ประวัติ

โรงเรียนวัดคลองขอม เมื่อแรกเปิดไม่เป็นทางการ อาศัยศาลาการเปรียญวัดคลองขอมเป็นที่เรียน มี
นักเรียน 20 คน ต่อมา ปี พ.ศ. 2478 ประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาในตำบาลโป่งแดง(วัดคลองขอม)
เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประชาบาลตำบลโป่งแดง (วัดคลองขอม) โดยขุนนราการผดุง นายอำเภอสามชุก แต่งตั้ง
นายพิน ไม่หวาด รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มี
นักเรียน 69 คน ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2486 ประกาศแยกตำบลโป่งแดงบางส่วน เป็นตำบลสามชุก โรงเรียน
ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงเรียนประชาบาลตำบลสามชุก 3 (วัดคลองขอม)
ปี พ.ศ. 2492 เจ้าอาวาสวัดคลองขอม พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป 2
จนแล้วเสร็จ ทำพิธีเปิดอาคารเรียนแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนประชาบาลตำบลสามชุก 3 (วิรัช ราษฎร์ประสิทธิ์)
พ.ศ. 2510 นายเที่ยง ถิ่นใหญ่ ร่วมกับคณะกรรมการ สร้างอาคารเรียนแบบวันครู ทางด้านทิศตะวันตก
ของวัด และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนวัดคลองขอม จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2515 นายบุญปลูก สุวรรณวิจิตร สร้างอาคารเรียน แบบ ป 1 ข 3ห้องเรียน ด้วยเงินงบประมาณ
พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2535 นายประเทือง เหลือจันทร์ เป็นครูใหญ่ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ
ป 1 ข 4 ห้องเรียน อาคารอเนกประสงค์ ส้วม ถังน้ำ ฝ 33 และเรือนเพาะชำ
พ.ศ. 2535 นายธรรมนูญ พราหมณี มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ได้พัฒนาโรงเรียนและปรับปรุงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน เป็นตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2541 นายเกียรติศักดิ์ ศรีสมพงษ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้ร่วมกับ คณะกรรมการศึกษา และคณะครู พัฒนาปรับปรุงอาคารเรียน บริเวณโรงเรียน ด้วยเงินบริจาค และพัฒนาปรับปรุงโรงเรียนเพิ่มเติม
ดังนี้ สร้างสวนวิทยาศาสตร์ สร้างที่แปรงฟัน ส้วม และได้รับงบประมาณจากเทศบาลตำบลสามชุก ได้สร้างถนนภายในบริเวณโรงเรียนโดยรอบ และได้ขอปรับปรุงตำแหน่ง เป็นตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
พ.ศ. 2552 นายสมชาย นิ่มนุช ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ได้ร่วมกับคณะกรรมการศึกษา และคณะครู พัฒนาปรับปรุง บริเวณโรงเรียน อาคารเรียน และห้องเรียนพิเศษ ดังนี้ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องธุรการ และห้องประชุม


สีประจำโรงเรียน
สีฟ้า - ขาว

วิสัยทัศน์

โรงเรียนจะจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรม สุขภาพพลานามัยสมบูรณ์
และมีความสามารถด้านเทคโนโลยี

คำขวัญ

เรียนดี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม

พันธกิจ

1. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โดยเน้นคุณธรรมนำความรู้และเศรษฐกิจพอเพียง
2. จัดและส่งเสริมการศึกษาให้กับนักเรียนทุกคนอย่างทั่วถึงเสมอภาคและมีคุณภาพ
3. ส่งเสริมพัฒนาการจัดระบบดูแลนักเรียน จนจบการศึกษาภาคบังคับ
4. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
5. ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ
6. ส่งเสริมระบบการบริหารจัดการศึกษา เน้นการกระจายอำนาจที่ทุกส่วน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

เป้าหมาย

1. นักเรียนปฏิบัติตนเป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสำนึกความเป็นไทย และมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง
2. นักเรียนที่มีอายุถึงเกณฑ์การศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษา ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
3. นักเรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากการบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเกิดทักษะพื้นฐานการเรียนรุ้
4. นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาชาติ
5. นักเรียนได้รับโอกาสและประสบการณ์การเรียนรู้ เกิดทักษะพื้นฐานทางด้านการใช้สื่อ และเทคโนโลยี
อย่างทั่วถึง
6. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษามีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา

อักษรย่อ

ว.ค.ข.

ปรัชญา

ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมปรับปรุง