ประวัติ

โรงเรียนหรเทพ(รุ่งเรืองประชาสามัคคี) เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนวัดโคกกุ่ม เนื่องจากต้องอาศัยศาลาการเปรียญของวัดโคกกุ่ม ตำบลหรเทพ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี เป็นสถานที่ทำการสอนหนังสือ เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 21 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2466 เปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีครูทำหน้าที่สอน จำนวน 2 คน มีนักเรียนขณะนั้น 103 คน พระภิกษุสา เป็นครูใหญ่ ต่อมาท่านได้ลาออก นายแผ้ว ทองดี จึงได้เข้ามาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทนพระภิกษุสา และเปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชั้น
พ.ศ. 2510 นายแผ้ว ทองดี ลาออกจากตำแหน่ง นายบุญส่ง แจ้งหิรัญ ได้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทนนายแผ้ว ทองดี ที่ลาออกไป และได้ริเริ่มที่จะสร้างอาคารเรียน แต่เนื่องจากที่ดินเป็นของทางวัดโคกกุ่ม และคับแคบ จึงได้ขอบริจาคที่ดินจาก นางจันนทร์ รุ่งเรือง จำนวน 3 ไร่ และได้รับงบประมาณจากทางราชการอีกจำนวนหนึ่ง ได้สร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ข.แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2513 เป็นอาคารเรียนหลังที่ 1 และได้ทำการย้ายมาเปิดทำการสอน ณ อาคารใหม่จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2518 คณะครูผู้ปกครองนักเรียน ได้บริจาคเงินซื้อที่ดินเพิ่มอีก 3 ไร่ และสร้างห้องเรียนใต้ถุนอาคารเรียนหลังเดิม 1 ห้องเรียน เป็นเงิน 38,800 บาท(สามหมื่นแปดพันแปดร้อยบาท) ทำให้โรงเรียนหรเทพ(รุ่งเรืองประชาสามัคคี) ได้เปิดทำการสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ซึ่งเป็นประถมปลาย นอกจากนี้โรงเรียนได้รับงบประมาณจำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาท) เพื่อสร้างอาคารเรียนอีก 1 หลังเป็นแบบ ป.1 ข ใต้ถุนสูง จำนวน 4 ห้องเรียน เป็นอาคารเรียนหลังที่ 2
พ.ศ. 2518 ทางโรงเรียนได้ขออนุมัติเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากชื่อเดิม "โรงเรียนวัดโคกกุ่ม" มาเป็นชื่อใหม่คือ "โรงเรียนหรเทพ(รุ่งเรืองประชาสามัคคี)" เพื่อให้เป็นเกียรติประวัติกับผู้บริจาคและสอดคล้องกับชื่อตำบล
พ.ศ. 2528 อาจารย์บุญส่งและอาจารย์ประยงค์ แจ้งหิรัญ ได้สร้างพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ประดิษฐานที่หน้าอาคารเรียน นามว่า "พระพุทธหรเทพลีลาประทานพร"
พ.ศ. 2529 โรงเรียนได้รับการโอนที่ดินและทรัพย์สินของโรงเรียนวัดดอนทอง(หรเทพ) เนื่องจากโรงเรียนวัดดอนทองถูกยุบมารวม ซึ่งมีอาคารเรียนแบบ ป.1 ข จำนวน 3 ห้องเรียน ที่ดินจำนวน 3 ไร่ ปัจจุบันเป็นสวนเกษตรเทพทอง ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านการเกษตรของนักเรียน และเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรในหมู่บ้าน ในตำบลและตำบลใกล้เคียง
พ.ศ. 2530 นายสรรเสริญ สุดสาระ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ เนื่องจากนายบุญส่ง แจ้งหิรัญ ครูใหญ่คนเดิม เกษียณอายุราชการ
