนวนเงิน 50,000 บาท
ปี พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงาน 1 หลัง จำนวนเงิน 48,000 บาท
ปี พ.ศ. 2525 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 017 1 หลัง จำนวนเงิน 880,000 บาท
ปี พ.ศ. 2526 ได้รับงบประมาณสร้างถังเก็บน้ำ แบบ ฝ. 33 จำนวน 3 งบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2527 นายวงศ์ พรหมมุณี ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างส้วม 1 หลัง 4 ที่นั่ง มีนักเรียน 259 คน ต่อมาทางราชการได้กำหนดตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนจากครูใหญ่เป็นอาจารย์ใหญ่
ปี พ.ศ. 2529 สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอรือเสาะ ได้ย้าย นายอ้วม นุ้ยไกร มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ จนถึง พ.ศ. 2530 จึงได้เลื่อนและ
แต่งตั้ง เป็นอาจารย์ใหญ่มีครู 13 คน มีนักเรียน 231 คน
ปี พ.ศ. 2531 โรงเรียนได้เปิดสาขาชั่วคราวบ้านลอ หมู่ที่ 5 เพื่อแก้ปัญหาการขาดเรียนเริ่มเปิดทำการสอนชั้นเด็กเล็ก ปี พ.ศ. 2532 ได้ขยายห้องเรียนไปอีกหนึ่งห้อง รวมเป็น 2 ห้อง มีนักเรียน 39 คน ต่อมาโรงเรียนได้ขอยุบด้วยเส้นทางคมนาคมสะดวกขึ้น
ปี พ.ศ. 2534 ได้รื้อย้ายบ้านพักครู ไปสร้างใหม่ในที่ดินของโรงเรียนบ้านพนาทักษิณ ตำบลบาตง ซึ่งเป็นที่ทำการศูนย์กลุ่มโรงเรียนสหพัฒนา งบประมาณ 79,500 บาท และในปีนี้ทางโรงงเรียนได้รับเลือกเป็นโรงเรียนดีเด่นของอำเภอ กิจกรรมสหกรณ์ดีเด่นระดับอำเภอ และได้รับการคัดเลือกโรงเรียนดีเด่นระดับที่ 3 ของจังหวัดนราธิวาส
ปี พ.ศ. 2535 ได้รับงบประมาณสร้างเรือนเพาะชำ แบบ พ. 1 จำนวน 1 หลัง จำนวนเงิน 25,900 บาท ขนาด 6 x 8 เมตร ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียน แบบ 017 จำนวน 4 ห้องเรียนเป็นเงิน 272,000 บาท โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีเด่นระดับอำเภอ และนายอ่วม นุ้ยไกรได้รับคัดเลือกเป็นผู้บริหารดีเด่น

ผลงานดีเด่นระดับจังหวัด กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย ลำดับที่ 3 โรงเรียนดีเด่นลำดับที่ 2 และได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนรับรางวัลพระราชทาน
ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนพระราชทาน ขนาดกลางระดับประถมศึกษา เขตการศึกษา 2 ประจำปีการศึกษา 2535 จากกระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ. 2536 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนราธิวาส ได้ย้าย นายกมล บุญธรรม มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ มีครูทั้งสิ้น 12 คน ภารโรง 1 คน วิทยากรอิสลามศึกษา 1 คน และนักเรียน 342 คน และในปีนี้โรงเรียนได้เริ่มเปิดทำการสอนชั้นอนุบาลตามโครงการเป็นปีแรก
ปี พ.ศ. 2537 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้รื้อถอนอาคารแบบวาตภัยด้วยเหตุใช้การมานานปี
ปี พ.ศ. 2538 กิจกรรมที่ได้รับคัดเลือกระดับอำเภอลำดับที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยดีเด่นและกิจกรรมการเรียนการสอนอาหารกลางวันดีเด่น มีข้าราชการครู 12 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน นักการภารโรง 1 คน วิทยากรอิสลามศึกษา 1 คน และมีนักเรียน 380 คน เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับเงินทดแทนสิ่งก่อสร้างติดเขตทางหลวงจากแขวงการทางยะลาจำนวน 92,486 บาท ได้รับพิจารณาเป็นโรงเรียนกันดาร เสี่ยงภัย ตามประกาศกระทรวงการคลังประจำปีงบประมาณ 2538 - 2540 ( 1 ต.ค. 37 - 3 ก.ย. 40 )
ปี พ.ศ. 2539 ผลงานดีเด่นระดับกลุ่มโรงเรียน คัดเลือกแข่งขันระดับอำเภอ ลำดับที่ 1 โรงเรียนดีเด่นขนาดกลาง จัดกิจกรรมการเรียนการสอนประชาธิปไตยและวินัยนักเรียน ลำดับที่ 2 จัดกิจกรรมแนะแนว ครูแนะแนว นักการ ฯ ลำดับที่ 3 ครูสอนระดับก่อนประถม

ผลงานดีเด่นระดับอำเภอ ลำดับที่ 2 โรงเรียนดีเด่นขนาดกลาง กิจกรรมการเรียนการสอน ประชาธิปไตยและวินัยนักเรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท
ได้รับอนุญาตปรับปรุงกำหนดตำแหน่งข้าราชการครู สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดตามหนังสือสำนัก ก.ค. ที่ ศธ. 1502 ( สมต. ) /03728 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2540 ตำแหน่งที่ ก.ค. อนุมัติกำหนดให้ใหม่ให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ( โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นโรงเรียนในพื้นที่กันดาร เสี่ยงภัยตามประกาศกระทรวงการคลังเท่านั้น )
ปี พ.ศ. 2541 รื้อถอนซ่อมแซม เปลี่ยนหลังคาอาคารเรียนวาตภัย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนห้องเรียน
ปี พ.ศ. 2542 นายกมล บุญธรรม ผู้อำนวยการโรงเรียนได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ที่สำนักงานการประถมศึกษา อำเภอศรีสาคร นายปรีชา บัวสม รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
ปี พ.ศ. 2542 นายอุทัศน์ นวลจันทร์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
ปี พ.ศ. 2543 ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานอำเภอรือเสาะ ให้เป็นโรงเรียนแกนนำปฏิรูปการเรียนรู้
โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นโรงเรียนแปลงผักปลอดภัยจากสารพิษ ลำดับที่ 1
โรงเรียนบ้านบาโงปูโละ เป็นโรงเรียนโครงการเกษตรทั่วไทยดีเด่น
นายอุทัศน์ นวลจันทร์ ผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น
นายวิเชษฐ์ ไชยบุญมา ครูสอนกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพดีเด่น
นายโชค บุญเรือง ครูสอนคณิตศาสตร์ดีด่น
ปี พ.ศ 2544 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการยุวทูตความดี และได้รับคัดเลือกจากสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอรือเสาะ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 80
นาย อุทัศน์ นวลจันทร์ ผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น
นางอำมร ณ พิบูลย์ ครูสอนภาษาไทยดีเด่น
นางสาวอารีย์ ยอดรัตน์ ครูทำหน้าที่พัสดุดีเด่น
นายวิเชษฐ์ ไชยบุญมา ครูสอนเกษตรดีเด่น
นายโชค บุญเรือง ครูสอนบูรณาการดีเด่น และครูสอน คณิตศาสตร์ดีเด่น
นายปรีชา บัวสม ครูทำหน้าที่การเงินดีเด่น และครูสอน สปช. ดีเด่น