พ.ศ. 2534 นายนพพร ธาราวุฒิ ได้ย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งครูใหญ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ่แทน นายสรรเสริญ สุดสาระ ซึ่งถึงแก่กรรม ในปีเดียวกันนี้เอง ได้จัดตั้ง "กองทุนสรรเสริญอนุสรณ์" ขึ้น โดยมีงบประมาณแรกตั้ง จำนวน 80,000 บาท
พ.ศ. 2535 โรงเรียนจัดงานประจำปีขึ้น นำรายได้จำนวน 80,000 จากการจัดงานสร้างห้องสรรเสริญ ขึ้น โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างจำนวน 60,000 บาท ที่เหลืออีก 20,000 บาท นำเข้าสมทบทุน กองทุนสรรเสริญอนุสรณ์ ทำให้เงินกองทุนเพิ่มเป็น 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาท)
พ.ศ. 2536 จัดงานประจำปี เพื่อหารายได้มาสมทบกองทุนสรรเสริญอนุสรณ์อีก จำนวน 100,000 บาท รวมเงินกองทุนเป็นจำนวน 200,000 บาท และมีเงินเหลือ จำนวน 20,000 บาท นำมาทาสีอาคารเรียนหลังที่ 2
พ.ศ.2537 ได้รับงบประมาณจากกรมพัฒนาชุมชน สร้างสนามตะกร้อ มูลค่า 35,000 บาท จัดงานประจำปีสร้างห้องธุรการ 1 ห้อง เป็นเงิน 60,000 บาท และหลวงพ่อพระครูสุรินทร์ กิตติโก สร้างห้องผู้บริหารให้อีก 1 ห้อง งบประมาณ 30,000 บาท
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2537 คุณทรงวุฒิ คุณวรรณดี เภตราไชยอนันต์ ได้มอบห้องสมุดพร้อมทั้งอุปกรณ์ประจำห้องสมุด มูลค่า 100,000 บาท
พ.ศ. 2538 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ได้รับมอบลานตากข้าวจากสภาตำบลหรเทพ เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดทำสนามกีฬา มูลค่า 336,021 บาท จัดงานประจำปีสร้างห้องพัสดุ จำนวน 1 ห้อง ราคา 60,000 บาท
พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณจาก ส.ส.บัญญัติ วงษ์ประยูร สร้างศาลาที่พักร้อนจำนวน 1 หลังมูลค่า 50,000 บาท จัดงานประจำปี นำรายได้มาจัดสร้างรั้วโรงเรียนมูลค่า 200,000 บาท คุณปรุง คุณสละ ไตรพาราและญาติ บริจาคเงินจำนวน 30,000 บาท เพื่อสร้างป้ายชื่อโรงเรียน คุณทวี คุณอุดม ตลับเงิน บริจาคเงินสร้างประตูโรงเรียน เป็นเงิน 15,000 บาท
พ.ศ. 2540 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนปรับปรุงโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน โดยการเปลี่ยนหลังคาอาคารเรียนหลังที่ 1 เป็นเงินงบประมาณ 97,000 บาท ชุมชนมาช่วยแรงงานวันเดียวเสร็จ และได้รับงบประมาณปรับปรุงห้องต่างๆ ได้แก่ ห้องสรรเสริญอนุสรณ์ ใหเป็นห้องวิทยาศาสตร์ มูลค่า 41,000 บาท ปรับปรุงห้องธุรการ เป็นห้องปฏิบัติการทางภาษา มูลค่า 42,000 บาท และปรับปรุงห้องพ้ศดุให้เป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มูลค่า 42,000 บาท นอกจากนี้ยังได้รับจัดสรรอุปกรณ์สำหรับห้องปฏิบัติการทางภาษาจำนวน 20 ที่นั่ง เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จำนวน 6 เครื่อง และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ครบชุด
ท่าน ส.ส.วีระพล อดิเรกสาร ได้จัดสรรงบประมาณให้จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง มูลค่สา 95,000 บาท
ท่าน ส.ส.เงิน บุญสุภา จัดสรรงบประมาณให้จัดซื้อเครื่องถ่ายเอกสาร 1 เครื่อง จำนวน 65,000 บาท
วันที่ 14 กันยายน 2540 จัดงานทอดผ้าป่าหารายได้มาสร้างอาคารเรียนได้เงิน 748,277 บาท