โรงเรียนบ้านบาโงปูโละ - จัดกิจกรรมโครงการเกษตรอาหารกลางวัน ดีเด่น
- จัดห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ดีเด่น
- จัดห้องปฏิบัติการทางภาษาดีเด่น
- โรงเรียนขนาดกลางดีเด่น
- โรงเรียนจัดอาหารกลางวันดีเด่น
ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็น
บุคลากรต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้ ดังนี้
นางวิภา วงศ์อัฎฎาวุธ บุคลากรต้นแบบภาษาไทย
นางอำมร ณ พิบูลย์ บุคลากรต้นแบบภาษาไทย
นางสาวสุจินต์ อารีย์บำบัด บุคลากรต้นแบบปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
นายปรีชา บัวสม บุคลากรต้นแบบสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
นายเฉลิม บุญธรรม บุคลากรต้นแบบคอมพิวเตอร์
นายโชค บุญเรือง บุคลากรต้นแบบและได้รับรางวัลครูเกียรติยศ
นายวิเชษฐ์ ไชยบุญมา บุคลากรต้นแบบและได้รับรางวัลครูเกียรติยศ
ปี พ.ศ. 2545 โรงเรียนได้รับรางวัลจากสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเป็นโรงเรียนเครื่อข่ายใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4 และ นายอุทัศน์ นวลจันทร์ ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นบุคลากรต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้สาขาบริหาร
ปี พ.ศ. 2546 นายอุทัศน์ นวลจันทร์ ได้ปรับตำแหน่งจากอาจารย์ใหญ่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ตามเกณฑ์คุณภาพของ ก.ค. ตามคำสั่งที่ 223/46 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2546 ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2546 และได้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 5
ปี พ.ศ. 2547 โรงเรียนได้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6
ปี พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548 เวลาประมาณ 18.40 น. อาคารเรียนแบบวาตภัยถูกลอบวางเพลิงเสียหายหมดทั้งหลัง
ปี พ.ศ. 2548 สร้างอาคารห้องเรียนชั่วคราว แก้ปัญหาการขาดห้องเรียน
ปี พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 เวลาประมาณ 02.19 น. อาคารเรียนแบบ 017 ถูกลอบวางเพลิงเสียหายหมดทั้งหลัง
ปี พ.ศ. 2548 ทางวิทยาลัยอาชีวะได้สร้างอาคารเรียน 3 ห้องเรียน
ปี พ.ศ. 2548 นายอุทัศน์ นวลจันทร์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนโคกทราง อำเภอร่อนพิบูรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช นางสาวสุจินต์ อารีบำบัด รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบาโงปูโละ
ปี พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2548 นางสาวสุจินต์ อารีบำบัด ได้ย้ายไปช่วยราชการที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 1 จังหวัดยะลา นางเจ๊ะอาลาวีย๊ะ ยีมะยี รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านบาโงปูโละ
ปี พ.ศ. 2548 นายมุคตาร์ เจ๊ะมะ ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้าน
บาโงปูโละ
ปี พ.ศ. 2548 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้สร้างอาคารเรียนแบบ สปช.105/29 ขนาด 2 ชั้น 10 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง และสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.105/29 ขนาด 2 ชั้น 4 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 นางมาดีน๊ะ เดวาดาแล ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน บ้านบาโงปูโละ
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2552 นางมาดีน๊ะ เดวาดาแล ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกาโดะ
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2552 นายมะยีดิง จารง ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบาโงปูโละ จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านบาโงโละ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีข้าราชการครู 12 คน พนักงานราชการ 7 คน ลูกจ้างประจำ 1 คน ไปช่วยราชการ 2 คน และนักเรียน จำนวน 408 คน

วิสัยทัศน์

จัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการเรียนการสอน ครูมีสมรรถนะทางวิชาชีพ
ผู้เรียนมีพัฒนาการทุกด้าน ทั้งทางทักษะทั่วไป ทักษะชีวิตและวิชาการ ตามมาตรฐานหลักสูตร
ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาการศึกษาบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมในการ
จัดการศึกษาของทุกภาคส่วนในสังคม

คำขวัญ

ความรู้เยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม นำประชาธิปไตย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

พันธกิจ

1. ส่งเสริมจัดการเรียนรู้แบบ 2 ภาษา โดยเน้นภาษาไทยบูรณาการกับภาษามลายู
2. พัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
3. ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
4. พัฒนาทางด้านสื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนรู้
5. ส่งเสริมการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) และชุมชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษา
6. จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อรองรับการประเมินภายนอก

เป้าหมาย

1. นักเรียนทุกคนสามารถใช้ภาษาไทยและภาษามลายูกลางในการสื่อสารได้ดี
2. นักเรียนทุกคนมีความรู้ความสามารถตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
3. บุคลากรทุกคนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
4. บุคลากรทุกคนใช้สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาได้อย่างหลากหลาย
5. การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) และชุมชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษา

อักษรย่อ

บ.ล.

ปรัชญา

เรียนรู้ คู่คุณธรรม