พ.ศ. 2541 วันที่ 21 พฤศจิกายน ในเวลากลางวันได้รับมอบอาคารเรียนจากคุณทรงวุฒิ คุณวรรณดี เภตราไชยอนันต์ เป็นอาคารเรียนหลังที่ 3 ชั้นบนมีห้องเรียนจำนวน 3 ห้อง ชั้นล่างเป็นห้องประชุมของโรงเรียน มูลค่า 1,500,000 บาท และในเวลากลางคืนจัดงานประจำปี มีรายได้จากการจัดงานเป็นเงิน 120,000 บาท นำมาสร้างห้องน้ำห้องส้วม จำนวน 5 ห้องเป็นเงิน 75,000 บาท และส่วนที่เหลือนำไปสร้างเครื่องดนตรีไทย คือ กระจังโหม่ง กับเปิงมาง มูลค่า 45,000 บาท
นอกจากนี้ ผู้ช่วยฯสุทธิพงษ์ บุญมาก ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวง ได้ติดต่อขอบริจาคปูน เหล็ก มาให้ปรับปรุงโรงอาหาร เป็นมูคค่าก่อสร้าง 100,000 บาท
พ.ศ. 2542 ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการให้เปิดสอนเป็นโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนรุ่นแรกจำนวน 16 คน ได้รับงบประมาณก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.33 คิดเป็นมูคค่า 72,000 บาท จัดงานประจำปีรายได้สร้างเครื่องมอญให้วงดนตรีไทยของโรงเรียน มูลค่า 200,000 บาท โดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรีมอบเงินมาสมทบ จำนวน 50,000 บาท
พ.ศ. 2543 การกีฬาแห่งประเทศไทยจัดสรรเงินงบประมาณสร้างสนามกีฬาบาสเก็ตบอลพร้อมอุปกรณ์ครบชุด จำนวน 1 สนาม จัดงานประจำปีหารายได้ซื้อที่ดินโรงเรียนขยายเพิ่มอีก 7 ไร่ ได้เงินประมาณ 200,000 บาท
พ.ศ. 2544 วันที่ 2 มิถุนายน จัดงานทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษา หารายได้สมทบทุนซื้อที่ดินโรงเรียนได้เงิน 200,000 บาท รวมกับเงินปี 2543 เป็นเงิน 400,000 บาท และในวันที่ 25 พฤศจิกายน จัดงานประจำปีได้เงิน จำนวน 78,000 บาท และคุณทวี ตลับเงิน บริจาคเก้าอี้จำนวน 200 ตัว โต๊ะ 20 ตัว เป็นเงิน 40,000 บาท
พ.ศ. 2545 โรงเรียนได้รับเกียรติ์ให้เป็นเจ้าภาพจัดประชุม สปจ.สัญจร ในวันที่ 3 มกราคม และในวันที่ 20 มกราคม เด็กชายจตุรพร ดาวลอย ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน การประกวดการแข่งขันทักษะคอมพิวเตอร์นักเรียนประถมศึกษา ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก 27 จังหวัด ซึ่งจัดขึ้นที่วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
พ.ศ. 2546 จัดงานประจำปี ได้เงินจำนวน 200,000 บาท และมีผู้บริจาคสมทบอีกดังนี้
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี บริจาคเงินถมที่ดินให้ 1,400,000 บาท (ตอนเดือนพฤษภาคม 2546)
ส.ส.วีระพล อดิเรกสาร บริจาคเงินซื้อรถยนต์ 1 คัน เป็นเงิน 100,000 บาท
คุณถาวร คุณดวงรัตน์ ตลับเงิน บริจาคพัดลม คิดเป็นมูลค่า 50,000 บาท
คุณวิวัฒน์ ลิ้มเจริญกุล สร้างห้องคอมพิวเตอร์จำนวน 1 ห้อง มูลค่า 30,000 บาท
คุณทรงวุฒิ คุณวรรณดี เภตราไชยอนันต์ บริจาคปรับปรุงห้องประชุม "ทรงวุฒื-วรรณดี" เป็นเงิน 300,000 บาท
พ.ศ. 2547 ซื้อรถยนต์สำหรับขนเครื่องดนตรีไทยและรับส่งนักเรียน ราคา 120,000 บาท
พ.ศ. 2548 ได้รับงบประมาณจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ครบชุด จำนวน 10 เครื่อง จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี เป็นเงินงบประมาณ 310,000 บาท.
พ.ศ. 2549 ได้รับการถ่ายโอนเข้าสังกัด อปท. (อปจ.สระบุรี) เมื่อเดือน ธันวาคม 2549
ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา(อนุบาล) จนถึงระดับมัธยมศึกษา มีครูจำนวน 13 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน ครูจ้างสอนของ อบต.หรเทพ 1 คน นักการภารโรง 1 คน มีนักเรียนจำนวน 205 คน

วิสัยทัศน์

เราจะมุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาทุกด้านแบบมีส่วนร่วม ดังนี้
เชิดชูคุณธรรม
นำเทคโนโลยีคู่ชีวา
อนามัย การศึกษาดีเด่น
เล่นดนตรีไทยได้ทุกคน
ชุมชนช่วยเหลือโรงเรียน

คำขวัญ

สามัคคี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
นำวิชาการ ประสานชุมชน

พันธกิจ

1. เร่งรัดให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งมีความรู้ และมีทักษะด้านเทคโนโลยี
2. พัฒนาระบบบริหารการศึกษาให้ได้มาตรฐาน มุ่งสู่ผลผลิตขององค์กร รวมทั้งเสริมความเข้มแข็งในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีคุณภาพ
3. ยกระดับขีดความสามารถของผู้เรียนด้านสุขภาพ อนามัย และการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ และมุ่งสู่มาตรฐานสากล
4. ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
5. จัดการศึกษาระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ส่งเสริม สนับสนุนและประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของสังคมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง

เป้าหมาย

1. ประชากรในวัยเรียนได้รับการศึกษาตามสิทธิอย่างทั่วถึงเท่าเทียม ตรงตามศักยภาพและเรียนอย่างมีความสุข
2. ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทางด้านภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและงานอาชีพ การพึ่งพาตนเองและเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันในระดับสากล

อักษรย่อ

ห.ร.ส.

เพลง

หรเทพ รุ่งเรืองประชาสามัคคี
แหล่งศึกษานี้ มุ่งหาความรู้ เพียรฝึกฝน
วิชาการ การกีฬา เด่นกันทุกคน
หมั่นฝึกตน มีระเบียบ และวินัย
น้ำเงินเหลือง งามเด่น เป็นสง่า
เชิดหน้าชูตา ความเป็นคน สมศักดิ์ศรี
เทพพนม คือสัญญาลักษณ์ ให้ทำความดี
สามัคคี จึงมี ในหมู่พวกเรา
กิจกรรมเป็นหนึ่ง รุ่งเรืองนัก
เราพร้อมพรัก ร่วมชุมชน ผูกไมตรี
หรเทพ เชิดความรู้ คู่ความดี
รู้หน้าที่ มีคุณธรรม ประจำใจ
อันองค์ชาติ ศาสนา มหากษัตริย์
พวกเราจงรัก ภักดี มีเหตุผล
สิ่งสุดท้าย เราจะทำ เพื่อชุมชน
หรเทพมั่นคง ยืนยง อยู่คู่ความดี

ปรัชญา

มีความสุขตลอดเวลา การศึกษาเป็นเลิศ ประเสริฐคุณธรรม